ศูนย์สันติวิธี จัดลงสัตยาบันหาเสียง ไม่อิงสถาบัน ไม่ซื้อเสียง ไม่ข่มขู่ “วิทยา-สมศักดิ์” โผล่ร่วม ประธานวุฒิฯ คนใหม่หวังเป็นพันธสัญญา เลือกตั้งยุติธรรม ขณะ กกต.จัดงานพบสื่อ ยันเชิญผู้สมัครออกทีวีได้ แต่ต้องไม่ใส่ร้ายหรือหาเสียงให้ ย้ำ ห้ามทำโพลก่อนเลือกตั้ง 7 วัน
วันนี้ (11 พ.ค.) ที่รัฐสภา ศูนย์สันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดให้มีการลงสัตยาบันและอบรม จรรยาบรรณในการหาเสียงเลือกตั้ง พ.ศ.2554 โดยเชิญตัวแทนผู้นำศาสนา ประกอบด้วย ศาสนาพุทธ พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหามกุฏราชวิทยาลัย นายอรุณ บุญชม รองประธานผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาราชมนตรี ผู้แทนจุฬาราชมนตรี และพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวานิช โดยมี พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นสักขีพยาน ร่วมด้วยตัวแทนพรรคการเมือง อาทิ นายวิทยา แก้วภราดัย จากพรรคประชาธิปัตย์ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ โดยพรรคการเมืองร่วมกันให้สัตยาบันจะเคารพ และปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง และกฎระเบียบที่กำหนด ไม่นำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ไม่กระทำการใดที่เป็นการซื้อเสียง ไม่ใช่กลไกหรือทรัพยากรของรัฐเพื่อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง รณรงค์หาเสียงด้วยสันติวิธี ไม่ข่มขู่คุกคาม ไม่ใช้ความรุนแรง และไม่รบกวนการรณรงค์หาเสียงของพรรคอื่น ไม่ใช้ถ้อยคำและภาษาที่รุนแรงหรือใส่ร้ายผู้อื่นให้เสียชื่อเสียง และยอมรับผลการเลือกตั้งอันถือเป็นเสียงและความต้องการของประชาชน อนึ่ง ขอให้ กกต.และเจ้าหน้าที่ทุกระดับดำเนินการโดยสุจริตเที่ยงธรรม ร่วมป้องกันการทุจริต
โดย พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ในฐานะประธานในพิธีกล่าวในงาน ว่า การจัดพิธีให้สัตยาบันและลงนามจรรยาบรรณในครั้งนี้ ถือเป็นพันธสัญญา และแสดงเจตจำนงที่ให้ไว้กับประชาชนว่าการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้เป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามครรลองของประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะการเมืองที่มีรากฐานมาจากความสุจริต ยุติธรรม ย่อมนำไปสู่การยอมรับ และช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้การเมืองในระบอบประชาประชาธิปไตยมีความเข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นการสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชนในการให้ความสำคัญต่อการเลือกตั้งที่สุจริต
ขณะที่บรรยากาศการสัมมนา กกต.พบสื่อมวลชน เรื่อง การหารือถึงแนวทางการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน และการขอความร่วมมือในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภา ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนหลายแขนง โดยประเด็นที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่มีข้อสงสัย คือ การเชิญผู้สมัคร ส.ส.จากพรรคการเมือง หรือผู้แทนจากพรรคการเมือง มาออกอากาศผ่านทางสถานีวิทยุ หรือโทรทัศน์ ในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกา จะสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่ง กกต.ได้ชี้แจงว่า สามารถทำได้ แต่เนื้อหาต้องไม่ส่อเสียดให้ร้าย หรือเป็นการหาเสียง ซึ่งเหล่านี้ได้มีปรากฏอยู่ในระเบียบการเลือกตั้งของ กกต.อย่างชัดเจน และสื่อมวลชนจะต้องใช้ดุลพินิจ ว่า จะเชิญอย่างไรให้เกิดการเท่าเทียมกันทุกพรรคการเมือง
นอกจากนี้ กกต.ยังได้ย้ำเตือนสื่อมวลชนถึงเรื่องการเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นในช่วง 7 วัน ก่อนการเลือกตั้งด้วย ว่า หากมีการเปิดเผย จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนตามกฎหมาย และมีโทษทางอาญา รวมทั้งห้ามผู้สมัครหาเสียง หลังเวลา 18.00 น.วันก่อนที่จะมีการเลือกตั้งด้วย
