xs
xsm
sm
md
lg

“สุเทพ” ขึงขังสั่ง จนท.ปรับลดเงื่อนไข 5 พัน เร่งจ่ายผู้ประสบอุทกภัยอย่างเท่าเทียม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สุเทพ เทือกสุบรรณ
รองนายกฯ ด้านความมั่นคง ยันเงินช่วยเหลือ 5 พันบาท ต้องถึงมือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเท่าเทียม สั่ง จนท.ปรับลดเงื่อนไขและทำความเข้าใจให้ตรงกัน เผย 23 เม.ย. จัดงานเลี้ยงอาหารกลางวัน ระดมทุนสร้างบ้านให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมสุราษฎร์ฯ กว่า 360 หลัง ย้ำ รบ.เร่งซ่อมเส้นทางคมนาคม เตรียมฟื้นฟูอาชีพ ปชช.


วันนี้ (14 เม.ย.) ที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ได้เดินทางไปทำบุญเนื่องในวันมหาสงกรานต์ โดยนายสุเทพได้ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยในภาคใต้ว่า เรื่องของแนวทางนั้น รัฐบาล ข้าราชการ มูลนิธิ และเอกชนต่างๆ ได้เข้าใจในทิศทางเดียวกันว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลัง 1.คือมีการส่งข้างกล่องให้วันละ 3 มื้อ ส่วนการดำเนินการเฉพาะหน้าจะเร่งดูแลเรื่องเส้นทางคมนาคมถนน สะพาน ซึ่งส่วนใหญ่จะทำเสร็จแล้ว ประชาชนสามารถสัญจรได้ บริเวณที่คอสะพานและถนนขาด 6-7 วันที่ผ่านมาก็ทำได้เรียบร้อย บางแห่งค่อนข้างยากเช่น หมู่ 6 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมการทหารช่างทำหน้าที่ทำทางเบี่ยง กรมทางหลวงได้นำสะพานแรลลี่ไปทอดให้ โดยทุกฝ่ายได้ยืนยันว่าในวันสงกรานต์จะต้องทำให้ประชาชนใช้สัญจรไปมาได้ ซึ่งวันที่ 13 เม.ย.ก็ทำเสร็จตามกำหนด

ทั้งนี้ ตนขอแสดงความชื่นชมเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ร่วมมือกันทำหน้าที่ทั้งที่เป็นวันหยุดสงกรานต์ แต่เห็นภาระกิจช่วยเหลือประชาชนสำคัญกว่า จากการลงพื้นที่ไปให้กำลังใจประชาชน อ.นบพิตำ และ อ.กาญจนดิษฐ บริเวณนั้นเป็นพื้นที่ที่ถูกตัดขาดมานาน แต่ขณะนี้ชาวบ้านมีขวัญกำลังใจดีมาก ตนเชื่อว่าอีกไม่เกิน 1 สัปดาห์ ประชาชนจะสัญจรไปมาบนถนนได้ตามปกติ ส่วนที่ 2 คือ เรื่องการสร้างบ้าน เดิมจำนวนบ้านคิดว่าไม่มากมีแค่ จ.กระบี่ และ จ.นครศรีธรรมราช ที่ถูกดินโคลนถล่ม แต่ปรากฏว่า จ.สุราษฎร์ธานีนั้นมีเกือบทุกอำเภอที่พังจากแรงน้ำที่ไหลลงมาจากกระบี่และนครศรีธรรมราช จากการประชุมเมื่อวันที่ 13 เม.ย.ผู้ราชการจังหวัดรายงานว่าจำนวน 360 กว่าหลัง โดยที่ จ.กระบี่ 145 หลัง จ.นครศรีธรรมราช 200 กว่าหลัง ตนได้ประชุมกับภาคส่วนต่างๆ ในการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล จ.สุราษฎร์ฯ ควรจะมีการชักชวนคนที่ไม่ถูกน้ำท่วมมาช่วยคนที่ถูกน้ำท่วม มาร่วมบริจาคเงินซ่อมแซมผู้ที่บ้านพัง โดยจะเร่มรณรงค์ตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ และในวันเสาร์ที่ 23 เม.ย.จะจัดงานเลี้ยงอาหารกลางวันที่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี และจะมีการเชิญชวนคนที่มีใจกุศลไปร่วมงาน ซึ่งจะมีการเปิดการรณรงค์เรื่องการสร้างบ้าน 360 กว่าหลัง ให้ผู้ที่ไม่มีบ้านอยู่ และตั้งเป้าว่าภายใน 90 วันต้องสร้างบ้านให้ได้

