ที่ประชุมสภาพิจารณางบกลางปีวาระ 2 สุดกร่อย ฝ่ายค้านโวยรัฐบาลจัดงบลงพื้นที่แบบกระจุกตัว ซัดงบแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่ไม่ใช่ฐานเสียง รบ.น้อยกว่างบโฆษณาขายไข่เป็นกิโลฯ เชื่อ งบถนนลูกรัง 3 หมื่นล้านบาท ซ่อนเงื่อนเบียดบังผลประโยชน์แผ่นดิน ด้าน “กรณ์” อ้างจัดสรรตาม รธน.เพื่อชดใช้เงินคลัง 84,142 ล้านบาท คิดเป็น 84% ของงบกลางทั้งหมด ชี้เป็นกลางที่สุด
วันนี้ (3 มี.ค.) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2554 ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้วเรียงตามมาตรา โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างจืดชืด ด้านฝ่ายค้านได้อภิปรายโจมตีการจัดสรรงบประมาณในส่วนของช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ซ้ำซ้อน และกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ของรัฐบาล ซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งงบประมาณในครั้งนี้ก็ได้ เพราะงบประมาณกลางปียังคงเหลืออยู่ โดยเฉพาะงบในส่วนที่จะใช้ซ่อมแซมความเสียหายจากภัยน้ำท่วมที่ผ่านมา ซึ่งเห็นควรที่จะปรับลดงบประมาณในหลายส่วน
ทั้งนี้ สาเหตุที่เห็นควรต้องปรับ เนื่องจาก 1.หลายโครงการดำเนินการไปแล้ว 2.รูปภาพมีความซ้ำซ้อนและผิดพลาด 3.การตั้งงบประมาณมีการกระจุกตัว โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ 4.บางโครงการมีการล็อกสเปกกำหนดตัวผู้รับเหมาโครงการ ไม่มั่นใจว่าท้ายที่สุดแล้วโครงการที่รัฐบาลนำเสนอจะเป็นการไปสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือไม่
นายสถาพร มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขอปรับลดงบประมาณเนื่องจากเชื่อว่าการจัดสรรงบประมาณบางส่วนอยู่เฉพาะในพื้นที่ผู้มีบารมีในรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะในงบประมาณลูกรังที่รัฐบาลขอถึง 3 หมื่นล้านบาท น่าสงสัยว่า ซ่อนเงื่อนไขไว้เพื่อเบียดบังผลประโยชน์หรือไม่
“ผมอยากฟ้องร้องประชาชน ให้เห็นความไม่ยุติธรรมในการจัดทำงบประมาณ โดยจังหวัดลำพูนได้งบประมาณเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมเพียง 57 ล้านบาท น้อยกว่างบโฆษณาขายไข่เป็นกิโลเสียอีก ผิดกับจังหวัดของพรรคร่วมรัฐบาลที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างมากมาย”
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า งบประมาณกลางปีที่ตั้งไว้เพื่อชดใช้เงินคลัง 84,142 ล้านบาท คิดเป็น 84% ของงบกลางทั้งหมด เป็นงบประมาณที่ต้องตั้งตามรัฐธรรมนูญ เพื่อชดใช้เงินคงคลัง ส่วนการจัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่น ถือเป็นงบประมาณที่ต้องจัดสรรให้ท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ งบทั้งสองส่วนไม่สามารถตัดออกได้ เพราะจะเป็นการผิดกฎหมาย หากสมาชิกต้องการให้ตัดงบ คงมีเพียงส่วนเดียว คือ งบประมาณที่ใช้จ่ายจริงประมาณ 15,857 ล้านบาท ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ในการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภัยพิบัติ ซึ่งหากต้องการตัดก็หมายความว่าสมาชิกไม่อยากให้มีการฟื้นฟูเกิดขึ้น
สำหรับการตั้งงบประมาณชดใช้เงินคลัง 84,142 ล้านบาท เม็ดเงินครึ่งหนึ่งประมาณ 42,000 ล้านบาท เป็นการนำไปใช้หนี้เงินกู้ล่วงหน้าโดยเฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยที่รัฐต้องจ่าย ดังนั้นจึงถือเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยได้ถึง 1,000 ล้านบาท การกำหนดงบกลางดังกล่าวจึงสะท้อนถึงการกำหนดนโยบายบริการการเงินการคลังที่คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนร่วมเป็นหลัก
ด้าน นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า การอภิปรายที่กล่าวหาว่าการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลมีความกระจุกตัวโดยเฉพาะงบประมาณช่วยเหลือน้ำท่วมจำนวน 9,999 ล้านบาท ขอยืนยันว่า การตั้งงบประมาณทุกครั้งมีที่มาที่ไป รัฐบาลไม่เคยตั้งงบตามอำเภอใจแต่มีขั้นตอนโดยได้รับข้อมูลจากส่วนท้องถิ่นโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการในการพิจารณากลั่นกรองข้อมูล สำหรับตัวเลขที่จังหวัดซึ่งได้รับผลกระทบทั่วประเทศขอมา มียอดถึง 20,000 กว่าล้านบาท แต่รัฐบาลมีงบประมาณเพียง 9,999 ล้านบาท จึงต้องมีการพิจารณาลำดับความสำคัญความเดือดร้อน โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมากลั่นกรองขึ้นมาตรวจสอบอีกทางหนึ่ง หากรัฐบาลต้องการทุจริตจริงก็สามารถทำงบกลางขึ้นมาแล้วลงไปจัดสรรกันเองก็ได้ ไม่ต้องมาทำงบประมาณกลางปีอย่างนี้
