ความจริงเกี่ยวกับคลิปวีดีโอที่มีการเผยแพร่ผ่านยูทูปเพื่อชี้นำสังคมด้วยการตัดต่อเอาเฉพาะส่วนนาทีครึ่งที่เป็นประโยชน์ในการกล่าวหา 7 คนไทยว่ามีเจตนารุกล้ำเข้าพื้นที่กัมพูชา และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รู้เห็นเป็นใจส่ง พนิช เข้าไปรุกพื้นที่กัมพูชานั้น
เป็นกลยุทธ์เล่ห์ร้ายของกัมพูชาที่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตปล่อยภาพและเสียงสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองในการจับกุมและดำเนินคดีกับคนไทย รวมถึงยังนำมาใช้เป็นประเด็นได้เปรียบในการกดหัวรัฐบาลไทยต้องยอมจำนน โดยใช้ชีวิตคนไทยทั้ง 7 เป็นตัวประกัน
เหตุผลที่ฟันธงว่า คลิปดังกล่าวถูกปล่อยโดยเจตนาร้ายของกัมพูชาเป็นเพราะในการเดินทางไปยังกัมพูชาของ กษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ เพื่อพบกับ ฮอร์ นัม ฮง รมว.ต่างประเทศ กัมพูชา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมานั้น ฮอร์ นัม ฮง ได้มอบวีดีโอเทปความยาวกว่า 20 นาที ที่ยึดจากคณะของ พนิช ซึ่งมีการบันทึกภาพการเข้าไปในหมู่บ้านที่มีชาวกัมพูชาอาศัยอยู่ และเป็นจุดที่ วีระ สมความคิด อธิบายกับคนในคณะว่าคือพื้นที่เดิมที่คนไทยเคยทำมาหากิน แต่ในปัจจุบันไม่สามารถเข้าทำกินในพื้นที่ของตัวเองได้ เนื่องจากถูกกัมพูชายึดครอง
ภาพที่ปรากฏสะท้อนข้อเท็จจริงที่ไม่ได้เป็นผลดีต่อ พนิช ประการหนึ่งคือ การสื่อสารครั้งแรกผ่านสื่อมวลชนของ พนิช ไม่ตรงกับความจริง เพราะ พนิช ระบุว่า ถูกจับกุมก่อนที่จะเดินทางเข้าไปยังหมู่บ้านซึ่งเป็นปัญหา แต่ในวีดีโอเทปจะเห็นภาพชัดเจนว่าคณะทั้ง 7 ได้เข้าไปถึงหมู่บ้านก่อนที่จะถูกจับกุม ส่วนจะมีเหตุผลประการใดที่ทำให้การสื่อสารออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริงก็เป็นเรื่องที่ พนิช จะต้องอธิบายกับสังคมหลังจากกลับคืนสู่มาตุภูมิ
สิ่งที่ต้องพิสูจน์ต่อคือจุดที่คนไทยทั้ง 7 ถูกจับกุมเป็นพื้นที่นอกเขตพิพาทแต่อยู่ในฝั่งกัมพูชาตามที่ทางกัมพูชากล่าวอ้างหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องหาความจริง แต่ที่ชัดเจนคือทั้ง 7 คนไม่มีเจตนาเข้าไปฝั่งกัมพูชาแต่อยู่บนพื้นฐานความคิดว่า พื้นที่ที่เข้าไปนั้นคือแผ่นดินไทย
ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ วีดีโอเทปความยาวกว่า 20 นาทีที่ ฮอร์ นัม ฮง มอบให้กับ รมว.ต่างประเทศของไทยนั้น กลับไม่ปรากฏคลิปภาพและเสียงของพนิชระหว่างการคุยโทรศัพท์ติดต่อเลขานุการส่วนตัวเพื่อให้ติดต่อไปยังเลขาฯนายกรัฐมนตรี โดยใช้คำพูดหลวม ๆ ว่าได้เข้าไปยังพื้นที่ฝั่งกัมพูชาแล้ว และมีแต่นายกรัฐมนตรีเท่านั้นที่ทราบเรื่องนี้ ซึ่งถูกนำไปขึ้นยูทูปความยาวราวนาทีครึ่ง เคราะห์ดีที่ยังมีคลิปความยาวเกือบห้านาทีบันทึกภาพต่อเนื่องจากที่ถูกตัดต่อเหลือนาทีครึ่ง
แสดงให้เห็นว่า คนไทยทั้งหมดเดินทางไปหาหลักหมุดที่ 46 และเชื่อว่าตัวเองอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ซึ่งส่วนนี้ถูกตัดทอนออกไปจากคลิปแรก
คลิปที่ไม่มีในหลักฐานที่ฮอร์ นัม ฮงมอบให้ รมว.ต่างประเทศของไทยแต่กลับไปอยู่บนยูทูปจะมองเป็นอย่างอื่นคงไม่ได้ นอกจากกัมพูชาจงใจปิดบังข้อมูลต่อทางการไทย เพราะมีแต่ทหารกัมพูชาที่ยึดวีดีโอเทปจากคณะบุคคลทั้ง 7 การนำมาเผยแพร่ย่อมเป็นเรื่องที่รัฐบาลกัมพูชาบรรจงปล่อยข้อมูลที่คิดว่าเป็นประโยชน์กับตัวเองมาแบล็คเมล์รัฐบาลไทย เพื่อสร้างแต้มต่อทางการเมืองระหว่างประเทศ ประกอบกับจับสัญญาณความเคลื่อนไหวภายในประเทศไทยได้ จึงใช้คลิปดังกล่าวสร้างความสับสนและทำให้คนไทยต้องมาโต้เถียงกันเองโดยมีเขมรนั่งหัวร่อ
ขณะเดียวกันก็ดึงเอาทางการไทยลงมาเป็นคู่ขัดแย้ง เพื่อสะท้อนภาพว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหาเขตแดนและหวังใช้เรื่องนี้เป็นความได้เปรียบในการเจรจากดดันรัฐบาลไทยเพื่อต่อรองในสิ่งที่ตัวเองต้องการ โดยใช้ชีวิตของคนไทยทั้ง 7 เป็นเครื่องมือ
สังคมไทยจึงควรตั้งสติและพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบบนพื้นฐานของความเป็นพลเมืองไทย โดยเป้าหมายหลักคือ ทำอย่างไรที่จะช่วยให้คนไทยทั้งหมดได้กลับคืนสู่แผ่นดินแม่โดยปลอดภัยและรวดเร็วที่สุด แต่ขณะเดียวกันการได้ตัวคนไทยทั้ง 7 กลับมาต้องควบคู่ไปกับการรักษาสิทธิ อธิปไตยของชาติ โดยไม่ให้กัมพูชานำประเด็นอื่นมาต่อรองจนไทยเสียเปรียบในการเจรจา
ต้องจับตา การไต่สวนของศาลกัมพูชาในวันนี้ (6 ม.ค. 53) มีความเป็นไปได้ในสี่แนวทางคือ ศาลกัมพูชาอาจตัดสินไม่จำคุกบุคคลทั้ง 7 และส่งตัวกลับประเทศไทย เพราะเห็นว่าไม่มีเจตนาในการรุกล้ำพื้นที่ของกัมพูชา ซึ่งโอกาสน่าจะเท่ากับศูนย์ อีกแนวทางหนึ่งคือ ปล่อยตัว 6 คน แต่คุมขัง วีระ สมความคิด ไว้ เนื่องจากทำความผิดเป็นครั้งที่ 3 ส่วนอีก 6 คน ถือว่าเป็นการทำผิดครั้งแรกจึงใช้วิธีการส่งตัวกลับประเทศไทยแทนการจำคุก ซึ่งโอกาสก็เป็นไปได้น้อยมากเช่นเดียวกัน
แนวทางที่สามคือ ศาลกัมพูชาลงโทษจำคุกเต็มเพดานความผิดตามกฎหมายของกัมพูชา จากนั้นรัฐบาลไทยก็เดินหน้าประสานงานเพื่อให้มีการอภัยโทษนำตัวคนไทยทั้งหมดกลับประเทศไทย
