ASTVผู้จัดการ – ศ.ดร.เขียน ธีระวิทย์ นักรัฐศาสตร์อาวุโส จากจุฬาฯ ชี้ การเลือกตั้ง 3 ก.ค.บ่งชี้ว่า การเมืองไทยเข้าขั้นวิกฤต เพราะเป็นการตัดสินกันด้วยเงินผ่านการซื้อเสียงโดยตรง-ซื้อเสียงผ่านนโยบายสัญญาว่าจะให้ แนะประชาชนมีทางเลือก คือ ไม่โหวตเพื่อประชาธิปไตย หรือโหวตเพื่อสร้างความชอบธรรมให้นักโกงเมือง
วานนี้ (16 มิ.ย.) เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ ได้เผยแพร่บทความของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เขียน ธีระวิทย์ นักวิชาการอาวุโสด้านรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักรัฐศาสตร์ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นปรมาจารย์ด้านจีนศึกษาของประเทศไทย ต่อการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.2554 เรื่อง “โหวตเพื่อธนาธิปไตยหรือไม่โหวตเพื่อประชาธิปไตย”
ศ.ดร.เขียน ได้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันการเมืองไทยนั้นเข้าขั้นวิกฤต เนื่องจากการเลือกตั้งกลายเป็นการใช้สิทธิเลือกรัฐบาล มิใช่เลือก ส.ส.จนกลายเป็นสงครามชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ซึ่งตัดสินกันด้วย “เงิน” ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะการซื้อเสียงโดยตรง แต่รวมถึงการหาเสียงด้วยการสัญญาว่าจะให้เงินผ่านนโยบายต่างๆ และต่อเนื่องไปถึงการใช้เงินเพื่อล้มกฎหมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขัดกับกฎหมาย และเป็นการทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
พร้อมกันนี้ ศ.ดร.เขียน ได้แนะนำว่า ประชาชนมีทางเลือกอยู่ 3 ทาง คือ การไม่ไปใช้สิทธิแต่ก็ต้องยอมเสียสิทธิบางประการ, ไปใช้สิทธิด้วยการกาช่อง “ไม่ประสงค์ลงคะแนน” หรือ ร่วมมหกรรมการโกงเลือกตั้งด้วยการกาเลือกผู้สมัครและพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการรับรองความชอบธรรมให้คนเหล่านี้เข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง นอกจากนี้ ยังกล่าวด้วยว่า ประชาชนชาวไทยต้องตื่นตัวเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านการกระทำที่ไม่ชอบธรรมทั้งหลายของรัฐบาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ เพื่อทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองอย่างถอนรากถอนโคน
สำหรับเนื้อหาฉบับสมบูรณ์ของบทความดังกล่าวมีดังนี้
---------------------------------
การเลือกตั้ง ส.ส. : โหวตเพื่อธนาธิปไตยหรือไม่โหวตเพื่อประชาธิปไตย
1.เราถูกบังคับโดยกฎหมายให้ไปทำหน้าที่เลือกตั้ง ส.ส. ให้เลือกผู้สมัคร/พรรคที่ดีที่สุด หรือคน/พรรคที่เลวน้อยที่สุด แต่ความจริงได้ปรากฏให้ประจักษ์แล้วว่าการเมืองไทยมีอาการวิปริตถึงขั้นวิกฤต ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมากกว่าครึ่งหนึ่งจะไปใช้สิทธิเลือกรัฐบาล (ไม่ใช่เลือก ส.ส.) จำนวนมากในจำนวนนี้จะไปเลือกคน/พรรคเพื่อไทย เพราะไม่ชอบคนพรรคประชาธิปัตย์ ในทางตรงกันข้ามไปเลือกคน/พรรคประชาธิปัตย์ เพราะไม่ชอบคน/พรรคเพื่อไทย เพราะไม่อยากเห็นพรรคที่ตนเกลียดได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ใครจะกล้าพูดได้เต็มปากว่านี่เป็นการเลือกตั้ง ส.ส.ในระบอบประชาธิปไตย
2.สงครามชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคราวนี้ ตัดสินกันด้วยเงิน (มีเงินและกล้าใช้เงินเหยียบกฎหมาย) แม้นโยบายของพรรคก็ต้องตีราคาออกมาให้เห็นชัดๆ ว่าเป็นเงินที่จับต้องได้ แกนนำของพรรคใหญ่ทั้งสองไม่รู้หรือว่าการกระทำเช่นนั้นผิดกฎหมายและทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตย? แล้วทำไมเราต้องยอมให้พวกเขาดูถูกไปเลือกตั้งคน/พรรคโกงชาติอย่างโจ่งแจ้งเช่นนั้นด้วย
