xs
xsm
sm
md
lg

สถานการณ์ในอียิปต์ ส่งผลต่อราคาน้ำมันผ่านคลองสุเอซ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


อียิปต์ ผลิตน้ำมันได้ประมาณวันละ 500,000 บาร์เรล ซึ่งไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อียิปต์ จึงไม่มีบทบาทในฐานะผุ้ผลิต/ส่งออกน้ำมัน ของโลก เหมือนชาติอาหรับในอาฟริกาเหนือ หรือตะวันออกกลาง หลายๆประเทศ แต่ อียิปต์ มีความสำคัญต่อตลาดน้ำมันโลก เพราะ เป็นเจ้าของคลองสุเอซ ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันที่สำคัญเส้นทางหนึ่ง

การชุมนุมเพื่อขับไล่ประธานาธิบดี ฮอสนี่ มูบารัก ของชาวอียิปต์ ที่ดำเนินต่อเนื่องกันมา 7 วันแล้ว ทำให้ราคาน้ำมันดิบที่ตลาดลอนดอน พุ่งขึ้นไปทะลุเกิน 100 ดอลอลาร์ต่อบาร์เรลแล็ว ซึ่งเป็นราคาสูงสุดในรอบ 28 เดือน เพราะผู้ค้ามีความวิตกกังวลว่า สถานการณ์ในอียิปต์อาจส่งผลกระทบต่อ การขนส่งน้ำมันผ่านคลองสุเอซ

สุเอซ ซึ่งเป็นที่ตั้งของคลองสุเอซ เป็นหนึ่งใน 3เมืองใหญ่ ที่มีการชุมนุมประท้วงของประชาชน คลองสุเอซ ซึ่งเป็นคลองเชื่อมทะเลแดง กับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าจากจะวันออกไปยังโลกตะวันตก เส้นทางหนึ่ง ในแต่ละปี มีเรือขนส่งวื่งผ่านคลองสุเอซ สามหมื่นกว่าลำ ซึ่งประมาณ 10 % ของเรือแหล่านี้ เป็นเรือบรรทุกน้ำมันดิบ จากอ่าวเปอร์เซีย ไปยังยุโรป และอเมิรกา

เรือบรรทุกน้ำมัน ที่จะแล่นผ่านคลองสุเอซได้ ต้องมีความกว้างไม่เกิน 16 เมตร มากกว่านั้น ผ่านไมได้ เรือขนาดใหญ่ ต้องถ่ายน้ำมันผ่านท่อ SUMED ( Suez-mediterrenean pipeline) ) ซึ่งมีความยาว 200 ไมล์ ที่ฝั่งทะเลแดง ไปลงเรือที่ฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน ท่อส่งน้ำมันดิบ SUMED นี้ เป็นของ บริษัทอาหรับปิโตรเลียม ซึ่งเป็นการถือหุ้นร่วมกันของ อียิปต์ บริษัทน้ำมันของซาอุดิอารระเบีย นครรัฐอาบูดาบี และคูเวต

ในแต่ละวัน ปริมาณน้ำมันดิบที่ขนถ่ายโดยเรือผ่านคลองสุเอซ และผ่านท่อ มีประมาณ 2 ล้านกว่าบาร์เรล ซึ่งไม่มากนัก ประมาณ 5% ของ การขนส่งน้ำมันทางเรือของโลกต่อวัน แต่ก็มากพอที่จะทำให้ตลาดน้ำมันโลก ต้องหวั่นไหว และทำให้ราคาขยับขึ้น เพราะ หากเส้นทางลำเลียงน้ำมันผ่านคลองสุเอซ และผ่านท่อ ต้องถูกปิดลง อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ประท้วง หรือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามมา เรือน้ำมันที่จะไปยังยุโรป จะต้องแล่นอ้อมแหลมกู๊ดโฮบ ตอนใต้สุดของทวีปอาฟริกา ซึ่งมีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 6,000 ไมล์ ทำให้เสียเวลามากขึ้น และต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 1 เท่าตัว

นอกจากนั้น ยังจะมีปัญหาเรือไม่พอ เพราะระยะทางไปกลับ ยืดยาวขึนไปกว่าเดิม

สถานการณ์ในอียิปต์ นอกจากจะมีผลกระทบต่อการเมืองโลกแล้ว ยังอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นด้วย เพราะ ความสำคัญของคลองสุเอซ

คลองสุเอซ ขุดตัดคอคอดจาก เมืองปอร์ดซาอิด ด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยัง เมืองสุเอซ ด้านทะเลแดง มีความยาว 101.04 ไมล์ กว้าง 200 ถึง 300 ฟุต ลึก 25 ถึง 30 ฟุต เริ่มขุดเมื่อ ค.ศ.1859 เสร็จเรียบร้อยเมื่อ ค.ศ. 1869 เสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง 17 ล้านปอนด์ แต่ก็ช่วยย่นระยะทางในการเดินทางจากยุโรปไปเอเชีย เดิมที่เคยไปทางใต้อ้อมแหลมกู๊ดโฮปของแอฟริกาใต้ เป็นระยทางประมาณ 16,000 ไมล์ แต่เดินทางผ่านทางคลองสุเอซเหลือเพียงประมาณ 10,000 ไมล์

คลองนี้ก่อสร้างโดยบริษัทฝรั่งเศส มีนายช่างวิศวกรผู้อำนวยการขุดคลองคือ เฟอร์ดินันด์ เดอ เลสเซปส์ (Ferdinand de Lesseps) ทั้งนี้ฝรั่งเศสถือหุ้นร้อยละ 52 กาดิฟอียิปต์ร้อยละ 44 และรายย่อยอื่นๆ

ต่อมารัฐบาลอังกฤษได้ขอซื้อหุ้นของคาดีฟอียิปต์ทั้งหมดใน ค.ศ.1875 ทำให้อังกฤษได้สร้างอิทธิพลในบริเวณนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงทศวรรษที่ 1800 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อังกฤษได้ถอนตัวออก ทำให้อียิปต์กลับมามีส่วนในผลประโยชน์ของคลองนี้อีก และในที่สุดอังกฤษก็ถอนฐานทัพของตนที่บริเวณคลองออกทั้งหมดใน ค.ศ.1954 ตาม สนธิสัญญา แองโกล-อียิปต์ (Anglo-Egypt : 1954)

ในสมัยของ ประธานาธิบดีกามัล อับเดล นัสเซอร์ (Gamal Abdel Nasser) นั้น อังกฤษกับฝรั่งเศสร่วมกับอิสราเอลเปิดฉาก สงครามอาหรับ-อิสราเอล ครั้งที่สอง อียิปต์ปิดคลองสุเอซโดยจมเรือขวางทางไว้ แต่ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.1956 อียิปต์ก็ถูกโจมตีจากฝ่ายอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิสราเอล

สหประชาชาติต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยยุติสงครามในวันที่ 6 พฤศจิกายน ต่อมาใน ค.ศ.1967 คลองสุเอซก็ถูกปิดอีกครั้งหนึ่งใน สงครามอาหรับ-อิสราเอล ครั้งที่สาม (ค.ศ.1967) และไม่ได้เปิดใช้จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ.1975 ภายหลังจบ สงครามอาหรับ-อิสราเอล ครั้งที่สี่ (ค.ศ.1973)
กำลังโหลดความคิดเห็น