ก่อนศึกซักฟอก-อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์จะระเบิด ฝ่ายค้านพรรค “เพื่อไทย” ออกมาโหมโรงถือโอกาสใช้วาระการพิจารณร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2554 หรือ “งบกลางปี” ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ เป็นเวทีอุ่นเครื่อง
ด้วยการระดมขุมพลของพรรครวมถึงพวก ส.ส.แถวสองที่จะขอแจ้งเกิดก่อนการเลือกตั้ง ขึ้นผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันชำแหละงบกลางปี 54 วงเงิน 1.167 แสนล้านบาท
ที่กระทรวงการคลังชงเข้า ครม.เห็นชอบไปเมื่อ 24 มกราคมที่ผ่านมา โดยเงินดังกล่าวแยกเป็น 3 กรอบ คือ
1.ชดเชยเงินคงคลัง 8.4 หมื่นล้านบาท 2.จัดสรรงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 6,000 ล้านบาท และ 3.ช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์อุทกภัยและวาตภัยในช่วงที่ผ่านมา 1 หมื่นล้านบาท
ไฮไลต์สำคัญของเวทีพิจารณางบกลางปี 54 คงหนีไม่พ้นเรื่องที่ เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทยประกาศ ขอเป็นตัวหลักในการอภิปรายรอบนี้ ขณะที่ตัวประกอบอื่นๆ ก็มีเช่น
สุนัย จุลพงศธร, น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ, สุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล, ชวลิต วิชยสุทธิ์ และอีกหนึ่งตัวหลักคือ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ที่ก็จะใช้โอกาสนี้อภิปรายเรียกน้ำย่อยด้วย
น่าเชื่อว่า “เหลิม” คงโชว์ทีเด็ดเต็มที่เพื่อประกาศศักดาให้ ทักษิณ ชินวัตร และ ส.ส.พรรคเพื่อไทยได้เห็นว่าตัวเองเป็นของจริง อภิปรายทีใด ข้อมูลแน่น ลีลาเผ็ดร้อน อภิปรายแต่ละครั้ง รัฐมนตรีเรียงหน้ากันแย่งขึ้นชี้แจงชนิด “เหลิม” เพิ่งพูดจบยังไม่ทันหย่อนก้นลงเก้าอี้กันเลยทีเดียว
ดังนั้น ใครที่ไปหนุน “มิ่งขวัญ ”ให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าทีมอภิปรายไม่ไว้วางใจแทนที่จะเป็น “เหลิม” นั่นเป็นการคิดผิดของพรรค
ข่าวว่า การอภิปรายงบกลางปี 54 คราวนี้ “เหลิม” เตรียมพร้อมมาเป็นพิเศษ เหตุเพราะต้องการข่ม “เจ๊มิ่ง” เชือดคู่แข่งทางการเมืองกันเลยทีเดียว รวมถึงสั่งสอน ส.ส.ในกลุ่มมิ่งขวัญด้วย
หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงให้ต้องเปลี่ยนใจกันเสียก่อน การขึ้นเวทีพร้อมกันของ “เฉลิม-มิ่งขวัญ” ในวันพุธนี้ ทั้งสองจะถูกจับตาอย่างมากจาก ส.ส.เพื่อไทย
ทีเด็ด-ลีลาอภิปรายของ “เหลิมแอนด์เจ๊มิ่ง” จะสมราคาหรือไม่ ต้องรอชม 16 ก.พ.นี้ และ “เหลิม”จะคงความขลังเดี่ยวไมโครโฟนข่ม “เจ๊มิ่ง” ได้หรือไม่? ก็ต้องติดตามกันต่อไป
ด้าน “เหลิม” ออกมาอ้างว่าการจัดงบครั้งนี้ มีความไม่โปร่งใส ส่อทุจริตกระทรวงละ 25-30%! เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่คุมโดย สุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคกิจสังคม ซึ่งมี ส.ส.5 คน ดูแลอยู่ ได้ไป 900 ล้านบาท แบ่งกันคนละ 200 ล้านบาท
แค่นั้นไม่พอ อ้างว่าจะอภิปรายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของพรรคชาติไทยพัฒนา ก็ได้ไป 1,600 ล้านบาท งานนี้ ธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ เด็กปั้น บรรหาร ศิลปอาชา คงต้องเตรียมข้อมูลมาโต้ให้พร้อม
รวมถึงการอ้างว่ากระทรวงศึกษาธิการก็แสบสันติสุขหากินกันทุกกรมกองได้ไปรวม 1,300 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย ส.ส.ของพรรคเจ้ากระทรวงได้ไปเฉลี่ยหัวละ 60 ล้านบาท
