xs
xsm
sm
md
lg

เปิดรายชื่อ 125 ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พร้อมผลเลือกตั้ง ส.ส.เขตทั่วประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


คณะกรรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงานผลการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 อย่างเป็นทางการหลังจากการนับคะแนนแล้วเสร็จ 100% ปรากฏว่ามี 11 พรรคการเมืองได้รับเลือกตั้ง ดังนี้

พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต 204 แบบบัญชีรายชื่อ 61 รวม 265 ที่นั่ง

พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต 115 แบบบัญชีรายชื่อ 44 รวม 159 ที่นั่ง

พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต 29 แบบบัญชีรายชื่อ 5 รวม 34 ที่นั่ง

พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต 15 แบบบัญชีรายชื่อ 4 รวม 19 ที่นั่ง

พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต 5 แบบบัญชีรายชื่อ 2 รวม 7 ที่นั่ง

พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต 6 แบบบัญชีรายชื่อ 1 รวม 7 ที่นั่ง

พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4

พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต 1 แบบบัญชีรายชื่อ 1

พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1

พรรครักษ์สันติ ได้ส.ส.แบบบัญชีราชชื่อ 1

พรรคมหาชน ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1

รายชื่อผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อแต่ละพรรคการเมือง มีดังนี้

พรรคเพื่อไทย ได้ ส 61 คน ประกอบด้วย
1.นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2.นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
3.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
4.นายเสนาะ เทียนทอง
5.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
6.นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
7.นายปลอดประสพ สุรัสวดี
8.นายจตุพร พรหมพันธุ์
9.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
10.นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช

11.พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก
12.นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
13.นายบัญฑูรย์ สุภัควณิช
14.พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย
15.นายสันติ พร้อมพัฒน์
16.พล.ต.อ.วิรุฬห์ ฟื้นแสน
17.พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
18.นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์
19.นายเหวง โตจิราการ
20.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

21.นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
22.นายวัฒนา เมืองสุข
23.พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
24.นายนิติภูมิ นวรัตน์
25.น.ส.ภูวนิดา คุณผลิน
26.นายสุนัย จุลพงศธร
27.นางรพิพรรณ พงศ์เรืองรอง
28.นายคณวัฒน์ วศินสังวร
29.นายอัสนี เชิดชัย
30.น.ส.สุณีย์ เหลืองวิจิตร

31.พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย
32.นายวิรัช รัตนเศรษฐ
33.นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
34.นายนภินทร ศรีสรรพางค์
35.นายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
36.นางวราภรณ์ ตั้งภากรณ์
37.น.ส.สุนทรี ชัยวิรัตนะ
38.น.ส.ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร
39.นายสมพล เกยุราพันธุ์
40.นายพงศกร อรรณนพพร

41.นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
42.น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล
43.นายธนเทพ ทิมสุวรรณ
44.น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์
45.นายเกียรติชัย ติรณศักดิ์กุล
46.นายวิภูแถลง พัฒนาภูมิไท
47.นางเยาวนิตย์ เพียงเกษ
48.นายพายัพ ปั้นเกตุ
49.นางรังสิมา เจริญศิริ
50.รศ.เชิดชัย ตันติรินทร์

51.นายกานต์ กัลป์ตินันท์
52.นายธนิก มาศรีพิทักษ์
53.นายพิชิต ชื่นบาน
54.นายก่อแก้ว พิกุลทอง
55.นายนิยม วรปัญญา
56.น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก
57.นายอรรถกร ศิริลัทธยากร
58.นายเวียง วรเชษฐ์
59.นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
60.นายวิเชียร ขาวขำ
61.นายประวัฒน์ อุตตะโมต

พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 44 คน ได้แก่
1.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
2. นายชวน หลีกภัย
3.นายบัญญัติ บรรทัดฐาน
4.นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์
5.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
6.นายกรณ์ จาติกวณิช
7.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
8.นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
9.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
10.นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์

11.นายไพฑูรย์ แก้วทอง
12.นายอิสสระ สมชัย
13.นายเจริญ คันธวงศ์
14.นายอลงกรณ์ พลบุตร
15.นายอาคม เอ่งฉ้วน
16.นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
17.นายสุทัศน์ เงินหมื่น
18.นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
19.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
20.นายวิฑูรย์ นามบุตร

21.นายถวิล ไพรสณฑ์
22.นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
23.พ.อ.วินัย สมพงษ์
...
25.นางผุสดี ตามไท
26.นายปัญญวัฒน์ บุญมี
27.นายสามารถ ราชพลสิทธิ์
28.นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์
29.นายภุชงค์ รุ่งโรจน์
30.นายนิพนธ์ บุญญามณี

31.นางอานิก อัมระนันทน์
32.นายโกวิทย์ ธารณา
33.นายอัศวิน วิภูศิริ
34.นายธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
35.นายเกียรติ สิทธีอมร
36.นายบุญยอด สุขถิ่นไทย
37.นายกนก วงษ์ตระหง่าน
38.พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี
39.นายสุกิจ ก้องธรนินทร์
40.นายประกอบ จิรกิติ

41.นายพีระยศ ราฮิมมูลา
42.นายกษิต ภิรมย์
43.นายวีระชัย วีระเมธีกุล
44.นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
45.นายวัชระ เพชรทอง

*หมายเหตุ นายสุวโรช พะลัง ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 24 เสียชีวิต

พรรคภูมิใจไทย ได้ 5 คน ได้แก่
1.นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
2.นายชัย ชิดชอบ
3.นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค
4.นางนาที รัชกิจประการ
5.นายศุภชัย ใจสมุทร

พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ 4 คน ได้แก่
1.นายชุมพล ศิลปอาชา
2.พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
3.นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง
4.นายยุทธพล อังกินันทน์

พรรครักประเทศไทย ได้ 4 คน ได้แก่
1.ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
2.ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์
3.โปรดปราน โต๊ะราหนี
4.พงษ์ศักดิ์ เรือนเงิน

พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ 2 คน ได้แก่
1.ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์
2.นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

พรรคพลังชล ได้ 1 คน ได้แก่
1.นายสันต์ศักดิ์ งามพิเชษฐ์

พรรคมาตุภูมิ ได้ 1 คน ได้แก่
1.พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ 1 คน ได้แก่
2.นายพัชรินทร์ มั่นปาน

หมายเหตุ : นายสุรทิน พิจารณ์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 คุณสมบัติไม่ครบ

พรรครักษ์สันติ ได้ 1 คน ได้แก่
1.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

พรรคมหาชน ได้ 1 ที่นั่ง ได้แก่
1.นายอภิรัต ศิรินาวิน

สำหรับผลการเลือกตั้ง ส.ส.ระบบเขต แยกรายภาค มีดังนี้

ผลเลือกตั้ง ส.ส.กทม.แยกรายเขต

ผลเลือกตั้ง ส.ส.ภาคใต้ แยกรายเขต

ผลเลือกตั้ง ส.ส.ภาคเหนือ แยกรายเขต

ผลเลือกตั้ง ส.ส.ภาคกลาง-ตะวันออกแยกรายเขต

ผลเลือกตั้ง ส.ส.ภาคอีสาน แยกรายเขต


อนึ่ง เมื่อวันที่ 5 ก.ค.คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สรุปข้อมูลเกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2554 อย่างเป็นทางการ ว่า การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35,203,107 คน คิดเป็น 75.03% จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน มีบัตรเสีย 1,726,051 ใบ คิดเป็น 4.9% บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน มีจำนวน 958,052 ใบ คิดเป็น 2.72% สำหรับการลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 35,119,885 คน คิดเป็น 74.85% มีบัตรเสีย 2,039,694 ใบ คิดเป็น 5.79% บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,419,088 คิดเป็น 4.03%

คะแนนแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคได้รับเลือก อันดับหนึ่ง พรรคเพื่อไทย 15,744,190 คะแนน รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ 11,433,501 คะแนน พรรคภูมิใจไทย 1,281,522 คะแนน พรรครักประเทศไทย 998,527 คะแนน พรรคชาติไทยพัฒนา 906,644 คะแนน พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 494,894 คะแนน พรรครักษ์สันติ 284,112 คะแนน พรรคมาตุภูมิ 251,581 คะแนน พรรคพลังชล 178,106 คะแนน พรรคมหาชน 133,767 คะแนน พรรคประชาธิปไตยใหม่ 125,781 คะแนน ทั้งนี้ คะแนนที่นำมาหาค่าเฉลี่ยของ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อครั้งแรกอยู่ที่จำนวน 260,193 คะแนน ทำให้ได้ ส.ส.115 คน ส่วนอีก 10 คนที่เหลือ นำมาหาเฉลี่ยครั้งที่ 2 จึงได้ ส.ส.อีก 10 คน

สำหรับบัตรเสียในการเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อปี 50 พบว่า มีจำนวนลดลง โดยปี 50 อยู่ที่ 5.56% และบัตรเสียการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเมื่อเทียบกับปี 50 พบว่า มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งปี 50 อยู่ที่ 2.56% ส่วนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนแบบแบ่งเขตเมื่อเทียบกับปี 50 ถือว่าลดลง เพราะปี 50 อยู่ที่ 4.58% และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อเมื่อเทียบกับปี 50 ถือว่าลดลงเช่นกัน โดยปี 50 อยู่ที่ 2.85%

จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งมากที่สุด 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ลำพูน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 88.61% รองลงมาคือ จ.เชียงใหม่ 83.13% จ.ตรัง 82.65%






กำลังโหลดความคิดเห็น