3. ทางเลือกของเราคือ (1) ประท้วงโดยการไม่ไปลงคะแนนซึ่งจะต้องเสียสิทธิบางประการ (2) ประท้วงโดยไปใช้สิทธิที่หน่วยเลือกตั้ง แต่กาช่อง “ไม่ประสงค์ลงคะแนน” หรือ (3) ยอมร่วมมหกรรมการโกงครั้งนี้ด้วยโดยการกาให้พรรคการเมืองและผู้สมัครอย่างละหนึ่งเสียง เป็นการช่วยกันออกสิทธิบัตรรับรองความชอบธรรมให้แก่ ส.ส. และรัฐบาลที่เข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
4.ก่อนถึงวันเลือกตั้ง เราควรไปแจ้งนายทะเบียน กกต. ให้ดำเนินคดีและผู้สมัคร ส.ส.พรรคการเมืองที่ทำผิดกฎหมาย และติดตามจี้ให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อย่นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนักการเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายให้สั้นลง
5. ในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์ เรามีสิทธิที่จะต่อต้านรัฐบาลที่มิชอบด้วยกฎหมายด้วยวิธีการใดก็ได้ (กฎป่า: ผู้ปกครองที่ไม่ยึดกติกา ผู้อยู่ใต้ปกครองก็ไม่ต้องยึดกติกา) แต่หลักการนี้คนส่วนมากไม่เข้าใจ ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เราเคลื่อนไหวภายในกรอบของกฎหมายจะดีกว่า
5.1 จงพร้อมใจกันเคลื่อนไหวต่อต้านการกระทำใดๆ ของรัฐบาลที่มิชอบด้วยกฎหมาย ถ้าหากพวกเขาจะใช้ข้ออ้าง “สมานฉันท์” หรือ “การปรองดองแห่งชาติ” นิรโทษกรรมให้แก่นักโทษที่หนีคุก
5.2 จงพร้อมใจกันจับตาตามจี้คดีต่างๆ ที่ค้างอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นใครที่ก่อการกบฏ ก่อการร้าย การวางเพลิง การบุกรุกโรงพยาบาลในยามวิกาล หรือการฉ้อราษฎร์บังหลวง
5.3 จับตาปกป้องข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนอย่างซื่อสัตย์ มิให้ถูกนักการเมืองรังแกโดยวิธีการต่างๆ
5.4 จับตาดูตัวโกงที่ได้รับเลือกเข้าไปกินบ้านกินเมืองให้ดี ดูว่าพวกเขาจะมีวิธีถอนทุนส่งส่วยให้เจ้านายอย่างไร ใช้เล่ห์เหลี่ยมทำคนระดับรากหญ้าให้เป็นทาสของเจ้านายต่อไปอย่างไร
6.เรียนรู้เทคนิคการรวมพลัง เช่น วิธีการของคนเสื้อแดงของคนพันธุ์ทักษิณ และของวัดธรรมกาย สร้างกองทัพธรรมมือเปล่าทั่วหล้า แต่ให้เน้นการประท้วงด้วยการ “ดื้อแพ่ง” (เช่น นัดหยุดงาน ไม่เสียภาษี) มากกว่าการชุมนุมยึดพื้นที่สร้างความทุกข์ยากให้แก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์และความเสียหายแก่ประเทศชาติโดยส่วนรวม
7.เป้าหมายที่สำคัญ คือ ต้องการให้มีการปฏิรูปการเมืองอย่างถอนรากถอนโคน เช่น กลไกอิสระในการกลั่นกรองผู้สมัคร ส.ส.ให้เหลือเฉพาะที่มีคุณภาพ เปิดโอกาสให้คนเป็น ส.ส.โดยไม่ต้องสังกัดพรรค กำจัดการซื้อขายเสียงในการเลือกตั้ง ปฏิรูปจิตใจของเจ้าหน้าที่ที่บริหารงานในกระบวนการยุติธรรมให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเฉียบขาด เป็นต้น
----------------------
ประวัติโดยย่อ ศาตราจารย์กิตติคุณ ดร.เขียน ธีระวิทย์ : จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อม ปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศิษย์เก่าด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยได้ทุนจาก Harvard-Yenching Institute และ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะเดินทางกลับมาเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จนได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งยังได้รับการยกย่องเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เมธีวิจัยอาวุโสของ สกว.อีกด้วย