เฉลิมสรุปว่ามีการทุจริต 10% ของงบประมาณทั้งหมด คิดเป็น 2 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องดูว่าข้อมูลของเฉลิมและ ส.ส.เพื่อไทย สังคมอยากเห็นว่ามันต้องแน่น อภิปรายแล้วเห็นภาพได้จริง ไม่ใช่แค่คิดเองพูดเอง หรือเอาข่าวหนังสือพิมพ์มาอภิปราย
รอบนี้ ในการอภิปรายเพื่อไทยต้องชี้ให้เห็นถึงการขาดวินัยทางการเงินการคลังของรัฐบาล หรือการท้วงติงการใช้งบไปในทางไม่ถูกต้องคือนำไปเพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมืองและมีการแบ้งเค้กหาผลประโยชน์กันในบรรดาพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อเป็นทุนก่อนการเลือกตั้ง และส่อว่าจะมีการทุจริตกันเกิดขึ้น
แต่หากใช้ลีลาแบบเดิมๆ อภิปรายแต่เรื่องเสื้อเหลือง-เสื้อแดง ปัญหาไทย-กัมพูชา ออกมาไม่ตรงประเด็น ไม่เป็นโล้เป็นพายแบบนี้ รับรองว่า คนโห่ พอถึงศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ แทนที่จะเรียกความสนใจ กลับกลายเป็นว่า คนจะไม่ให้ราคา เลิกติดตาม
ขณะเดียวกัน ถ้าเพื่อไทย อภิปรายดี มีหลักการ แม่นในข้อมูลและความเป็นเหตุเป็นผล อภิปรายแล้ว สังคมเห็นด้วย ว่าการจัดงบกลางปี 54 ส่อไปในทางมิชอบ โดยเฉพาะพวกงบท้องถิ่นและงบช่วยเหลือน้ำท่วม ที่ใช้วิธีซอยงบเป็นโครงการย่อยๆ โดยไม่มีรายละเอียดการใช้งบ เพื่อไม่ให้วงเงินมากเกิน 10 ล้านบาทจะได้หลีกเลี่ยงไม่ถูกจับตามองมาก และเมื่อเอ็กซ์เรย์ไปจะพบว่าส่วนใหญ่ไปกระจุกตัวในพื้นที่ของ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลเกือบทั้งสิ้น
หากอภิปรายหลักฐานดี-ข้อมูลแน่น มันก็จะเป็นหัวเชื้ออย่างดี ให้ประชาชนเกิดความสนใจติดตามไปถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะได้คิดกันว่า ขนาดอภิปรายงบกลางปี 54 ไม่ได้เป็นเรื่องการอภิปรายซักฟอกปมทุจริต ฝ่ายค้านยังไล่ถลุงรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสียตัวงอ
แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสในการทำงานจริง คะแนนรัฐบาลที่มีภาพลักษณ์เรื่องทุจริตคอรัปชั่นสูงท่วมหัว จะยิ่งติดลบหนักขึ้นไปอีก แบบนี้เพื่อไทยก็โกยคะแนนใส่กระเป๋า
แต่ผลจะออกมาอย่างไร ยังยากจะคาดเดา เพราะฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาล ที่พอรู้ข่าวว่ากระทรวงตัวเองจะโดนล่อเป้า ก็คงเตรียมพร้อมมาอย่างดี แบบตั้งรับแล้วรอสวนกลับ เอาให้เพื่อไทยหงายหลัง ถึงศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจจะได้เก็งกันไปทั้งพรรค อภิปรายกันไม่ออก
ขณะเดียวกัน แม้จะมีการพิจารณาเห็นชอบ พ.ร.บ.งบกลางปี 54 แล้ว ก็เชื่อได้ว่า “อภิสิทธิ์” คงพยุงเวลาอีกสักพักในการยุบสภา เพราะเงื่อนไขหลายอย่างยังติดขัด
เช่น หากชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฏรส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยยื่นเรื่องให้ส่งศาล รธน.ตีความกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็จะทำให้กระบวนการประกาศประกาศใช้รัฐธรรมนูญล่าช้าออกไปอีกหลายสัปดาห์ แม้หลายฝ่ายจะประเมินว่าเป็นไปได้ที่ “ประธานชัย”จะไม่ส่งเรื่องให้ศาล รธน.ตีความ แต่ของแบบนี้มันก็ยังไม่แน่
อีกทั้งก็เห็นได้ชัดว่า แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล อย่างบรรหาร ศิลปอาชา จากชาติไทยพัฒนา และชวรัตน์ ชาญวีรกูล จากภูมิใจไทย ก็ไม่เห็นด้วยหากจะยุบสภาตอนนี้ โดยการอ้างว่าสถานการณ์ในประเทศและบริเวณชายแดนไม่สงบ