นายสุเทพกล่าวต่อว่า สำหรับอำเภอที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ อ.พระแสง และ อ.เคียนซา จำนวนรวมกัน 160-170 หลัง โดยเราจะมีการสำรวจที่รัดกุมว่าเจ้าของบ้านคือใคร มีลูกและภรรยาอยู่กี่คน และบ้านที่ปลูกนั้นเมื่อถูกน้ำพัดพังไปหากจะสร้างใหม่จะต้องสร้างที่ไหน มีที่ดินตรงอื่นหรือไม่ หากไม่มีจริงจะขอเงินบริจาคซื้อให้ ส่วนเรื่องที่ 3 คือ เรื่องอาชีพ เป็นสิ่งที่น่ากังวลใจมาก เพราะอาจชีพหลักของชาวใต้คือการทำสวนยาง สวนปาล์มและสวนผลไม้ เพราะการปลูกไม้ยืนต้นต้องใช้เวลา และระยะเวลาที่รอการเติบโตคนเหล่านี้จะอยู่กินกันอย่างไร ตนได้ขอให้ทางจังหวัดลงไปทำประชาคม ว่าคนที่ปลูกยางลูกปาล์มซึ่งต้องรอระยะเวลา 3-7 ปี ระหว่างนี้สามารถทำอะไรเลี้ยงตัวได้ ซึ่งเราจะนำประสบการณ์จากการส่งเสริมประชาชนในพื้นที่ภาคใต้มาช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งนี้ ในส่วนของพืชยืนต้นนั้นเราจะเร่งสำรวจให้เสร็จและรายงานรัฐบาล เพื่อที่จะได้เข้าให้เงินช่วยเหลือให้ปลูกทันในฤดูฝน

ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีเงินช่วยเหลือ 5 พันบาทที่เกิดปัญหาการปลอมแปลงสิทธิ์ และปัญหาที่รัฐบาลมีเงื่อนไขมากเกินไป จะทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าใจ นายสุเทพกล่าวว่า ต้องพูดความจริงกับชาวบ้าน เดิมที่ให้ช่วยเหลือเงิน 5 พันบาท ซึ่งมีการตั้งเกณฑ์ไว้ว่าน้ำขังติดกันเกิน 7 วันหลายจังหวัดก็ไม่มีปัญหา แต่บางแห่งท่วม 1-2 วันก็ไม่เข้าเกณฑ์ เพราะการชี้แจงกันผู้ปฎิบัติอาจจะบอกไม่ชัดเจน ยังไม่ได้ดูรายละเอียด แต่ได้ให้จังหวัดและผู้นำท้องถิ่นประชุมกัน ซึ่งนายวิทยา แก้วภราดัย ก็อยู่ที่นั้น แต่น้ำท่วมครั้งนี้เหตุการณ์ไม่เหมือนกัน เพราะมีดินโคลนถล่มและฉับพลัน ทางราชการจึงมีการผ่อนผันเงื่อนไขเดิม หากท่วมวันเดียวแต่รุนแรงข้าวของเสียหายก็จะช่วย 5 พันบาท จึงทำให้คนที่น้ำท่วมปีที่แล้วกับปีนี้ไม่เข้าใจกัน

เมื่อถามว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เห็นด้วยที่จะให้ลงไปช่วยสำรวจ เพราะใกล้ช่วงที่จะเลือกตั้ง อาจจะดูเป็นการหาเสียงได้ แต่ก็กลัวว่าถ้าราชการเข้าไปทำก็อาจจะล่าช้า นายสุเทพกล่าวว่า ไม่มีปัญหาอะไร หากท้องถิ่นไหนที่พร้อมก็มาช่วยทำ หากท้องถิ่นที่กลัวว่าจะกระทบคะแนนเสียงก็ไม่เป็นไร เพราะอยู่ที่จิตอาสา แต่ว่าหน่วยงานของรัฐนั้นต้องทำ ตนได้ใช้วิธีการในพื้นที่ที่หนัก โดยให้ฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจลงไปด้วยกัน คือให้นายอำเภอกับผู้กำกับลงไปตรวจสอบ

เมื่อถามว่า กรณีที่ทางจังหวัดตั้งงบไว้ แต่เวลามาขอเบิกเกินจำนวนจริง จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า ตนเห็นปัญหาเช่น ที่ จ.นครศรีธรรมราช ทีทำบัญชีตอนแรกมาเท่านี้ และตอนหลังทำเพิ่มมาอีกเกินจำนวนที่ขอไว้ครั้งแรก เมื่อฝ่ายที่จ่ายเงินไปสุ่มสำรวจและเห็นว่าไม่น่าจะจ่ายถึง ทำให้ผู้ที่เสียหายจริงเดือดร้อนติดร่างแหไปด้วย เราต้องยึดหลักเหตุผลข้อเท็จจริง ประชาชนก็ต้องพูดจาและอธิบายให้ชัดเจน ส่วนการเบิกจ่ายเงินก็ต้องรีบสอบสวนให้เร็ว ผู้ที่เดือดร้อนจริงก็ต้องรีบเบิกจ่ายให้ และควรจะแยกเรื่องของปีที่แล้วและปีนี้ให้ชัดเจน เมื่อถามว่า ชาวบ้านยังไม่มีความเข้าใจถึงระเบียบของทางราชการ แต่พอเอกชนลงมาช่วยก็สามารถจ่ายได้เลย ทำให้ขัดแย้งกันเอง นายสุเทพกล่าวว่า ระบบราชการมีการตรวจสอบที่รัดกุม ประชาชนน่าจะเข้าใจ
กำลังโหลดความคิดเห็น