ค่ำคืนวานนี้ (วันที่ 18 พ.ค.) คาดได้เลยว่าแกนนำหลายพรรคการเมือง คงปิดห้องหารือกันเพื่อเคาะบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์กันถึงดึกดื่นเป็นแน่ บางพรรคอาจยื้อกันยาวถึงรุ่งเช้าวันนี้ด้วยซ้ำ กว่าการจัดอันดับผู้สมัครเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อเสร็จ
คนที่ลงปาร์ตี้ลิสต์ต่างก็อยากให้ตัวเองอยู่ในอันดับต้นๆ เป็นที่สนใจของสังคม เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่มีบทบาทในพรรค และมีหลักประกันว่าจะติดอันดับปลอดภัยได้เข้าไปเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์หลังเลือกตั้งแน่ๆ
คนที่จะลงปาร์ตี้ลิสต์ หากชื่อชั้นไม่ถึง แถมกระเป๋าเบาควักจ่ายไม่หนัก ก็ต้องมีการวิ่งเต้นล็อบบี้ก่อนเส้นตายสุดท้ายที่แต่ละพรรคการเมืองจะจัดพิมพ์รายชื่อให้เสร็จ ก่อนนำรายชื่อไปยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการเปิดรับสมัคร ส.ส.ระบบปาร์ตี้ลิสต์วันแรก 19 พ.ค. 54 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง
โดยส่วนบัญชีรายชื่อของประชาธิปัตย์ พบว่าระดับบนๆ คือท็อปเท็น 1-10 นิ่งหมดแล้ว เพราะส่วนใหญ่ใช้ระบบอาวุโส เป็นหลักในการทำบัญชี เรียกได้ว่าเกือบทั้งหมดอยู่กับพรรคมาหลายสิบปีแล้ว แม้บางคนจะเข้ามาสังกัดพรรคได้ไม่นาน
เช่น กรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังที่มีข่าวชื่อติดท็อปเท็นข้ามหัวผู้อาวุโสหลายคนของประชาธิปัตย์ เพราะกรณ์เป็นขุนพลเศรษฐกิจของประชาธิปัตย์แถมเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์มาหลายปีตั้งแต่ยังไม่เล่นการเมือง การที่ชื่อของกรณ์ติดโผท็อปเท็นจึงไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย และเป็นเรื่องที่ทุกคนพอใจ
เบื้องต้นรายชื่อที่นิ่งแล้วมีดังนี้ 1.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 2.ชวน หลีกภัย 3.บัญญัติ บรรทัดฐาน 4.เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ 5.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 6.กรณ์ จาติกวนิช 7.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช 8.อภิรักษ์ โกษะโยธิน 9.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี 10.ชำนิ ศักดิเศรษฐ์
ส่วนอันดับรองๆ ลงมาพบว่า เน้นเกลี่ยโควตาไปตามสัดส่วนภาคสลับกันไป และพ่วงสลับด้วยพวกตัวแทนกลุ่มทุน เป็นรางวัลตอบแทนให้คนที่ทำงานให้พรรค เช่นทีมกฎหมายทำคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับการจัดชั้นไว้ในลำดับเขตปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม เมื่อโผรายชื่อเริ่มปูดออกมาตั้งแต่ช่วงค่ำวันอาทิตย์ที่ 15 พ.ค.ก็มีข่าวเล็ดลอดมาว่าหลายคนที่มีชื่ออยู่ในอันดับตั้งแต่ 60 ลงมา เริ่มเขย่าโผ เหตุเพราะพวกนี้ดูแล้วมีโอกาสไม่ได้เข้าสภาแน่นอน เลยมีออกอาการดิ้นเฮือกสุดท้าย ขอต่อรองแกนนำพรรคให้ได้อันดับดีกว่าเดิม ไม่เช่นนั้นก็ขอถอนตัวจะขอกลับไปลงระบบเขต แต่มีข่าวว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคก็ไม่ยอม เพราะถือว่าเคาะไปหมดแล้วจะมาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่ได้