แต่ลึกๆ แล้วคงเพราะต้องการอยู่ในอำนาจให้นานที่สุดนั่นเอง
ด้วยการระดมขุมพลของพรรครวมถึงพวก ส.ส.แถวสองที่จะขอแจ้งเกิดก่อนการเลือกตั้ง ขึ้นผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันชำแหละงบกลางปี 54 วงเงิน 1.167 แสนล้านบาท
ที่กระทรวงการคลังชงเข้า ครม.เห็นชอบไปเมื่อ 24 มกราคมที่ผ่านมา โดยเงินดังกล่าวแยกเป็น 3 กรอบ คือ
1.ชดเชยเงินคงคลัง 8.4 หมื่นล้านบาท 2.จัดสรรงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 6,000 ล้านบาท และ 3.ช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์อุทกภัยและวาตภัยในช่วงที่ผ่านมา 1 หมื่นล้านบาท
ไฮไลต์สำคัญของเวทีพิจารณางบกลางปี 54 คงหนีไม่พ้นเรื่องที่ เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทยประกาศ ขอเป็นตัวหลักในการอภิปรายรอบนี้ ขณะที่ตัวประกอบอื่นๆ ก็มีเช่น
สุนัย จุลพงศธร, น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ, สุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล, ชวลิต วิชยสุทธิ์ และอีกหนึ่งตัวหลักคือ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ที่ก็จะใช้โอกาสนี้อภิปรายเรียกน้ำย่อยด้วย
น่าเชื่อว่า “เหลิม” คงโชว์ทีเด็ดเต็มที่เพื่อประกาศศักดาให้ ทักษิณ ชินวัตร และ ส.ส.พรรคเพื่อไทยได้เห็นว่าตัวเองเป็นของจริง อภิปรายทีใด ข้อมูลแน่น ลีลาเผ็ดร้อน อภิปรายแต่ละครั้ง รัฐมนตรีเรียงหน้ากันแย่งขึ้นชี้แจงชนิด “เหลิม” เพิ่งพูดจบยังไม่ทันหย่อนก้นลงเก้าอี้กันเลยทีเดียว
ดังนั้น ใครที่ไปหนุน “มิ่งขวัญ ”ให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าทีมอภิปรายไม่ไว้วางใจแทนที่จะเป็น “เหลิม” นั่นเป็นการคิดผิดของพรรค
ข่าวว่า การอภิปรายงบกลางปี 54 คราวนี้ “เหลิม” เตรียมพร้อมมาเป็นพิเศษ เหตุเพราะต้องการข่ม “เจ๊มิ่ง” เชือดคู่แข่งทางการเมืองกันเลยทีเดียว รวมถึงสั่งสอน ส.ส.ในกลุ่มมิ่งขวัญด้วย
หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงให้ต้องเปลี่ยนใจกันเสียก่อน การขึ้นเวทีพร้อมกันของ “เฉลิม-มิ่งขวัญ” ในวันพุธนี้ ทั้งสองจะถูกจับตาอย่างมากจาก ส.ส.เพื่อไทย
ทีเด็ด-ลีลาอภิปรายของ “เหลิมแอนด์เจ๊มิ่ง” จะสมราคาหรือไม่ ต้องรอชม 16 ก.พ.นี้ และ “เหลิม”จะคงความขลังเดี่ยวไมโครโฟนข่ม “เจ๊มิ่ง” ได้หรือไม่? ก็ต้องติดตามกันต่อไป
ด้าน “เหลิม” ออกมาอ้างว่าการจัดงบครั้งนี้ มีความไม่โปร่งใส ส่อทุจริตกระทรวงละ 25-30%! เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่คุมโดย สุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคกิจสังคม ซึ่งมี ส.ส.5 คน ดูแลอยู่ ได้ไป 900 ล้านบาท แบ่งกันคนละ 200 ล้านบาท
แค่นั้นไม่พอ อ้างว่าจะอภิปรายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของพรรคชาติไทยพัฒนา ก็ได้ไป 1,600 ล้านบาท งานนี้ ธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ เด็กปั้น บรรหาร ศิลปอาชา คงต้องเตรียมข้อมูลมาโต้ให้พร้อม
รวมถึงการอ้างว่ากระทรวงศึกษาธิการก็แสบสันติสุขหากินกันทุกกรมกองได้ไปรวม 1,300 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย ส.ส.ของพรรคเจ้ากระทรวงได้ไปเฉลี่ยหัวละ 60 ล้านบาท
เฉลิมสรุปว่ามีการทุจริต 10% ของงบประมาณทั้งหมด คิดเป็น 2 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องดูว่าข้อมูลของเฉลิมและ ส.ส.เพื่อไทย สังคมอยากเห็นว่ามันต้องแน่น อภิปรายแล้วเห็นภาพได้จริง ไม่ใช่แค่คิดเองพูดเอง หรือเอาข่าวหนังสือพิมพ์มาอภิปราย
รอบนี้ ในการอภิปรายเพื่อไทยต้องชี้ให้เห็นถึงการขาดวินัยทางการเงินการคลังของรัฐบาล หรือการท้วงติงการใช้งบไปในทางไม่ถูกต้องคือนำไปเพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมืองและมีการแบ้งเค้กหาผลประโยชน์กันในบรรดาพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อเป็นทุนก่อนการเลือกตั้ง และส่อว่าจะมีการทุจริตกันเกิดขึ้น
แต่หากใช้ลีลาแบบเดิมๆ อภิปรายแต่เรื่องเสื้อเหลือง-เสื้อแดง ปัญหาไทย-กัมพูชา ออกมาไม่ตรงประเด็น ไม่เป็นโล้เป็นพายแบบนี้ รับรองว่า คนโห่ พอถึงศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ แทนที่จะเรียกความสนใจ กลับกลายเป็นว่า คนจะไม่ให้ราคา เลิกติดตาม
ขณะเดียวกัน ถ้าเพื่อไทย อภิปรายดี มีหลักการ แม่นในข้อมูลและความเป็นเหตุเป็นผล อภิปรายแล้ว สังคมเห็นด้วย ว่าการจัดงบกลางปี 54 ส่อไปในทางมิชอบ โดยเฉพาะพวกงบท้องถิ่นและงบช่วยเหลือน้ำท่วม ที่ใช้วิธีซอยงบเป็นโครงการย่อยๆ โดยไม่มีรายละเอียดการใช้งบ เพื่อไม่ให้วงเงินมากเกิน 10 ล้านบาทจะได้หลีกเลี่ยงไม่ถูกจับตามองมาก และเมื่อเอ็กซ์เรย์ไปจะพบว่าส่วนใหญ่ไปกระจุกตัวในพื้นที่ของ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลเกือบทั้งสิ้น
หากอภิปรายหลักฐานดี-ข้อมูลแน่น มันก็จะเป็นหัวเชื้ออย่างดี ให้ประชาชนเกิดความสนใจติดตามไปถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะได้คิดกันว่า ขนาดอภิปรายงบกลางปี 54 ไม่ได้เป็นเรื่องการอภิปรายซักฟอกปมทุจริต ฝ่ายค้านยังไล่ถลุงรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสียตัวงอ
แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสในการทำงานจริง คะแนนรัฐบาลที่มีภาพลักษณ์เรื่องทุจริตคอรัปชั่นสูงท่วมหัว จะยิ่งติดลบหนักขึ้นไปอีก แบบนี้เพื่อไทยก็โกยคะแนนใส่กระเป๋า
แต่ผลจะออกมาอย่างไร ยังยากจะคาดเดา เพราะฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาล ที่พอรู้ข่าวว่ากระทรวงตัวเองจะโดนล่อเป้า ก็คงเตรียมพร้อมมาอย่างดี แบบตั้งรับแล้วรอสวนกลับ เอาให้เพื่อไทยหงายหลัง ถึงศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจจะได้เก็งกันไปทั้งพรรค อภิปรายกันไม่ออก
ขณะเดียวกัน แม้จะมีการพิจารณาเห็นชอบ พ.ร.บ.งบกลางปี 54 แล้ว ก็เชื่อได้ว่า “อภิสิทธิ์” คงพยุงเวลาอีกสักพักในการยุบสภา เพราะเงื่อนไขหลายอย่างยังติดขัด
เช่น หากชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฏรส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยยื่นเรื่องให้ส่งศาล รธน.ตีความกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็จะทำให้กระบวนการประกาศประกาศใช้รัฐธรรมนูญล่าช้าออกไปอีกหลายสัปดาห์ แม้หลายฝ่ายจะประเมินว่าเป็นไปได้ที่ “ประธานชัย”จะไม่ส่งเรื่องให้ศาล รธน.ตีความ แต่ของแบบนี้มันก็ยังไม่แน่
อีกทั้งก็เห็นได้ชัดว่า แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล อย่างบรรหาร ศิลปอาชา จากชาติไทยพัฒนา และชวรัตน์ ชาญวีรกูล จากภูมิใจไทย ก็ไม่เห็นด้วยหากจะยุบสภาตอนนี้ โดยการอ้างว่าสถานการณ์ในประเทศและบริเวณชายแดนไม่สงบ
แต่ลึกๆ แล้วคงเพราะต้องการอยู่ในอำนาจให้นานที่สุดนั่นเอง