วันนี้ (11 พ.ค.) ที่รัฐสภา ศูนย์สันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดให้มีการลงสัตยาบันและอบรม จรรยาบรรณในการหาเสียงเลือกตั้ง พ.ศ.2554 โดยเชิญตัวแทนผู้นำศาสนา ประกอบด้วย ศาสนาพุทธ พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหามกุฏราชวิทยาลัย นายอรุณ บุญชม รองประธานผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาราชมนตรี ผู้แทนจุฬาราชมนตรี และพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวานิช โดยมี พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นสักขีพยาน ร่วมด้วยตัวแทนพรรคการเมือง อาทิ นายวิทยา แก้วภราดัย จากพรรคประชาธิปัตย์ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ โดยพรรคการเมืองร่วมกันให้สัตยาบันจะเคารพ และปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง และกฎระเบียบที่กำหนด ไม่นำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ไม่กระทำการใดที่เป็นการซื้อเสียง ไม่ใช่กลไกหรือทรัพยากรของรัฐเพื่อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง รณรงค์หาเสียงด้วยสันติวิธี ไม่ข่มขู่คุกคาม ไม่ใช้ความรุนแรง และไม่รบกวนการรณรงค์หาเสียงของพรรคอื่น ไม่ใช้ถ้อยคำและภาษาที่รุนแรงหรือใส่ร้ายผู้อื่นให้เสียชื่อเสียง และยอมรับผลการเลือกตั้งอันถือเป็นเสียงและความต้องการของประชาชน อนึ่ง ขอให้ กกต.และเจ้าหน้าที่ทุกระดับดำเนินการโดยสุจริตเที่ยงธรรม ร่วมป้องกันการทุจริต
โดย พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ในฐานะประธานในพิธีกล่าวในงาน ว่า การจัดพิธีให้สัตยาบันและลงนามจรรยาบรรณในครั้งนี้ ถือเป็นพันธสัญญา และแสดงเจตจำนงที่ให้ไว้กับประชาชนว่าการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้เป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามครรลองของประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะการเมืองที่มีรากฐานมาจากความสุจริต ยุติธรรม ย่อมนำไปสู่การยอมรับ และช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้การเมืองในระบอบประชาประชาธิปไตยมีความเข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นการสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชนในการให้ความสำคัญต่อการเลือกตั้งที่สุจริต
ขณะที่บรรยากาศการสัมมนา กกต.พบสื่อมวลชน เรื่อง การหารือถึงแนวทางการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน และการขอความร่วมมือในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภา ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนหลายแขนง โดยประเด็นที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่มีข้อสงสัย คือ การเชิญผู้สมัคร ส.ส.จากพรรคการเมือง หรือผู้แทนจากพรรคการเมือง มาออกอากาศผ่านทางสถานีวิทยุ หรือโทรทัศน์ ในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกา จะสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่ง กกต.ได้ชี้แจงว่า สามารถทำได้ แต่เนื้อหาต้องไม่ส่อเสียดให้ร้าย หรือเป็นการหาเสียง ซึ่งเหล่านี้ได้มีปรากฏอยู่ในระเบียบการเลือกตั้งของ กกต.อย่างชัดเจน และสื่อมวลชนจะต้องใช้ดุลพินิจ ว่า จะเชิญอย่างไรให้เกิดการเท่าเทียมกันทุกพรรคการเมือง
นอกจากนี้ กกต.ยังได้ย้ำเตือนสื่อมวลชนถึงเรื่องการเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นในช่วง 7 วัน ก่อนการเลือกตั้งด้วย ว่า หากมีการเปิดเผย จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนตามกฎหมาย และมีโทษทางอาญา รวมทั้งห้ามผู้สมัครหาเสียง หลังเวลา 18.00 น.วันก่อนที่จะมีการเลือกตั้งด้วย