ส่วนพวกอดีต ส.ส.กทม.ที่ถูกถีบขึ้นปาร์ตี้ลิสต์หลังมีปัญหาพื้นที่ทับซ้อน โดยสุเทพ เทือกสุบรรณ ให้สัญญาใจว่าจะเอาขึ้นอันดับเขตปลอดภัยให้ ก็พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในอันดับที่น่าจะเข้าสภาได้เช่น โกวิทย์ ธารณา ข่าวว่าอันดับที่ 33 วัชระ เพชรทอง ลำดับที่ 46 แบบนี้ก็สบายใจได้
ด้านฟากฝั่งพรรคเพื่อไทยก็ตามสไตล์พรรคใหญ่ ข่าวรั่วออกมาจากที่ทำการพรรคว่า โผปาร์ตี้ลิสต์รอบนี้ปั่นป่วนมาได้หลายวันแล้ว ขนาดว่าแกนนำพรรคระดับรองหัวหน้าพรรค-คนคุมพื้นที่เลือกตั้งระดับภาค-นายทุนพรรค-แกนนำนปช.โทรเช็คข่าวกันเองช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ก็ไม่มีใครรู้ว่าตัวเองจะได้อันดับที่เท่าไหร่
เพราะรายชื่อทั้งหมดคนตัดสินใจคือทักษิณ ชินวัตร คนเดียว คนอื่นรอการชี้ชะตาอย่าแหยม
มีข่าวว่า รอบนี้แกนนำพรรคอย่างยงยุทธ วิชัยดิษฐ ต้องให้ทีมงานส่งรายชื่อผู้แจ้งความจำนงขอลงปาร์ตี้ลิสต์หลายร้อยคนส่งทั้งแฟกซ์และอีเมล์ไปให้ทักษิณที่ต่างประเทศเพื่อให้ทักษิณ เคาะลำดับที่ ส่งกลับมาอีกรอบว่าจะให้คนไหนอยู่อันดับต้นๆ 1-10 จะให้ใครไปอยู่อันดับท้ายๆ
หรือให้ไปอยู่บัญชี 2 คือพวกที่ชื่อล้นมาจากบัญชีแรก ซึ่งมักเป็นพวกที่มีปัญหาเขตเลือกตั้งลงสมัครส.ส.เขตไม่ได้ ครั้นจะเอาลงปาร์ตี้ลิสต์บัญชีแรก ก็ล้นแล้วเพราะรัฐธรรมนูญให้ได้แค่ 125 คน และพรรคประเมินว่าน่าจะได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ไม่เกิน 55 คน แต่มีคนขอลงปาร์ตี้ลิสต์ร่วม 200 คน
ดังนั้นก็ต้องถีบออกไปอยู่ในบัญชี 2 แล้วปลอบใจว่าจะมีตำแหน่งการเมืองเช่นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี ให้ ซึ่งคนที่หลุดโผก็รู้ดีว่า วางใจไม่ได้ มีสิทธิ์กลายเป็นพวกถูกลืมคือหมดเลือกตั้งแล้วก็จบกัน
แถมหากเพื่อไทยไปเป็นฝ่ายค้าน ก็มีหวังตกงาน-หมดอำนาจกันหมด ทำให้ช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา บรรยากาศการวิ่งเต้นขอลงปาร์ตี้ลิสต์ที่พรรคเพื่อไทยเป็นไปด้วยความวุ่นวายพอสมควร
บางรายอยากลงเขตแต่พรรคจะให้ขึ้นปาร์ตี้ลิสต์อันดับท้ายๆ หรือให้ไปอยู่ในบัญชี 2 ก็ไม่ยอม ครั้นจะย้ายไปอยู่พรรคอื่นก็ไม่ทันแล้ว ก็เลยมีการขนม็อบมาประท้วงกัน ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย
เช่นม็อบเสื้อแดงสุรินทร์มาประท้วงต่อหน้ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นชัดถึงความไม่นิ่งของเพื่อไทยในการทำโผปาร์ตี้ลิสต์ อันคาดได้ว่ากว่าเพื่อไทยจะทำโผเสร็จก็คงแก้กันหลายตลบตลอดทั้งคืนวันที่ 18 พ.ค.
