“สวนดุสิตโพล” เผยผลสำรวจความเครียดชาวกรุงและปริมณฑลหลังเลือกตั้ง พบ 47.37% เครียดการเมืองเท่าเดิม ชี้การเมืองไทยไม่เปลี่ยน นักการเมืองพฤติกรรมเก่า 53.58% เครียดสังคมเท่าเดิม รับภัยยังอยู่เท่าเดิม 58.92% เครียดเศรษฐกิจเพิ่ม เหตุยังไม่เห็นใครจะแก้ปัญหาได้ 32.51% จี้แก้ปัญหาปากท้อง
วันนี้ (18 ก.ค.) สวนดุสิตโพลล์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,292 คน ถึงความเครียดของคนไทยภายหลังจากการเลือกตั้งที่พรรคเพื่อไทยยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยความเครียดทางการเมือง ของประชาชนหลังการเลือกตั้ง เมื่อเปรียบเทียบก่อนการเลือกตั้งนั้น ร้อยละ 47.37 เห็นว่า เครียดเท่าเดิม เพราะยังไม่เห็นการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรม นักการเมืองบางคนยังมีพฤติกรรมเหมือนเดิม และการแย่งชิงอำนาจก็ยังมีให้เห็นอยู่ตลอด ร้อยละ 28.07 เครียดเพิ่มมากขึ้น เพราะ หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง ยังไม่เห็นการเมืองไทยเดินหน้าเท่าที่ควร กกต.ยังไม่สามารถประกาศรับรอง ส.ส.ได้ถึง 95% โดยเฉพาะกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และว่าที่นายกรัฐมนตรี และกลัวบ้านเมืองวุ่นวายอีกครั้ง ขณะที่ร้อยละ 24.56 เครียดลดลง เพราะ บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น รอเพียงการจัดตั้งรัฐบาลและให้โอกาสรัฐบาลใหม่บริหารประเทศต่อไป
ส่วนความเครียดทางสังคมหลังการเลือกตั้ง เมื่อเปรียบเทียบก่อนการเลือกตั้งนั้น 53.58% เห็นว่า เครียดเท่าเดิม เพราะชีวิตในสังคมปัจจุบันต้องมีความระแวดระวังอยู่ตลอดเวลา ภัยต่างๆ ในสังคมมีมาก จะรอให้นักการเมืองมาดูแลทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ ประชาชนต้องดูแลตัวเอง 39.28% เครียดเพิ่มมากขึ้น เพราะบ้านเมืองยังไม่สงบสุข สังคมย่อมเกิดความวุ่นวายเป็นธรรมดา จิตใจคนในสังคมตกต่ำ ขาดคุณธรรม จริยธรรม ฯลฯ ขณะที่ 7.14% เครียดลดลง เพราะ คาดว่ารัฐบาลชุดใหม่จะทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน ชีวิตความเป็นอยู่ ปัญหายาเสพติด และความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจะลดลง ขณะที่ความเครียดทางด้านเศรษฐกิจ ประชาชนร้อยละ 58.92 เครียดเพิ่มมากขึ้น เพราะยังมองไม่เห็นใครที่จะเข้ามาแก้ปัญหาได้จริง ยังไม่รู้แน่ชัดว่าใครที่จะมาเป็นนายกฯ ของกินของใช้ น้ำมัน ยังมีราคาแพงอยู่ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ต้องกู้หนี้ยืมสิน ร้อยละ 35.72 เครียดเท่าเดิม เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจมีหลายปัจจัย โดยเฉพาะเรื่องของเสถียรภาพ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อการเมือง และปัจจัยภายนอก ขณะที่ร้อยละ 5.36 เครียดลดลง เพราะเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของรัฐบาลชุดใหม่ว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชนได้ การประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีการวางแผน ปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเครียดไปก็เท่านั้น
ส่วนความเครียดหลังการเลือกตั้งที่ยังมีอยู่ และอยากให้รัฐบาลเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน ผู้ตอบแบบสอบถาม 32.51% เห็นว่าเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ของแพง น้ำมันแพง ค่าครองชีพ การจ้างงาน ความเป็นอยู่และปากท้องของประชาชน 18.82 % เห็นว่า ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล 16.44% เห็นว่า การจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็ว การประกาศตัวนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี 13.69% ความมั่นคงในประเทศ การรุกล้ำชายแดน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 11.08% การสร้างความสามัคคี ปรองดองทั้งในกลุ่มของประชาชนและนักการเมือง