วานนี้ (16 มิ.ย.) เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ ได้เผยแพร่บทความของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เขียน ธีระวิทย์ นักวิชาการอาวุโสด้านรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักรัฐศาสตร์ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นปรมาจารย์ด้านจีนศึกษาของประเทศไทย ต่อการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.2554 เรื่อง “โหวตเพื่อธนาธิปไตยหรือไม่โหวตเพื่อประชาธิปไตย”
ศ.ดร.เขียน ได้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันการเมืองไทยนั้นเข้าขั้นวิกฤต เนื่องจากการเลือกตั้งกลายเป็นการใช้สิทธิเลือกรัฐบาล มิใช่เลือก ส.ส.จนกลายเป็นสงครามชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ซึ่งตัดสินกันด้วย “เงิน” ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะการซื้อเสียงโดยตรง แต่รวมถึงการหาเสียงด้วยการสัญญาว่าจะให้เงินผ่านนโยบายต่างๆ และต่อเนื่องไปถึงการใช้เงินเพื่อล้มกฎหมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขัดกับกฎหมาย และเป็นการทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
พร้อมกันนี้ ศ.ดร.เขียน ได้แนะนำว่า ประชาชนมีทางเลือกอยู่ 3 ทาง คือ การไม่ไปใช้สิทธิแต่ก็ต้องยอมเสียสิทธิบางประการ, ไปใช้สิทธิด้วยการกาช่อง “ไม่ประสงค์ลงคะแนน” หรือ ร่วมมหกรรมการโกงเลือกตั้งด้วยการกาเลือกผู้สมัครและพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการรับรองความชอบธรรมให้คนเหล่านี้เข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง นอกจากนี้ ยังกล่าวด้วยว่า ประชาชนชาวไทยต้องตื่นตัวเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านการกระทำที่ไม่ชอบธรรมทั้งหลายของรัฐบาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ เพื่อทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองอย่างถอนรากถอนโคน
สำหรับเนื้อหาฉบับสมบูรณ์ของบทความดังกล่าวมีดังนี้
---------------------------------
การเลือกตั้ง ส.ส. : โหวตเพื่อธนาธิปไตยหรือไม่โหวตเพื่อประชาธิปไตย
1.เราถูกบังคับโดยกฎหมายให้ไปทำหน้าที่เลือกตั้ง ส.ส. ให้เลือกผู้สมัคร/พรรคที่ดีที่สุด หรือคน/พรรคที่เลวน้อยที่สุด แต่ความจริงได้ปรากฏให้ประจักษ์แล้วว่าการเมืองไทยมีอาการวิปริตถึงขั้นวิกฤต ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมากกว่าครึ่งหนึ่งจะไปใช้สิทธิเลือกรัฐบาล (ไม่ใช่เลือก ส.ส.) จำนวนมากในจำนวนนี้จะไปเลือกคน/พรรคเพื่อไทย เพราะไม่ชอบคนพรรคประชาธิปัตย์ ในทางตรงกันข้ามไปเลือกคน/พรรคประชาธิปัตย์ เพราะไม่ชอบคน/พรรคเพื่อไทย เพราะไม่อยากเห็นพรรคที่ตนเกลียดได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ใครจะกล้าพูดได้เต็มปากว่านี่เป็นการเลือกตั้ง ส.ส.ในระบอบประชาธิปไตย
2.สงครามชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคราวนี้ ตัดสินกันด้วยเงิน (มีเงินและกล้าใช้เงินเหยียบกฎหมาย) แม้นโยบายของพรรคก็ต้องตีราคาออกมาให้เห็นชัดๆ ว่าเป็นเงินที่จับต้องได้ แกนนำของพรรคใหญ่ทั้งสองไม่รู้หรือว่าการกระทำเช่นนั้นผิดกฎหมายและทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตย? แล้วทำไมเราต้องยอมให้พวกเขาดูถูกไปเลือกตั้งคน/พรรคโกงชาติอย่างโจ่งแจ้งเช่นนั้นด้วย