ส่วนข้อกล่าวหามีภาพถ่ายซ้ำซ้อนในรายการที่เสนอโครงการหลายโครงการ รัฐบาลได้ให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ พบว่า มีการซ้ำซ้อนกันจริง แต่หากพิจารณาให้ชัดเจน จะพบว่ารายละเอียดของโครงการไม่ซ้ำซ้อนกัน ดังนั้น สาเหตุจึงน่าจะมาจากความรีบเร่งในการจัดทำโครงการให้ทันกับกำหนด ทั้งหมดเป็นเจตนาที่ชี้ให้เห็นว่ทุกโครงการโปร่งใสตรวจสอบได้ซึ่งอาจทำให้การนำภาพมาแสดงเพื่อยืนยันโครงการอาจซ้ำกันไปบ้าง
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า ส่วนข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลตั้งงบประมาณเข้าไปในฐานเสียงของตนเอง เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะหาพิจารณาจากโครงการขยองกระทรวงศึกษาธิการที่มีการจัดสรรงบประมาณมากเป็นเพราะภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษาทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วน ในส่วนงบประมาณ 9,999 ล้านบาท หากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่ามีการกระจายไปทั่วประเทศ โดยภาคเหนือได้รับการจัดสรร 1,500 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,900 ล้านบาท ภาคกลาง 5,000 ล้านบาท และภาคใต้ 2,800 ล้านบาท หากดูรายงาน จ.ชัยภูมิ ได้รับการจัดสรร 400 กว่าล้านบาท จ.สุราษฎร์ธานี ได้เพียง 200 กว่าล้านบาท จังหวัดที่ได้มากที่สุด คือ จ.นครราชสีมา เพราะได้รับภัยพิบัติรุนแรง รองลงมาคือ จ.อยุธยา และสงขลา ทั้งหมดจึงยืนยันได้ว่าการจัดสรรไม่มีการกระจุกตัว แต่กระจายทั่วถึงทุกพื้นที่
สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนครอบครัวละ 5,000 บาท จากการตรวจสอบพบว่ามีบางจังหวัดใส่รายชื่อบุคคลที่ไม่มีสิทธิได้รับเข้ามาใช้สิทธิด้วย ตนจึงมอบหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบ โดยหากพบว่ามีการกระทำผิดจริงจะดำเนินการเอาผิดจนถึงที่สุด
วันนี้ (3 มี.ค.) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2554 ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้วเรียงตามมาตรา โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างจืดชืด ด้านฝ่ายค้านได้อภิปรายโจมตีการจัดสรรงบประมาณในส่วนของช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ซ้ำซ้อน และกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ของรัฐบาล ซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งงบประมาณในครั้งนี้ก็ได้ เพราะงบประมาณกลางปียังคงเหลืออยู่ โดยเฉพาะงบในส่วนที่จะใช้ซ่อมแซมความเสียหายจากภัยน้ำท่วมที่ผ่านมา ซึ่งเห็นควรที่จะปรับลดงบประมาณในหลายส่วน
ทั้งนี้ สาเหตุที่เห็นควรต้องปรับ เนื่องจาก 1.หลายโครงการดำเนินการไปแล้ว 2.รูปภาพมีความซ้ำซ้อนและผิดพลาด 3.การตั้งงบประมาณมีการกระจุกตัว โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ 4.บางโครงการมีการล็อกสเปกกำหนดตัวผู้รับเหมาโครงการ ไม่มั่นใจว่าท้ายที่สุดแล้วโครงการที่รัฐบาลนำเสนอจะเป็นการไปสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือไม่
นายสถาพร มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขอปรับลดงบประมาณเนื่องจากเชื่อว่าการจัดสรรงบประมาณบางส่วนอยู่เฉพาะในพื้นที่ผู้มีบารมีในรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะในงบประมาณลูกรังที่รัฐบาลขอถึง 3 หมื่นล้านบาท น่าสงสัยว่า ซ่อนเงื่อนไขไว้เพื่อเบียดบังผลประโยชน์หรือไม่
“ผมอยากฟ้องร้องประชาชน ให้เห็นความไม่ยุติธรรมในการจัดทำงบประมาณ โดยจังหวัดลำพูนได้งบประมาณเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมเพียง 57 ล้านบาท น้อยกว่างบโฆษณาขายไข่เป็นกิโลเสียอีก ผิดกับจังหวัดของพรรคร่วมรัฐบาลที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างมากมาย”
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า งบประมาณกลางปีที่ตั้งไว้เพื่อชดใช้เงินคลัง 84,142 ล้านบาท คิดเป็น 84% ของงบกลางทั้งหมด เป็นงบประมาณที่ต้องตั้งตามรัฐธรรมนูญ เพื่อชดใช้เงินคงคลัง ส่วนการจัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่น ถือเป็นงบประมาณที่ต้องจัดสรรให้ท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ งบทั้งสองส่วนไม่สามารถตัดออกได้ เพราะจะเป็นการผิดกฎหมาย หากสมาชิกต้องการให้ตัดงบ คงมีเพียงส่วนเดียว คือ งบประมาณที่ใช้จ่ายจริงประมาณ 15,857 ล้านบาท ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ในการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภัยพิบัติ ซึ่งหากต้องการตัดก็หมายความว่าสมาชิกไม่อยากให้มีการฟื้นฟูเกิดขึ้น
สำหรับการตั้งงบประมาณชดใช้เงินคลัง 84,142 ล้านบาท เม็ดเงินครึ่งหนึ่งประมาณ 42,000 ล้านบาท เป็นการนำไปใช้หนี้เงินกู้ล่วงหน้าโดยเฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยที่รัฐต้องจ่าย ดังนั้นจึงถือเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยได้ถึง 1,000 ล้านบาท การกำหนดงบกลางดังกล่าวจึงสะท้อนถึงการกำหนดนโยบายบริการการเงินการคลังที่คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนร่วมเป็นหลัก
ด้าน นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า การอภิปรายที่กล่าวหาว่าการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลมีความกระจุกตัวโดยเฉพาะงบประมาณช่วยเหลือน้ำท่วมจำนวน 9,999 ล้านบาท ขอยืนยันว่า การตั้งงบประมาณทุกครั้งมีที่มาที่ไป รัฐบาลไม่เคยตั้งงบตามอำเภอใจแต่มีขั้นตอนโดยได้รับข้อมูลจากส่วนท้องถิ่นโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการในการพิจารณากลั่นกรองข้อมูล สำหรับตัวเลขที่จังหวัดซึ่งได้รับผลกระทบทั่วประเทศขอมา มียอดถึง 20,000 กว่าล้านบาท แต่รัฐบาลมีงบประมาณเพียง 9,999 ล้านบาท จึงต้องมีการพิจารณาลำดับความสำคัญความเดือดร้อน โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมากลั่นกรองขึ้นมาตรวจสอบอีกทางหนึ่ง หากรัฐบาลต้องการทุจริตจริงก็สามารถทำงบกลางขึ้นมาแล้วลงไปจัดสรรกันเองก็ได้ ไม่ต้องมาทำงบประมาณกลางปีอย่างนี้
ส่วนข้อกล่าวหามีภาพถ่ายซ้ำซ้อนในรายการที่เสนอโครงการหลายโครงการ รัฐบาลได้ให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ พบว่า มีการซ้ำซ้อนกันจริง แต่หากพิจารณาให้ชัดเจน จะพบว่ารายละเอียดของโครงการไม่ซ้ำซ้อนกัน ดังนั้น สาเหตุจึงน่าจะมาจากความรีบเร่งในการจัดทำโครงการให้ทันกับกำหนด ทั้งหมดเป็นเจตนาที่ชี้ให้เห็นว่ทุกโครงการโปร่งใสตรวจสอบได้ซึ่งอาจทำให้การนำภาพมาแสดงเพื่อยืนยันโครงการอาจซ้ำกันไปบ้าง
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า ส่วนข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลตั้งงบประมาณเข้าไปในฐานเสียงของตนเอง เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะหาพิจารณาจากโครงการขยองกระทรวงศึกษาธิการที่มีการจัดสรรงบประมาณมากเป็นเพราะภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษาทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วน ในส่วนงบประมาณ 9,999 ล้านบาท หากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่ามีการกระจายไปทั่วประเทศ โดยภาคเหนือได้รับการจัดสรร 1,500 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,900 ล้านบาท ภาคกลาง 5,000 ล้านบาท และภาคใต้ 2,800 ล้านบาท หากดูรายงาน จ.ชัยภูมิ ได้รับการจัดสรร 400 กว่าล้านบาท จ.สุราษฎร์ธานี ได้เพียง 200 กว่าล้านบาท จังหวัดที่ได้มากที่สุด คือ จ.นครราชสีมา เพราะได้รับภัยพิบัติรุนแรง รองลงมาคือ จ.อยุธยา และสงขลา ทั้งหมดจึงยืนยันได้ว่าการจัดสรรไม่มีการกระจุกตัว แต่กระจายทั่วถึงทุกพื้นที่
สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนครอบครัวละ 5,000 บาท จากการตรวจสอบพบว่ามีบางจังหวัดใส่รายชื่อบุคคลที่ไม่มีสิทธิได้รับเข้ามาใช้สิทธิด้วย ตนจึงมอบหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบ โดยหากพบว่ามีการกระทำผิดจริงจะดำเนินการเอาผิดจนถึงที่สุด