วันนี้ (18 ก.ค.) สวนดุสิตโพลล์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,292 คน ถึงความเครียดของคนไทยภายหลังจากการเลือกตั้งที่พรรคเพื่อไทยยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยความเครียดทางการเมือง ของประชาชนหลังการเลือกตั้ง เมื่อเปรียบเทียบก่อนการเลือกตั้งนั้น ร้อยละ 47.37 เห็นว่า เครียดเท่าเดิม เพราะยังไม่เห็นการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรม นักการเมืองบางคนยังมีพฤติกรรมเหมือนเดิม และการแย่งชิงอำนาจก็ยังมีให้เห็นอยู่ตลอด ร้อยละ 28.07 เครียดเพิ่มมากขึ้น เพราะ หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง ยังไม่เห็นการเมืองไทยเดินหน้าเท่าที่ควร กกต.ยังไม่สามารถประกาศรับรอง ส.ส.ได้ถึง 95% โดยเฉพาะกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และว่าที่นายกรัฐมนตรี และกลัวบ้านเมืองวุ่นวายอีกครั้ง ขณะที่ร้อยละ 24.56 เครียดลดลง เพราะ บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น รอเพียงการจัดตั้งรัฐบาลและให้โอกาสรัฐบาลใหม่บริหารประเทศต่อไป
ส่วนความเครียดทางสังคมหลังการเลือกตั้ง เมื่อเปรียบเทียบก่อนการเลือกตั้งนั้น 53.58% เห็นว่า เครียดเท่าเดิม เพราะชีวิตในสังคมปัจจุบันต้องมีความระแวดระวังอยู่ตลอดเวลา ภัยต่างๆ ในสังคมมีมาก จะรอให้นักการเมืองมาดูแลทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ ประชาชนต้องดูแลตัวเอง 39.28% เครียดเพิ่มมากขึ้น เพราะบ้านเมืองยังไม่สงบสุข สังคมย่อมเกิดความวุ่นวายเป็นธรรมดา จิตใจคนในสังคมตกต่ำ ขาดคุณธรรม จริยธรรม ฯลฯ ขณะที่ 7.14% เครียดลดลง เพราะ คาดว่ารัฐบาลชุดใหม่จะทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน ชีวิตความเป็นอยู่ ปัญหายาเสพติด และความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจะลดลง ขณะที่ความเครียดทางด้านเศรษฐกิจ ประชาชนร้อยละ 58.92 เครียดเพิ่มมากขึ้น เพราะยังมองไม่เห็นใครที่จะเข้ามาแก้ปัญหาได้จริง ยังไม่รู้แน่ชัดว่าใครที่จะมาเป็นนายกฯ ของกินของใช้ น้ำมัน ยังมีราคาแพงอยู่ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ต้องกู้หนี้ยืมสิน ร้อยละ 35.72 เครียดเท่าเดิม เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจมีหลายปัจจัย โดยเฉพาะเรื่องของเสถียรภาพ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อการเมือง และปัจจัยภายนอก ขณะที่ร้อยละ 5.36 เครียดลดลง เพราะเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของรัฐบาลชุดใหม่ว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชนได้ การประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีการวางแผน ปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเครียดไปก็เท่านั้น
ส่วนความเครียดหลังการเลือกตั้งที่ยังมีอยู่ และอยากให้รัฐบาลเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน ผู้ตอบแบบสอบถาม 32.51% เห็นว่าเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ของแพง น้ำมันแพง ค่าครองชีพ การจ้างงาน ความเป็นอยู่และปากท้องของประชาชน 18.82 % เห็นว่า ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล 16.44% เห็นว่า การจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็ว การประกาศตัวนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี 13.69% ความมั่นคงในประเทศ การรุกล้ำชายแดน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 11.08% การสร้างความสามัคคี ปรองดองทั้งในกลุ่มของประชาชนและนักการเมือง