3. ทางเลือกของเราคือ (1) ประท้วงโดยการไม่ไปลงคะแนนซึ่งจะต้องเสียสิทธิบางประการ (2) ประท้วงโดยไปใช้สิทธิที่หน่วยเลือกตั้ง แต่กาช่อง “ไม่ประสงค์ลงคะแนน” หรือ (3) ยอมร่วมมหกรรมการโกงครั้งนี้ด้วยโดยการกาให้พรรคการเมืองและผู้สมัครอย่างละหนึ่งเสียง เป็นการช่วยกันออกสิทธิบัตรรับรองความชอบธรรมให้แก่ ส.ส. และรัฐบาลที่เข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
4.ก่อนถึงวันเลือกตั้ง เราควรไปแจ้งนายทะเบียน กกต. ให้ดำเนินคดีและผู้สมัคร ส.ส.พรรคการเมืองที่ทำผิดกฎหมาย และติดตามจี้ให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อย่นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนักการเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายให้สั้นลง
5. ในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์ เรามีสิทธิที่จะต่อต้านรัฐบาลที่มิชอบด้วยกฎหมายด้วยวิธีการใดก็ได้ (กฎป่า: ผู้ปกครองที่ไม่ยึดกติกา ผู้อยู่ใต้ปกครองก็ไม่ต้องยึดกติกา) แต่หลักการนี้คนส่วนมากไม่เข้าใจ ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เราเคลื่อนไหวภายในกรอบของกฎหมายจะดีกว่า
5.1 จงพร้อมใจกันเคลื่อนไหวต่อต้านการกระทำใดๆ ของรัฐบาลที่มิชอบด้วยกฎหมาย ถ้าหากพวกเขาจะใช้ข้ออ้าง “สมานฉันท์” หรือ “การปรองดองแห่งชาติ” นิรโทษกรรมให้แก่นักโทษที่หนีคุก
5.2 จงพร้อมใจกันจับตาตามจี้คดีต่างๆ ที่ค้างอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นใครที่ก่อการกบฏ ก่อการร้าย การวางเพลิง การบุกรุกโรงพยาบาลในยามวิกาล หรือการฉ้อราษฎร์บังหลวง
5.3 จับตาปกป้องข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนอย่างซื่อสัตย์ มิให้ถูกนักการเมืองรังแกโดยวิธีการต่างๆ
5.4 จับตาดูตัวโกงที่ได้รับเลือกเข้าไปกินบ้านกินเมืองให้ดี ดูว่าพวกเขาจะมีวิธีถอนทุนส่งส่วยให้เจ้านายอย่างไร ใช้เล่ห์เหลี่ยมทำคนระดับรากหญ้าให้เป็นทาสของเจ้านายต่อไปอย่างไร
6.เรียนรู้เทคนิคการรวมพลัง เช่น วิธีการของคนเสื้อแดงของคนพันธุ์ทักษิณ และของวัดธรรมกาย สร้างกองทัพธรรมมือเปล่าทั่วหล้า แต่ให้เน้นการประท้วงด้วยการ “ดื้อแพ่ง” (เช่น นัดหยุดงาน ไม่เสียภาษี) มากกว่าการชุมนุมยึดพื้นที่สร้างความทุกข์ยากให้แก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์และความเสียหายแก่ประเทศชาติโดยส่วนรวม
7.เป้าหมายที่สำคัญ คือ ต้องการให้มีการปฏิรูปการเมืองอย่างถอนรากถอนโคน เช่น กลไกอิสระในการกลั่นกรองผู้สมัคร ส.ส.ให้เหลือเฉพาะที่มีคุณภาพ เปิดโอกาสให้คนเป็น ส.ส.โดยไม่ต้องสังกัดพรรค กำจัดการซื้อขายเสียงในการเลือกตั้ง ปฏิรูปจิตใจของเจ้าหน้าที่ที่บริหารงานในกระบวนการยุติธรรมให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเฉียบขาด เป็นต้น
----------------------
ประวัติโดยย่อ ศาตราจารย์กิตติคุณ ดร.เขียน ธีระวิทย์ : จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อม ปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศิษย์เก่าด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยได้ทุนจาก Harvard-Yenching Institute และ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะเดินทางกลับมาเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จนได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งยังได้รับการยกย่องเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เมธีวิจัยอาวุโสของ สกว.อีกด้วย