xs
xsm
sm
md
lg

ว่าด้วยโครงการซุปเปอร์ สกายวอล์ค กทม.หัดฟังเสียงประชาชนบ้าง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่าของโครงการทางเดินลอยฟ้า หรือซุปเปร์สกายวอล์ค ความยาว 50 กิโลเมตร มูลค่า การก่อสร้าง 15,000 ล้านบาท ของ กรุงเทพมหานคร ( กทม.) ทำให้นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่า ราชการ กทม. ต้องเปลี่ยน ภาษา ที่ใช้ในการนำเสนอใหม่ โดยอ้างอิงราคาการก่อสร้างเป็น หน่วยตารางเมตร เพื่อเทียบกับต้นทุนการก่อสร้างของทางลอยฟ้าอื่นๆ ได้ชัดเจนและทำให้ดูว่าต้นทุนในการสร้างไม่สูง

จากมูลค่าการก่อสร้างเฉลี่ยกิโลเมตรละ 300 ล้านบาท ก็กลายเป็น ตารางเมตรละ 43,000 บาท

อย่างไรก็ตาม จะอ้างอิงราคาค่าก่อสร้างอย่างใด สุดท้ายแล้ว ค่าก่อสร้างรวมทั้งหมดซึ่งต้องไปกู้เงินธนาคารมาคือ 15,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูง

เพื่อตอบโต้กับ เสียงวิพากษิวจารณ์ นายธีระชน ยกการสร้างสกายวอล์คในต่างประเทศ เป็นตัวอย่างว่าเมืองใหญ่ๆในโลกนี้ ใครๆ เขาก็ทำกัน และทำมานานแล้วด้วย แต่นายธีระชน ไม่ได้บอกว่า ที่เขาทำกันนั้นทำอย่างไร มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือไม่

ในหลายๆ ประเทศ ที่นายธีระชนอ้างว่า ทำสกายวอล์คความยาวมากกว่า 10 กิโลเมตรนั้น เมื่อรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลท้องถิ่นจะทำอะไรสักอย่าง ที่อาจกระทบต่อสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ และวีถีชีวิตของประชาชน จะต้องให้ประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย และหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องเคารพความเห็นประชาชน

ครั้งที่นายธีระชนไปออกรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ เมื่อถูกนักวิชาการด้านสถาปัตยกรรม ผู้ร่วมรายการ ซักว่า โครงการสกายวอล์คนี้ ได้รับฟังความเห็นของประชาชนบ้างหรือไม่ นายธีระชนตอบว่า การทำโครงการแต่ละครั้งของเขา มีพื้นฐานมาจากงานวิจัย โครงการนี้ก็เช่นกัน ที่มีการทำวิจัย สอบถามผู้ที่ทำการค้า พักอาศัย สัญจรไปมาในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส บนถนนสุขุมวิท ปรากฎว่า เกือบทุกคนสนับสนุน และยินดี ที่จะมีโครงการสกายวอล์คเกิดขึ้น เพราะจะได้มีทางเท้าให้เดิน มีความสะดวกสบายมากขึ้น

มันเป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้ว ที่กลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยจะต้องตอบเช่นนี้ เพราะว่า พวกเขาคือ ผู้มีส่วนได้จากโครงการนี้ ไม่ใช่ผู้มีส่วนเสีย ในฐานะเจ้าของเงินภาษีที่จะต้องนำมาจ่ายคืนเงินกู้ที่ กทม. กู้มาก่อสร้าง หากนายธีระชนไปถามประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในย่านนั้น คำตอบจะต้องออกมาอีกแบบหนึ่งแน่ และงานวิจัย กับการรับฟังความคิดเห็นนั้น ก็ไม่เหมือนกัน

นายธีระชน ยกตัวอย่างโครงการสกายวอล์คที่หน้าโรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อแสดงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากทางเดินลอยฟ้า

เป็นความจริง ที่โครงการสกายวอล์คที่เกิดขึ้นใน กทม. ขณะนี้ เป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ต่อประชาชนและเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความเป็นเมืองน่าอยู่ แต่สกายวอล์คทั้งที่บริเวณสยามสแควร์ไปจนถึงเพลินจิต และสกายวอล์ค หน้าโรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นโครงการขนาดเล็ก ที่เห็นได้ชัดจนว่า มีประโยชน์ใช้สอยอย่างใด

สกายวอล์คที่สยามสแควร์ถึงเพลินจิตนั้น รองรับการเดินทางของประชาชนในย่านการค้าสำคัญของกรุงเทพมหานคร ทั้งที่ใช้รถไฟฟ่าบีทีเอสและที่ข้ามไปมาระหว่างศูนย์การค้าสองฝั่ง ขณะที่สกายวอล์คหน้าโรงพยาบาลรามาธิบดี เชื่อมระหว่างอาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ และอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ทำให้ประชาชนที่ไปรับการรักษาพยาบาลได้รับความสะดวกอย่างยิ่ง ไม่ต้องลงไปเดินบนบาทวิถีข้างล่าง และยังเป็นทางข้ามสำหรับประชาชนที่จอดรถในที่จอดรถฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาล

แต่โครงการซุปเปอร์สกายวอล์ค ที่มีความยาว 50 กิโลเมคร จากต้นถนนสุขุมวิทไปจนถึงซอยแบริ่ง บางนานี้ ยังไม่เห็นว่า มีความจำเป็นอย่างไร ที่จะต้องมีทางเดินเท้าลอยฟ้า ที่ยาวต่อเนื่องกันถึงขนาดนี้ นี่คือ ความไม่เข้าใจ ความไม่เห็นด้วยของผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์โครงการนี้

ทำไม กทม. จึงไม่ทำสกายวอล์ค เป็นช่วงๆ ในจุดที่มีความจำเป็น และเป็นประโยชน์จริงๆ แทนที่จะทำยาวๆต่อเนื่องกันไปตลอดสาย ซึ่งต้องใช้งบประมาณ จำนวนมาก และน่าสงสัยว่า คุ้มหรือไม่กับเงินค่าก่อสร้าง

หรือว่า สกายวอล์คสายสั้นๆ นั้นไม่เหมาะกับ บริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ อย่าง ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ ซึ่งเป็นผู้รับเหมาที่ผูกขาดงานก่อสร้างขนาดใหญของ กทม. ไปเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้ง โครงการซุปเปอร์สกายวอล์คนี้ด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น