xs
xsm
sm
md
lg

ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ ระเบิดเวลาลูกใหญ่ในยูโรโซน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


หนึ่งปีผ่านไป สำหรับการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศกรีซ ปรากฎว่า ยังไม่มีวี่แววของความสำเร็จ ในขณะที่ มาตรการรัดเข็มขัด ลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ส่งผลกระทบต่อ ประชาชน จนเกิดการชุมนุม ประท้วง และนัดหยุดงาน

เงินช่วยเหลือ จากกุล่มประเทศอียู โดยผ่านธนาคารกลางงยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ จำนวน 110 พันล้านยูโร กำลังจะหมดลง เหลืองวดสุดท้ายมูลค่าประมาณ 12 พันล้านยูโร ซึ่งกรีซต้องการเงินก้แอนนี้ เพื่อนำไปชำระหนี้ของรัฐบาล ที่จะครบกำหนดในเดือนกรกฎาคมนี้

อียู และไอเอ็มเอฟ ตั้งเงื่อนไขว่า ต้องให้รัฐบาลของนายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรี ซึ่งเพิ่งปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ ได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา และ รัฐสภากรีซต้องอนุมัติกฎหมายหลายฉบับ เกี่ยวกับการขึ้นภาษ๊ ลดรายจ่ายของรับาล การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ภายในวันที่ 28 มิถุนายนนี้ จึงจะยอมให้เงินช่วยเหลืองวดสุดท้ายนี้ไป

รัฐสภากรีซ ลงมมติไว้ววางใจคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา เหลือเพียงเงื่อนไขข้อที่ 2 คือ การผ่านกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเป็นชนวนให้เกิดการชุมนุมประท้วงต่อต้านของประชาชน

กรีซมียอดหนี้สาธารณะ 485 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ หรือเกือบ 15 ล้านล้านบาทไทย คิดเป็น 140 % ของจีดีพี มีทั้งหนี้ที่กู้จากเจ้าหนี้สถาบันการเงินเอกชน และเจ้าหนี้ที่เป็นรัฐบาลต่างชาติ ประเทศที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่คือ ฝรั่งเศส คิดเป็นมูลค่า 56.7 พันล้านเหรียญ รองลงมาคือเยอรมนี 33. 9 ล้านเหรียญ อังกฤษ เป็นอันดับสาม 14.6 ล้านเหรียญ

ถึงแม้จะได้รับเงินช่วยเหลือดงวดสุดท้ายแล้ว หนี้สินของกรีซก็ยังเหลืออีกมากต้องขอความช่วยเหลืออีกรอบ ซึ่งจะมีมุลค่าประมาณ 120 พันล้านยูโร แต่ก็ต้องแลกกับ การปฏิรุปการคลัง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เพื่อให้เจ้าหนี้อุ่นใจว่า จะได้รับการชำระหนี้คืน

ความจริง รัฐบาลกรีซได้ตัดค่าใช้จ่ายลงไปมากแล้ว จนทำให้ประชาชนที่เคยสุขสบายกับ การดูแล ช่วยเหลือจากรัฐมานานปี ต้องเดือดร้อนอย่างนัก เมื่อถูกบีบบังคับจากไอเอ็มเอฟ และกลุ่มอียู ก็ไม่รู้ว่า จะไปตัดตรงไหนอีก นอกเสียจากต้องปลดคนงานในกิจการที่เป็นของรัฐออก และแปรรูปรัฐวิสาหกิจจำนวนมาก เพื่อลดภาระค่าใช่จ่าย และเอาเงินมาใช้หนี ทำให้ชาวกรีกจำนวนมาก รู้สึกโกรธแค้น เพราะเห็นว่า รัฐบาลยอมมอบอธิปไตยทางเศรษฐกิจให้กับไอเอ็มเอฟและประเทศอียูใหญ่ๆที่ให้เงินช่วยเหลือ

เหมือนกับความรู้สึกของคนไทย เมื่อ สิบกว่าปีที่แล้ว ที่ถูกไอเอ็มเอฟ บีบให้รัฐบาลขึ้นดอกเบี้ย ตัดค่าใช้จ่าย แปรรูปรัฐวิสาหกิจ และขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินให้ต่างชาติในราคาถูกๆ

ไอเอ็มเอฟ กับกลุ่มประเทศใหญ่ๆในอียู ที่ต้องให้เงินช่วยเหลือกับกรีซ ไม่ใช่เพราะความเมตตาปราณีหรอก แต่เป้าหมายแท้จริงคือ การช่วยเจ้าหนี้ ที่เป็นสถาบันการเงินเอกชนในฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ และสหรัฐ ฯ และเจ้าหนี้ที่เป็นรัฐบาล ได้หนี้คืน เพราะหากปล่อยให้กรีซผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารใหญ่ๆในประเทศเหล่านี้ จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก สถาบันจัดอันดับอย่างเอสแอนด์พี และมูดี้ส์ ก็ส่งสัญญาณออกมาแล้วว่า จะลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารเหล่านั้น

การช่วยเหลือกรีซ แท้จริงแล้ว จึงเป็นการช่วยสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในยุโรป และช่วยรักษาระบบการเงินของยุโรปมากกว่า โดยประชาชนชาวกรีซต้องรับภาระที่เกิดขึ้น เพราะถ้าปล่อยให้กรีซ ผิดนัดชำระหนี้ ปัญหาจะบานปลาย ขยายตัวกระทบไปถึงไอร์แลนด์ โปรตถุเกส และอาจจะถึงสเปนด้วย ซึ่ง ประเทศเหล่านี้ล้วนแต่มีหนี้สาธารณะจำนวนมาก หากกรีซผิดชนัดชำระหนี้ จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดการเงิน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการเงินของประเทศเหล่านี้ คือดอกเบี้ย ที่บวกค่าความเสี่ยง ถูกปรับสูงขึ้น ทำให้พลอยไม่สามารถชำระหนี้ได้ไปด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ต่อระบบการเงินของอียู และของโลก

ผลกระทบที่ชัดเจนคือ ระบบสกุลเงินยูโร ซึ่งจะเสื่อมค่าลง หากกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน เกิดผิดนัดชำระนี้ติดๆกัน จนถึงขึ้นที่เกรงกันว่า ระบบเงินยูดร จะถึงคราวล่มสลาย ซึ่งประเทศพี่เบิ่มของยุโรป อย่างฝรั่งเศส และเยอมรมัน ไม่ยอมให้เกิดขึ้นแน่

หนี้สาธารณะของกรีซ จึงเหมือนระเบิดเวลาลูกใหญ่ในยูโรโซน หากอียูไม่ช่วยเหลือ กรีซก็ต้องชักดาบ ซึง่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจอียุ แต่ถ้าช่วยโดยมีเงื่อนไขที่เข้มงวด และบีบบังคับให้กรีซต้องลดสวัสดิการสังคม ลดการจ้างงานในภาครัฐ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ก็จะเกิดการประท้วง ต่อต้านรัฐบาล จนบานปลาย กลายเป็นปัญหาทางการเมือง ภายในประเทศ


กำลังโหลดความคิดเห็น