แนวทางที่สี่คือ ศาลกัมพูชาอาจจะยังไม่มีการตัดสินแต่ยื้อคดีออกไปเพื่อใช้ชีวิตคนไทยทั้ง 7 เป็นเครื่องมือต่อรองรัฐบาลไทยในประเด็นอื่น
ทั้งสี่แนวทางที่กล่าวข้างต้น เชื่อว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้มากที่สุดคือ แนวทางที่สาม ศาลกัมพูชาลงโทษจำคุกเต็มเพดานความผิดตามกฎหมายของกัมพูชา แล้วรัฐบาลกัมพูชาก็อ้างว่าใช้อำนาจฝ่ายบริหารเข้าไปช่วยเพื่อให้มีการอภัยโทษคนไทยทั้ง 7 และใช้ประเด็นนี้มาอ้างเป็นหนี้บุญคุณที่รัฐบาลไทยต้องสำนึก
หากผลการตัดสินของศาลกัมพูชาออกมาตามที่คาดการณ์ไว้ ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยควรจะต้องทบทวนบทบาทระหว่างรัฐต่อรัฐว่าจำเป็นต้องกำหนดมาตรการตอบโต้เกี่ยวกับความผิดชนิดเดียวกันกับคนกัมพูชาที่รุกเข้ามาในพื้นที่ไทยอย่างไรให้มีความเหมาะสมกับท่าทีของรัฐบาลกัมพูชาที่ไม่ยึดตามแนวที่ผู้นำสองประเทศได้พูดคุยกันไว้ว่าปัญหาที่คนสองประเทศอาจข้ามเขตแดนซึ่งกันและกันจะใช้วิธีการประสานส่งตัวกล ับแทนการดำเนินคดีในชั้นศาล
เป็นโจทย์สำคัญที่ฝ่ายความมั่นคงและผู้รับผิดชอบงานด้านต่างประเทศ รวมทั้งนายกรัฐมนตรี ควรจะได้กำหนดท่าทีที่เป็นเอกภาพเพื่อดำเนินการรักษาศักดิ์ศรีและอธิปไตยของชาติ ไม่ใช่ปล่อยให้กัมพูชามาย่ำยีซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เป็นกลยุทธ์เล่ห์ร้ายของกัมพูชาที่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตปล่อยภาพและเสียงสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองในการจับกุมและดำเนินคดีกับคนไทย รวมถึงยังนำมาใช้เป็นประเด็นได้เปรียบในการกดหัวรัฐบาลไทยต้องยอมจำนน โดยใช้ชีวิตคนไทยทั้ง 7 เป็นตัวประกัน
เหตุผลที่ฟันธงว่า คลิปดังกล่าวถูกปล่อยโดยเจตนาร้ายของกัมพูชาเป็นเพราะในการเดินทางไปยังกัมพูชาของ กษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ เพื่อพบกับ ฮอร์ นัม ฮง รมว.ต่างประเทศ กัมพูชา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมานั้น ฮอร์ นัม ฮง ได้มอบวีดีโอเทปความยาวกว่า 20 นาที ที่ยึดจากคณะของ พนิช ซึ่งมีการบันทึกภาพการเข้าไปในหมู่บ้านที่มีชาวกัมพูชาอาศัยอยู่ และเป็นจุดที่ วีระ สมความคิด อธิบายกับคนในคณะว่าคือพื้นที่เดิมที่คนไทยเคยทำมาหากิน แต่ในปัจจุบันไม่สามารถเข้าทำกินในพื้นที่ของตัวเองได้ เนื่องจากถูกกัมพูชายึดครอง
ภาพที่ปรากฏสะท้อนข้อเท็จจริงที่ไม่ได้เป็นผลดีต่อ พนิช ประการหนึ่งคือ การสื่อสารครั้งแรกผ่านสื่อมวลชนของ พนิช ไม่ตรงกับความจริง เพราะ พนิช ระบุว่า ถูกจับกุมก่อนที่จะเดินทางเข้าไปยังหมู่บ้านซึ่งเป็นปัญหา แต่ในวีดีโอเทปจะเห็นภาพชัดเจนว่าคณะทั้ง 7 ได้เข้าไปถึงหมู่บ้านก่อนที่จะถูกจับกุม ส่วนจะมีเหตุผลประการใดที่ทำให้การสื่อสารออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริงก็เป็นเรื่องที่ พนิช จะต้องอธิบายกับสังคมหลังจากกลับคืนสู่มาตุภูมิ
สิ่งที่ต้องพิสูจน์ต่อคือจุดที่คนไทยทั้ง 7 ถูกจับกุมเป็นพื้นที่นอกเขตพิพาทแต่อยู่ในฝั่งกัมพูชาตามที่ทางกัมพูชากล่าวอ้างหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องหาความจริง แต่ที่ชัดเจนคือทั้ง 7 คนไม่มีเจตนาเข้าไปฝั่งกัมพูชาแต่อยู่บนพื้นฐานความคิดว่า พื้นที่ที่เข้าไปนั้นคือแผ่นดินไทย
ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ วีดีโอเทปความยาวกว่า 20 นาทีที่ ฮอร์ นัม ฮง มอบให้กับ รมว.ต่างประเทศของไทยนั้น กลับไม่ปรากฏคลิปภาพและเสียงของพนิชระหว่างการคุยโทรศัพท์ติดต่อเลขานุการส่วนตัวเพื่อให้ติดต่อไปยังเลขาฯนายกรัฐมนตรี โดยใช้คำพูดหลวม ๆ ว่าได้เข้าไปยังพื้นที่ฝั่งกัมพูชาแล้ว และมีแต่นายกรัฐมนตรีเท่านั้นที่ทราบเรื่องนี้ ซึ่งถูกนำไปขึ้นยูทูปความยาวราวนาทีครึ่ง เคราะห์ดีที่ยังมีคลิปความยาวเกือบห้านาทีบันทึกภาพต่อเนื่องจากที่ถูกตัดต่อเหลือนาทีครึ่ง
แสดงให้เห็นว่า คนไทยทั้งหมดเดินทางไปหาหลักหมุดที่ 46 และเชื่อว่าตัวเองอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ซึ่งส่วนนี้ถูกตัดทอนออกไปจากคลิปแรก
คลิปที่ไม่มีในหลักฐานที่ฮอร์ นัม ฮงมอบให้ รมว.ต่างประเทศของไทยแต่กลับไปอยู่บนยูทูปจะมองเป็นอย่างอื่นคงไม่ได้ นอกจากกัมพูชาจงใจปิดบังข้อมูลต่อทางการไทย เพราะมีแต่ทหารกัมพูชาที่ยึดวีดีโอเทปจากคณะบุคคลทั้ง 7 การนำมาเผยแพร่ย่อมเป็นเรื่องที่รัฐบาลกัมพูชาบรรจงปล่อยข้อมูลที่คิดว่าเป็นประโยชน์กับตัวเองมาแบล็คเมล์รัฐบาลไทย เพื่อสร้างแต้มต่อทางการเมืองระหว่างประเทศ ประกอบกับจับสัญญาณความเคลื่อนไหวภายในประเทศไทยได้ จึงใช้คลิปดังกล่าวสร้างความสับสนและทำให้คนไทยต้องมาโต้เถียงกันเองโดยมีเขมรนั่งหัวร่อ
ขณะเดียวกันก็ดึงเอาทางการไทยลงมาเป็นคู่ขัดแย้ง เพื่อสะท้อนภาพว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหาเขตแดนและหวังใช้เรื่องนี้เป็นความได้เปรียบในการเจรจากดดันรัฐบาลไทยเพื่อต่อรองในสิ่งที่ตัวเองต้องการ โดยใช้ชีวิตของคนไทยทั้ง 7 เป็นเครื่องมือ
สังคมไทยจึงควรตั้งสติและพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบบนพื้นฐานของความเป็นพลเมืองไทย โดยเป้าหมายหลักคือ ทำอย่างไรที่จะช่วยให้คนไทยทั้งหมดได้กลับคืนสู่แผ่นดินแม่โดยปลอดภัยและรวดเร็วที่สุด แต่ขณะเดียวกันการได้ตัวคนไทยทั้ง 7 กลับมาต้องควบคู่ไปกับการรักษาสิทธิ อธิปไตยของชาติ โดยไม่ให้กัมพูชานำประเด็นอื่นมาต่อรองจนไทยเสียเปรียบในการเจรจา
ต้องจับตา การไต่สวนของศาลกัมพูชาในวันนี้ (6 ม.ค. 53) มีความเป็นไปได้ในสี่แนวทางคือ ศาลกัมพูชาอาจตัดสินไม่จำคุกบุคคลทั้ง 7 และส่งตัวกลับประเทศไทย เพราะเห็นว่าไม่มีเจตนาในการรุกล้ำพื้นที่ของกัมพูชา ซึ่งโอกาสน่าจะเท่ากับศูนย์ อีกแนวทางหนึ่งคือ ปล่อยตัว 6 คน แต่คุมขัง วีระ สมความคิด ไว้ เนื่องจากทำความผิดเป็นครั้งที่ 3 ส่วนอีก 6 คน ถือว่าเป็นการทำผิดครั้งแรกจึงใช้วิธีการส่งตัวกลับประเทศไทยแทนการจำคุก ซึ่งโอกาสก็เป็นไปได้น้อยมากเช่นเดียวกัน
แนวทางที่สามคือ ศาลกัมพูชาลงโทษจำคุกเต็มเพดานความผิดตามกฎหมายของกัมพูชา จากนั้นรัฐบาลไทยก็เดินหน้าประสานงานเพื่อให้มีการอภัยโทษนำตัวคนไทยทั้งหมดกลับประเทศไทย
แนวทางที่สี่คือ ศาลกัมพูชาอาจจะยังไม่มีการตัดสินแต่ยื้อคดีออกไปเพื่อใช้ชีวิตคนไทยทั้ง 7 เป็นเครื่องมือต่อรองรัฐบาลไทยในประเด็นอื่น
ทั้งสี่แนวทางที่กล่าวข้างต้น เชื่อว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้มากที่สุดคือ แนวทางที่สาม ศาลกัมพูชาลงโทษจำคุกเต็มเพดานความผิดตามกฎหมายของกัมพูชา แล้วรัฐบาลกัมพูชาก็อ้างว่าใช้อำนาจฝ่ายบริหารเข้าไปช่วยเพื่อให้มีการอภัยโทษคนไทยทั้ง 7 และใช้ประเด็นนี้มาอ้างเป็นหนี้บุญคุณที่รัฐบาลไทยต้องสำนึก
หากผลการตัดสินของศาลกัมพูชาออกมาตามที่คาดการณ์ไว้ ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยควรจะต้องทบทวนบทบาทระหว่างรัฐต่อรัฐว่าจำเป็นต้องกำหนดมาตรการตอบโต้เกี่ยวกับความผิดชนิดเดียวกันกับคนกัมพูชาที่รุกเข้ามาในพื้นที่ไทยอย่างไรให้มีความเหมาะสมกับท่าทีของรัฐบาลกัมพูชาที่ไม่ยึดตามแนวที่ผู้นำสองประเทศได้พูดคุยกันไว้ว่าปัญหาที่คนสองประเทศอาจข้ามเขตแดนซึ่งกันและกันจะใช้วิธีการประสานส่งตัวกล ับแทนการดำเนินคดีในชั้นศาล
เป็นโจทย์สำคัญที่ฝ่ายความมั่นคงและผู้รับผิดชอบงานด้านต่างประเทศ รวมทั้งนายกรัฐมนตรี ควรจะได้กำหนดท่าทีที่เป็นเอกภาพเพื่อดำเนินการรักษาศักดิ์ศรีและอธิปไตยของชาติ ไม่ใช่ปล่อยให้กัมพูชามาย่ำยีซ้ำแล้วซ้ำเล่า