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นมีข่าวออกมาว่าอันดับต้นๆ คงไม่ผิดไปจากนี้คือ ยิ่งลักษณ์เบอร์หนึ่ง ตามด้วยแกนนำพรรค-แกนนำ นปช.มีข่าวว่าอาจเป็นไปได้ที่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก หรือเสนาะ เทียนทอง จะได้อันดับ 2 หรือ 3 ตามลำดับ และตามด้วย ยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรค โอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จตุพร พรหมพันธ์ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ นิวัฒน์ธำรง บุญส่งไพศาล อดีตผู้บริหารชินคอร์ป สันติ พร้อมพัฒน์ อดีตรมว.คมนาคม วิรุฬ เตชะไพบูลย์ อดีตรมช.พาณิชย์ พิชัย นริทะพันธุ์ อดีตรมช.คลัง เป็นต้น
ก็ลองดูแล้วกันว่า เมื่อเอาท็อปเท็น ปาร์ตี้ลิสต์ของเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์มาเทียบกัน พรรคไหนจะฟอร์มสดกว่ากัน
คนที่ลงปาร์ตี้ลิสต์ต่างก็อยากให้ตัวเองอยู่ในอันดับต้นๆ เป็นที่สนใจของสังคม เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่มีบทบาทในพรรค และมีหลักประกันว่าจะติดอันดับปลอดภัยได้เข้าไปเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์หลังเลือกตั้งแน่ๆ
คนที่จะลงปาร์ตี้ลิสต์ หากชื่อชั้นไม่ถึง แถมกระเป๋าเบาควักจ่ายไม่หนัก ก็ต้องมีการวิ่งเต้นล็อบบี้ก่อนเส้นตายสุดท้ายที่แต่ละพรรคการเมืองจะจัดพิมพ์รายชื่อให้เสร็จ ก่อนนำรายชื่อไปยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการเปิดรับสมัคร ส.ส.ระบบปาร์ตี้ลิสต์วันแรก 19 พ.ค. 54 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง
โดยส่วนบัญชีรายชื่อของประชาธิปัตย์ พบว่าระดับบนๆ คือท็อปเท็น 1-10 นิ่งหมดแล้ว เพราะส่วนใหญ่ใช้ระบบอาวุโส เป็นหลักในการทำบัญชี เรียกได้ว่าเกือบทั้งหมดอยู่กับพรรคมาหลายสิบปีแล้ว แม้บางคนจะเข้ามาสังกัดพรรคได้ไม่นาน
เช่น กรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังที่มีข่าวชื่อติดท็อปเท็นข้ามหัวผู้อาวุโสหลายคนของประชาธิปัตย์ เพราะกรณ์เป็นขุนพลเศรษฐกิจของประชาธิปัตย์แถมเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์มาหลายปีตั้งแต่ยังไม่เล่นการเมือง การที่ชื่อของกรณ์ติดโผท็อปเท็นจึงไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย และเป็นเรื่องที่ทุกคนพอใจ
เบื้องต้นรายชื่อที่นิ่งแล้วมีดังนี้ 1.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 2.ชวน หลีกภัย 3.บัญญัติ บรรทัดฐาน 4.เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ 5.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 6.กรณ์ จาติกวนิช 7.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช 8.อภิรักษ์ โกษะโยธิน 9.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี 10.ชำนิ ศักดิเศรษฐ์
ส่วนอันดับรองๆ ลงมาพบว่า เน้นเกลี่ยโควตาไปตามสัดส่วนภาคสลับกันไป และพ่วงสลับด้วยพวกตัวแทนกลุ่มทุน เป็นรางวัลตอบแทนให้คนที่ทำงานให้พรรค เช่นทีมกฎหมายทำคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับการจัดชั้นไว้ในลำดับเขตปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม เมื่อโผรายชื่อเริ่มปูดออกมาตั้งแต่ช่วงค่ำวันอาทิตย์ที่ 15 พ.ค.ก็มีข่าวเล็ดลอดมาว่าหลายคนที่มีชื่ออยู่ในอันดับตั้งแต่ 60 ลงมา เริ่มเขย่าโผ เหตุเพราะพวกนี้ดูแล้วมีโอกาสไม่ได้เข้าสภาแน่นอน เลยมีออกอาการดิ้นเฮือกสุดท้าย ขอต่อรองแกนนำพรรคให้ได้อันดับดีกว่าเดิม ไม่เช่นนั้นก็ขอถอนตัวจะขอกลับไปลงระบบเขต แต่มีข่าวว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคก็ไม่ยอม เพราะถือว่าเคาะไปหมดแล้วจะมาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่ได้
