ผู้ตรวจการแผ่นดิน ประสาน รมว.แรงงาน แก้ กม.ประกันสังคม ชี้ให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล เป็นการเลือกปฏิบัติ ไม่เป็นธรรม ขัด รธน.ระบุ หากเพิกเฉยเตรียมยื่นศาล รธน.ชี้ขาด
วันนี้ (17 มี.ค.) นายปราโมทย์ โชติมงคล ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้เชิญ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักงานจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน นายโกวิท สัจจวิเศษ ผอ.กองนิติการ สปส.และ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง และ นายนิมิตร เทียนอุดม จากชมรมผู้พิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน เข้าร่วมหารือเกี่ยวกับกรณีที่ชมรมได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ในเรื่อง “การจัดเก็บเงินสมทบของสำนักงานประกันสังคมตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 46 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 30”
โดย นางสารี กล่าวว่า สปส.ควรทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน 10 ล้านคน ให้มีสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับบุคคลที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย สปส.ต้องตระหนักว่าลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนเป็นกลุ่มที่ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกบังคับให้มีการจ่ายเงิน จึงควรจะแก้กฎหมายให้เกิดความเท่าเทียมกัน หรือหากมีการจ่ายเงินก็ควรจะจ่ายในเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องสุขภาพ หรือถ้าต้องจ่ายก็ควรต้องได้รับบริการด้านการรักษาพยาบาลที่ดีกว่าคนที่อยู่ในหลักประกันสุขภาพได้รับ ไม่ใช่ด้อยกว่าอย่างในปัจจุบัน
ขณะที่ นพ.วินัย ชี้แจงถึงเจตนารมณ์ของการมีหลักประกันสุขภาพ ว่า รัฐมีหลักคิดว่าการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องที่รัฐต้องดูแลประชาชนทุกคนอย่างทั่วถึงเท่าเทียม ซึ่งถ้ายึดตามหลักนี้ รัฐก็ควรต้องรับผิดชอบค่าใช้าจ่ายในการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานให้กับทุกคนเหมือนกันหมด
อย่างไรก็ตาม ในส่วนตัวแทนของสำนักงานประกันสังคม อย่าง นายนายโกวิท สัจจวิเศษ ผอ.กองนิติการ ก็ยืนยันว่า ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม เกิดขึ้นในปี 2533 และจนถึงปัจจุบันยังมีผลใช้บังคับอยู่เมื่อสาระสำคัญระบุให้ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบ ทาง สปส.ก็ต้องจัดเก็บต่อไป หากไม่ทำก็อาจจะเป็นการผิดกฎหมายได้ ส่วน นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักงานจัดระบบบริการทางการแพทย์ กล่าวว่า ข้อโต้แย้งในเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลที่ว่าตามหลักประกันสุขภาพดีกว่าประกันสังคมนั้น ทาง สปส.ก็กำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งก็ยืนยันว่ากฎหมายประกันสังคมได้ดูแลสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนได้ดี
ทั้งนี้ หลังจากรับฟังข้อมูลจากทั้ง 3 ฝ้ายแล้ว นายปราโมทย์ ก็เห็นว่า ในเมื่อขณะนี้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 และรัฐธรรมนูญ 50 ใช้บังคับอยู่ การที่ พ.ร.บ.ประกันสังคมให้ผู้ประกันตน 10 ล้าน ต้องจ่ายเงินสมทบโดยได้รับบริการด้านการรักษาพยาบาล ที่เท่ากับผู้ที่อยู่ในหลักประกันสุขภาพซึ่งไม่ต้องจ่ายเงินใดๆ น่าจะเป็นการเลือกปฏิบัติ และขัดหลักความเท่าเทียมเสมอภาคตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ดังนั้น เป็นไปได้หรือไม่ที่ตัวแทนสำนักงานประกันสังคมจะรับเรื่องไปรายงานรมว.แรงงานแล้วเสนอแก้ไขกฎหมาย เพราะทราบว่าขณะนี้กฎหมายประกันสังคมกำลังมีการแก้ไขอยู่ในชั้นกรรมาธิการของสภา และ รมว.แรงงาน ก็เป็นกรรมาธิการ ซึ่งย่อมดีกว่าการให้ผู้ตรวจการแผ่นดินไปฟันธงว่า พ.ร.บ.ประกันสังคมขัดรัฐธรรมนูญและยื่นเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะหากทำเช่นนั้นทาง สปส.ก็จะถูกมองว่าเพิกเฉย ไม่รับฟังอะไรเลย และกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาของสังคม ที่ทำให้ผู้ตรวจการแผ่นดินต้องไปยื่นให้ศาลชี้ขาด
ซึ่ง นพ.สุรเดช ก็กล่าวว่า ขอยอมเป็นผู้ร้ายและขอให้จดบันทึกไว้ด้วยว่าหลักการในการรักษาพยาบาล เรายังมองว่า คนที่มีความสามารถในการจ่ายก็สมควรจะต้องจ่าย เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงทาง สปส.ไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการทำร้ายประเทศในระยะยาว โดยทาง สปส.คงไม่สามารถจะตอบได้ว่าจะกลับไปแก้ไขกฎหมาย เพราะเป็นเรื่องนโยบายของรัฐบาล แต่จะนำผลการหารือในครั้งนี้ไปทำเป็นรายงานเสนอต่อ รมว.แรงงาน ต่อไป
อย่างไรก็ตาม นายปราโมทย์ ก็ได้สรุปว่า เมื่อทางผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า กม.ประกันสังคมในส่วนเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลไม่น่าจะเป็นธรรม เลือกปฏิบัติ เบื้องต้นก็จะประสานไปยัง รมว.แรงงาน เพื่อขอให้มีการแก้ไขกฎหมาย แต่หากยังเพิกเฉยก็จำเป็นต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป
วันนี้ (17 มี.ค.) นายปราโมทย์ โชติมงคล ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้เชิญ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักงานจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน นายโกวิท สัจจวิเศษ ผอ.กองนิติการ สปส.และ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง และ นายนิมิตร เทียนอุดม จากชมรมผู้พิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน เข้าร่วมหารือเกี่ยวกับกรณีที่ชมรมได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ในเรื่อง “การจัดเก็บเงินสมทบของสำนักงานประกันสังคมตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 46 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 30”
โดย นางสารี กล่าวว่า สปส.ควรทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน 10 ล้านคน ให้มีสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับบุคคลที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย สปส.ต้องตระหนักว่าลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนเป็นกลุ่มที่ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกบังคับให้มีการจ่ายเงิน จึงควรจะแก้กฎหมายให้เกิดความเท่าเทียมกัน หรือหากมีการจ่ายเงินก็ควรจะจ่ายในเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องสุขภาพ หรือถ้าต้องจ่ายก็ควรต้องได้รับบริการด้านการรักษาพยาบาลที่ดีกว่าคนที่อยู่ในหลักประกันสุขภาพได้รับ ไม่ใช่ด้อยกว่าอย่างในปัจจุบัน
ขณะที่ นพ.วินัย ชี้แจงถึงเจตนารมณ์ของการมีหลักประกันสุขภาพ ว่า รัฐมีหลักคิดว่าการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องที่รัฐต้องดูแลประชาชนทุกคนอย่างทั่วถึงเท่าเทียม ซึ่งถ้ายึดตามหลักนี้ รัฐก็ควรต้องรับผิดชอบค่าใช้าจ่ายในการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานให้กับทุกคนเหมือนกันหมด
อย่างไรก็ตาม ในส่วนตัวแทนของสำนักงานประกันสังคม อย่าง นายนายโกวิท สัจจวิเศษ ผอ.กองนิติการ ก็ยืนยันว่า ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม เกิดขึ้นในปี 2533 และจนถึงปัจจุบันยังมีผลใช้บังคับอยู่เมื่อสาระสำคัญระบุให้ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบ ทาง สปส.ก็ต้องจัดเก็บต่อไป หากไม่ทำก็อาจจะเป็นการผิดกฎหมายได้ ส่วน นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักงานจัดระบบบริการทางการแพทย์ กล่าวว่า ข้อโต้แย้งในเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลที่ว่าตามหลักประกันสุขภาพดีกว่าประกันสังคมนั้น ทาง สปส.ก็กำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งก็ยืนยันว่ากฎหมายประกันสังคมได้ดูแลสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนได้ดี
ทั้งนี้ หลังจากรับฟังข้อมูลจากทั้ง 3 ฝ้ายแล้ว นายปราโมทย์ ก็เห็นว่า ในเมื่อขณะนี้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 และรัฐธรรมนูญ 50 ใช้บังคับอยู่ การที่ พ.ร.บ.ประกันสังคมให้ผู้ประกันตน 10 ล้าน ต้องจ่ายเงินสมทบโดยได้รับบริการด้านการรักษาพยาบาล ที่เท่ากับผู้ที่อยู่ในหลักประกันสุขภาพซึ่งไม่ต้องจ่ายเงินใดๆ น่าจะเป็นการเลือกปฏิบัติ และขัดหลักความเท่าเทียมเสมอภาคตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ดังนั้น เป็นไปได้หรือไม่ที่ตัวแทนสำนักงานประกันสังคมจะรับเรื่องไปรายงานรมว.แรงงานแล้วเสนอแก้ไขกฎหมาย เพราะทราบว่าขณะนี้กฎหมายประกันสังคมกำลังมีการแก้ไขอยู่ในชั้นกรรมาธิการของสภา และ รมว.แรงงาน ก็เป็นกรรมาธิการ ซึ่งย่อมดีกว่าการให้ผู้ตรวจการแผ่นดินไปฟันธงว่า พ.ร.บ.ประกันสังคมขัดรัฐธรรมนูญและยื่นเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะหากทำเช่นนั้นทาง สปส.ก็จะถูกมองว่าเพิกเฉย ไม่รับฟังอะไรเลย และกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาของสังคม ที่ทำให้ผู้ตรวจการแผ่นดินต้องไปยื่นให้ศาลชี้ขาด
ซึ่ง นพ.สุรเดช ก็กล่าวว่า ขอยอมเป็นผู้ร้ายและขอให้จดบันทึกไว้ด้วยว่าหลักการในการรักษาพยาบาล เรายังมองว่า คนที่มีความสามารถในการจ่ายก็สมควรจะต้องจ่าย เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงทาง สปส.ไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการทำร้ายประเทศในระยะยาว โดยทาง สปส.คงไม่สามารถจะตอบได้ว่าจะกลับไปแก้ไขกฎหมาย เพราะเป็นเรื่องนโยบายของรัฐบาล แต่จะนำผลการหารือในครั้งนี้ไปทำเป็นรายงานเสนอต่อ รมว.แรงงาน ต่อไป
อย่างไรก็ตาม นายปราโมทย์ ก็ได้สรุปว่า เมื่อทางผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า กม.ประกันสังคมในส่วนเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลไม่น่าจะเป็นธรรม เลือกปฏิบัติ เบื้องต้นก็จะประสานไปยัง รมว.แรงงาน เพื่อขอให้มีการแก้ไขกฎหมาย แต่หากยังเพิกเฉยก็จำเป็นต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป