"พิชาย" แฉ "ทักษิณ" วางเป้าหมายสูงสุด หวังก่อรัฐไทยใหม่ ปลุกไข่แม้วชุมนุมยืดเยื้อ หวังใช้ความรุนแรง บีบเบื้องสูงเจรจา เลือก "พฤษภาทมิฬ" เป็นโมเดล ด้าน "สนธิญาณ" อ่านเกมแก๊งแดง 12-14 มี.ค. ชุมนุมคว้าน้ำเหลว ติง รบ.ใช้สื่อในมือแจง ปชช. อย่ามัวรักษามาดใจดีกับม็อบ ระวังคนกรุงฯเดือด
คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ "คนในข่าว"
วันนี้ (23 มี.ค.) รายการ “คนในข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน เวลา 20.30-22.00 น. มี นายเติมศักดิ์ จารุปราณ เป็นผู้ดำเนินรายการ ได้มีการเชิญ นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม นักสื่อสารมวลชน และผศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากคณะพัฒนาสังคมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มาร่วมพูดคุยในรายการถึงประเด็นข่าวเด่นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกรณี ยุทธวิธีการสู้รบคนเสื้อแดง ที่หัวใจหลักอยู่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษชายหลบหนีคดีอาญา
นายพิชาย กล่าวถึงเป้าหมายการต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดงว่า มี 3 เป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง คือ ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยระยะสั้น คือการกดดันรัฐบาลให้ยุบสภา ระยะกลาง คือเดินหน้ากม.นิรโทษกรรม และระยะยาว คือการเปลี่ยนเป็นรัฐไทยใหม่ ดังนั้น ถ้าเราดูยุทธวิถี ตอนแรกมีการกดดันโดยใช้ปริมาณเป็นหลัก บอกจะระดมคน 1 ล้านคน แต่วันจริงมาไม่ถึง จึงพลาดเป้า จึงไม่มีพลังเพียงพอที่จะกดดันรัฐบาล อีกอันหนึ่ง เสื้อแดงพยายามใช้สันติวิธีกดดัน โดยถ้าเราดูประวัติศาสตร์การชุมนุม แนวทางสันติวิธี ไม่สามารถกดดันรบ.ในขนานใหญ่ได้ โดยมันจะมีพลังพอต่อเมื่อต้องใช้มากกว่านี้ เช่นการอดข้าว ซึ่งอาจจะใช้คนมีชื่อเสียงหน่อยทำ แต่คนทำแบบนี้ต้องมีอุดมการณ์จริงๆ หากคนที่มาด้วยอามิสสินจ้างคงไม่มีใครทำ
"ตอนนี้เป็นการชุมนุมที่ยือเยื้อ ซึ่งการเปลี่ยนแนวทาง ใช้ ส.ส.จัดตั้งคนให้มาอยู่ในการชุมนุม และอีกด้านหนึ่งก็ดึงคนมีชื่อเสียง มีการศึกษาให้มาขึ้นเวทีคนเสื้อแดง ก็จะทำให้เป็นการชุมนุมพลวัตตลอดเวลา เพื่อดึงใจคนกรุงเทพฯ ให้เข้ามาร่วมมากขึ้น แต่ถ้าวิธีนี้ไม่ประสบความสำเร็จอีก เป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุรุนแรง เพื่อยั่วยุรัฐบาล ทำให้สถานการณ์คุกรุ่น โดยหวังจะให้รัฐบาลคุมสถานการณ์ไม่ได้ แล้วเกิดการยุบสภาในที่สุด หรือถ้าไม่เช่นนั้นก็อาจจะมีการเลือกใช้พฤษภาทมิฬโมเดลแล้วค่อยยุบสภา"นายพิชาย กล่าว
นายสนธิญาณ กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงว่า มีการทับซ้อนกันอยู่ 2 องค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ ภาพของแนวร่วมแดงทั้งแผ่นดิน ที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 ก่อรูปกันเป็น นปก. (ปัจจุบัน นปช.) ซึ่งถ้าเราดูการเคลื่อนไหวของผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ จุดที่พัฒนาต่อเนื่อง ส่วนอีกกลุ่มที่ซ้อนกันอยู่ คือ เครือข่ายเครือญาติ หรือ ส.ส.ในพรรคเพื่อไทย โดยตนไม่ได้เป็นห่วงในสถานการณ์ม็อบคนเสื้อแดง หากรัฐบาลมีวิธีตั้งรับและแนวทางจัดการที่ดี โดยสิ่งที่ในการชุมนุมต้องทำตลอดเวลา คือ การหลอมรวมความรู้สึกของผู้ชุมนุมด้วยการยกระดับมากขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ที่นี่ ไม่ได้มีการยกระดับสติปัญญาผู้ชุมนุมไปด้วย จึงทำให้มีแรงเหวี่ยงบางเรื่องที่ไม่เข้ากัน ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12-14 มี.ค.ที่ผ่านมาล้วนแล้วมาจากมวลชนทื่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จัดตั้งขึ้น และหลังจากนั้น ก็ไม่สามารถรักษาผู้คนไว้ได้ จึงเกิดการลดน้อยถอยลงเรื่อยๆ ฉะนั้น ต้องปรับยุทธวิธีกันใหม่ แต่ถึงอย่างไรเคลื่อนไหวของมวลชนคนเสื้อแดงเช่นนี้ ไม่มีทางชนะ
นายพิชาย กล่าวถึงลักษณะการต่อสู้ของคนเสื้อแดงว่า ตอนนี้ถ้าจะให้สังเกต เนื้อหาบนเวทีปราศรัย ส่วนใหญ่จะมุ่งโจมตีสถาบันองคมนตรีมากกว่ารัฐบาล ดังนั้น จะเห็นได้ถึงน้ำหนักของเป้าหมายว่ามุ่งไปในทิศทางใด ในส่วนการเจรจาของทั้งสองฝ่าย มันเป็นไปไม่ได้ เพราะการเจรจาปกติ ต้องไม่มีการตั้งเงื่อนไข ตนคิดว่าการเจรจาที่พยายามพูดกัน คงแค่อยากให้ดูว่ามีการหาทางออก แต่จริงแล้วเกมนี้มีแค่แพ้หรือชนะ
"มันมีความเป็นไปได้หลายอย่าง ผมคิดว่าสถานการณ์มันอ่อนไหวมากพอสมควร ยิ่งตอนนี้คนกรุงเทพฯ เริ่มกดดันรัฐบาลแล้ว นายกฯ ก็จะเจอแรงกดดันสองด้าน ดังนั้น ถ้ารัฐบาลไม่ทำ ก็อาจมีคนกรุงเทพฯ ออกมาต่อต้านม็อบคนเสื้อแดงเอง ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าห่วงอีก ตอนนี้ผมคิดว่ามีความรุนแรงพุ่งเป้าไปที่ฝ่ายรัฐ ไม่มีการทำความรุนแรงกับฝ่ายคนเสื้อแดงเลย โดยถ้ารัฐบาลจัดการปัญหานี้ไม่ได้ ก็จะกลายเป็นว่ารัฐบาลสร้างสถานการณ์เอง เพื่อออกฏหมายความมั่นคง" นายพิชาย กล่าว
นายสนธิญาณ กล่าวแนะรัฐบาลถึงวิธีต่อสู้กับคนเสื้อแดงว่า ตอนนี้มีการทำสงครามข่าวสาร ซึ่งรัฐบาลเป็นฝ่ายตั้งรับ เนื่องจากอีกฝ่ายพยายามพูดเรื่องสองมาตรฐาน บอกว่าพ.ต.ท.ทักษิณ โดยกลั่นแกล้ง มีการพูดซ้ำซาก ในแง่จิตวิทยาถ้าได้ฟังทุกวันก็จะกลายเป็นความเคยชิน ดังนั้น จึงเป็นที่มาของคำถามว่าทำไมถึงต้องสู้กันอย่างแตกหัก
นายพิชาย กล่าวปิดท้ายว่า ปัญหาหลักวันนี้อยู่ที่ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ นอกนั้นเป็นปัญหารองที่ประกอบเรื่อง ดังนั้น รัฐบาลต้องทำให้ประชาชนเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีลักษณะที่เป็นภัยต่อประเทศ เพื่อไม่ให้มวลชนถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือ ดังนั้น เรื่องการสื่อสารนับว่าสำคัญ รัฐบาลต้องทำอย่างเร่งด่วน
คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ "คนในข่าว"
วันนี้ (23 มี.ค.) รายการ “คนในข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน เวลา 20.30-22.00 น. มี นายเติมศักดิ์ จารุปราณ เป็นผู้ดำเนินรายการ ได้มีการเชิญ นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม นักสื่อสารมวลชน และผศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากคณะพัฒนาสังคมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มาร่วมพูดคุยในรายการถึงประเด็นข่าวเด่นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกรณี ยุทธวิธีการสู้รบคนเสื้อแดง ที่หัวใจหลักอยู่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษชายหลบหนีคดีอาญา
นายพิชาย กล่าวถึงเป้าหมายการต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดงว่า มี 3 เป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง คือ ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยระยะสั้น คือการกดดันรัฐบาลให้ยุบสภา ระยะกลาง คือเดินหน้ากม.นิรโทษกรรม และระยะยาว คือการเปลี่ยนเป็นรัฐไทยใหม่ ดังนั้น ถ้าเราดูยุทธวิถี ตอนแรกมีการกดดันโดยใช้ปริมาณเป็นหลัก บอกจะระดมคน 1 ล้านคน แต่วันจริงมาไม่ถึง จึงพลาดเป้า จึงไม่มีพลังเพียงพอที่จะกดดันรัฐบาล อีกอันหนึ่ง เสื้อแดงพยายามใช้สันติวิธีกดดัน โดยถ้าเราดูประวัติศาสตร์การชุมนุม แนวทางสันติวิธี ไม่สามารถกดดันรบ.ในขนานใหญ่ได้ โดยมันจะมีพลังพอต่อเมื่อต้องใช้มากกว่านี้ เช่นการอดข้าว ซึ่งอาจจะใช้คนมีชื่อเสียงหน่อยทำ แต่คนทำแบบนี้ต้องมีอุดมการณ์จริงๆ หากคนที่มาด้วยอามิสสินจ้างคงไม่มีใครทำ
"ตอนนี้เป็นการชุมนุมที่ยือเยื้อ ซึ่งการเปลี่ยนแนวทาง ใช้ ส.ส.จัดตั้งคนให้มาอยู่ในการชุมนุม และอีกด้านหนึ่งก็ดึงคนมีชื่อเสียง มีการศึกษาให้มาขึ้นเวทีคนเสื้อแดง ก็จะทำให้เป็นการชุมนุมพลวัตตลอดเวลา เพื่อดึงใจคนกรุงเทพฯ ให้เข้ามาร่วมมากขึ้น แต่ถ้าวิธีนี้ไม่ประสบความสำเร็จอีก เป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุรุนแรง เพื่อยั่วยุรัฐบาล ทำให้สถานการณ์คุกรุ่น โดยหวังจะให้รัฐบาลคุมสถานการณ์ไม่ได้ แล้วเกิดการยุบสภาในที่สุด หรือถ้าไม่เช่นนั้นก็อาจจะมีการเลือกใช้พฤษภาทมิฬโมเดลแล้วค่อยยุบสภา"นายพิชาย กล่าว
นายสนธิญาณ กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงว่า มีการทับซ้อนกันอยู่ 2 องค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ ภาพของแนวร่วมแดงทั้งแผ่นดิน ที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 ก่อรูปกันเป็น นปก. (ปัจจุบัน นปช.) ซึ่งถ้าเราดูการเคลื่อนไหวของผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ จุดที่พัฒนาต่อเนื่อง ส่วนอีกกลุ่มที่ซ้อนกันอยู่ คือ เครือข่ายเครือญาติ หรือ ส.ส.ในพรรคเพื่อไทย โดยตนไม่ได้เป็นห่วงในสถานการณ์ม็อบคนเสื้อแดง หากรัฐบาลมีวิธีตั้งรับและแนวทางจัดการที่ดี โดยสิ่งที่ในการชุมนุมต้องทำตลอดเวลา คือ การหลอมรวมความรู้สึกของผู้ชุมนุมด้วยการยกระดับมากขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ที่นี่ ไม่ได้มีการยกระดับสติปัญญาผู้ชุมนุมไปด้วย จึงทำให้มีแรงเหวี่ยงบางเรื่องที่ไม่เข้ากัน ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12-14 มี.ค.ที่ผ่านมาล้วนแล้วมาจากมวลชนทื่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จัดตั้งขึ้น และหลังจากนั้น ก็ไม่สามารถรักษาผู้คนไว้ได้ จึงเกิดการลดน้อยถอยลงเรื่อยๆ ฉะนั้น ต้องปรับยุทธวิธีกันใหม่ แต่ถึงอย่างไรเคลื่อนไหวของมวลชนคนเสื้อแดงเช่นนี้ ไม่มีทางชนะ
นายพิชาย กล่าวถึงลักษณะการต่อสู้ของคนเสื้อแดงว่า ตอนนี้ถ้าจะให้สังเกต เนื้อหาบนเวทีปราศรัย ส่วนใหญ่จะมุ่งโจมตีสถาบันองคมนตรีมากกว่ารัฐบาล ดังนั้น จะเห็นได้ถึงน้ำหนักของเป้าหมายว่ามุ่งไปในทิศทางใด ในส่วนการเจรจาของทั้งสองฝ่าย มันเป็นไปไม่ได้ เพราะการเจรจาปกติ ต้องไม่มีการตั้งเงื่อนไข ตนคิดว่าการเจรจาที่พยายามพูดกัน คงแค่อยากให้ดูว่ามีการหาทางออก แต่จริงแล้วเกมนี้มีแค่แพ้หรือชนะ
"มันมีความเป็นไปได้หลายอย่าง ผมคิดว่าสถานการณ์มันอ่อนไหวมากพอสมควร ยิ่งตอนนี้คนกรุงเทพฯ เริ่มกดดันรัฐบาลแล้ว นายกฯ ก็จะเจอแรงกดดันสองด้าน ดังนั้น ถ้ารัฐบาลไม่ทำ ก็อาจมีคนกรุงเทพฯ ออกมาต่อต้านม็อบคนเสื้อแดงเอง ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าห่วงอีก ตอนนี้ผมคิดว่ามีความรุนแรงพุ่งเป้าไปที่ฝ่ายรัฐ ไม่มีการทำความรุนแรงกับฝ่ายคนเสื้อแดงเลย โดยถ้ารัฐบาลจัดการปัญหานี้ไม่ได้ ก็จะกลายเป็นว่ารัฐบาลสร้างสถานการณ์เอง เพื่อออกฏหมายความมั่นคง" นายพิชาย กล่าว
นายสนธิญาณ กล่าวแนะรัฐบาลถึงวิธีต่อสู้กับคนเสื้อแดงว่า ตอนนี้มีการทำสงครามข่าวสาร ซึ่งรัฐบาลเป็นฝ่ายตั้งรับ เนื่องจากอีกฝ่ายพยายามพูดเรื่องสองมาตรฐาน บอกว่าพ.ต.ท.ทักษิณ โดยกลั่นแกล้ง มีการพูดซ้ำซาก ในแง่จิตวิทยาถ้าได้ฟังทุกวันก็จะกลายเป็นความเคยชิน ดังนั้น จึงเป็นที่มาของคำถามว่าทำไมถึงต้องสู้กันอย่างแตกหัก
นายพิชาย กล่าวปิดท้ายว่า ปัญหาหลักวันนี้อยู่ที่ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ นอกนั้นเป็นปัญหารองที่ประกอบเรื่อง ดังนั้น รัฐบาลต้องทำให้ประชาชนเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีลักษณะที่เป็นภัยต่อประเทศ เพื่อไม่ให้มวลชนถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือ ดังนั้น เรื่องการสื่อสารนับว่าสำคัญ รัฐบาลต้องทำอย่างเร่งด่วน