ส่วนพวกอดีต ส.ส.กทม.ที่ถูกถีบขึ้นปาร์ตี้ลิสต์หลังมีปัญหาพื้นที่ทับซ้อน โดยสุเทพ เทือกสุบรรณ ให้สัญญาใจว่าจะเอาขึ้นอันดับเขตปลอดภัยให้ ก็พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในอันดับที่น่าจะเข้าสภาได้เช่น โกวิทย์ ธารณา ข่าวว่าอันดับที่ 33 วัชระ เพชรทอง ลำดับที่ 46 แบบนี้ก็สบายใจได้
ด้านฟากฝั่งพรรคเพื่อไทยก็ตามสไตล์พรรคใหญ่ ข่าวรั่วออกมาจากที่ทำการพรรคว่า โผปาร์ตี้ลิสต์รอบนี้ปั่นป่วนมาได้หลายวันแล้ว ขนาดว่าแกนนำพรรคระดับรองหัวหน้าพรรค-คนคุมพื้นที่เลือกตั้งระดับภาค-นายทุนพรรค-แกนนำนปช.โทรเช็คข่าวกันเองช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ก็ไม่มีใครรู้ว่าตัวเองจะได้อันดับที่เท่าไหร่
เพราะรายชื่อทั้งหมดคนตัดสินใจคือทักษิณ ชินวัตร คนเดียว คนอื่นรอการชี้ชะตาอย่าแหยม
มีข่าวว่า รอบนี้แกนนำพรรคอย่างยงยุทธ วิชัยดิษฐ ต้องให้ทีมงานส่งรายชื่อผู้แจ้งความจำนงขอลงปาร์ตี้ลิสต์หลายร้อยคนส่งทั้งแฟกซ์และอีเมล์ไปให้ทักษิณที่ต่างประเทศเพื่อให้ทักษิณ เคาะลำดับที่ ส่งกลับมาอีกรอบว่าจะให้คนไหนอยู่อันดับต้นๆ 1-10 จะให้ใครไปอยู่อันดับท้ายๆ
หรือให้ไปอยู่บัญชี 2 คือพวกที่ชื่อล้นมาจากบัญชีแรก ซึ่งมักเป็นพวกที่มีปัญหาเขตเลือกตั้งลงสมัครส.ส.เขตไม่ได้ ครั้นจะเอาลงปาร์ตี้ลิสต์บัญชีแรก ก็ล้นแล้วเพราะรัฐธรรมนูญให้ได้แค่ 125 คน และพรรคประเมินว่าน่าจะได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ไม่เกิน 55 คน แต่มีคนขอลงปาร์ตี้ลิสต์ร่วม 200 คน
ดังนั้นก็ต้องถีบออกไปอยู่ในบัญชี 2 แล้วปลอบใจว่าจะมีตำแหน่งการเมืองเช่นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี ให้ ซึ่งคนที่หลุดโผก็รู้ดีว่า วางใจไม่ได้ มีสิทธิ์กลายเป็นพวกถูกลืมคือหมดเลือกตั้งแล้วก็จบกัน
แถมหากเพื่อไทยไปเป็นฝ่ายค้าน ก็มีหวังตกงาน-หมดอำนาจกันหมด ทำให้ช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา บรรยากาศการวิ่งเต้นขอลงปาร์ตี้ลิสต์ที่พรรคเพื่อไทยเป็นไปด้วยความวุ่นวายพอสมควร
บางรายอยากลงเขตแต่พรรคจะให้ขึ้นปาร์ตี้ลิสต์อันดับท้ายๆ หรือให้ไปอยู่ในบัญชี 2 ก็ไม่ยอม ครั้นจะย้ายไปอยู่พรรคอื่นก็ไม่ทันแล้ว ก็เลยมีการขนม็อบมาประท้วงกัน ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย
เช่นม็อบเสื้อแดงสุรินทร์มาประท้วงต่อหน้ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นชัดถึงความไม่นิ่งของเพื่อไทยในการทำโผปาร์ตี้ลิสต์ อันคาดได้ว่ากว่าเพื่อไทยจะทำโผเสร็จก็คงแก้กันหลายตลบตลอดทั้งคืนวันที่ 18 พ.ค.
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นมีข่าวออกมาว่าอันดับต้นๆ คงไม่ผิดไปจากนี้คือ ยิ่งลักษณ์เบอร์หนึ่ง ตามด้วยแกนนำพรรค-แกนนำ นปช.มีข่าวว่าอาจเป็นไปได้ที่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก หรือเสนาะ เทียนทอง จะได้อันดับ 2 หรือ 3 ตามลำดับ และตามด้วย ยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรค โอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จตุพร พรหมพันธ์ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ นิวัฒน์ธำรง บุญส่งไพศาล อดีตผู้บริหารชินคอร์ป สันติ พร้อมพัฒน์ อดีตรมว.คมนาคม วิรุฬ เตชะไพบูลย์ อดีตรมช.พาณิชย์ พิชัย นริทะพันธุ์ อดีตรมช.คลัง เป็นต้น
ก็ลองดูแล้วกันว่า เมื่อเอาท็อปเท็น ปาร์ตี้ลิสต์ของเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์มาเทียบกัน พรรคไหนจะฟอร์มสดกว่ากัน