นักวิชาการอิสระ ฟ้องศาล ปค.สั่งเพิกถอนคำสั่งทดลองวัคซีนไข้หวัด 2009 ระบุวัคซีนที่นำเข้าจากรัสเซีย เหตุ “ฮู” ยังไม่รับรอง ส่วนการทดลองในอาสาสมัครไม่มี กม.รองรับ ทำให้ไม่ชอบ พร้อมขอศาลกำหนดมาตรการก่อนมีคำพิพากษาสั่งระงับการทดลองก่อน ขณะเดียวกัน เดินสายร้อง กสม.ช่วยตรวจสอบการทดลองละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
วันนี้ (10 มี.ค.) นายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ ได้ยื่นฟ้อง รมว.สาธารณสุข คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมุนุษย์ คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม องค์กรเภสัชกรรม และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อขอให้ศาลฯมีคำสั่งยกเลิกเพิกถอน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1182/2550 และที่ 2012/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ดำเนินการโดยสถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ และในระหว่างการพิจารณาคดีขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาโดยสั่งระงับคำสั่งดังกล่าว
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุว่า ผู้ถูกฟ้องทั้งหมดได้ร่วมกันทดลองวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ 2009 ชนิดพ่นจมูก ภายใต้การกำกับนโยบายตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 1182/2550 และที่ 2012/2552 ของ รมว.สาธารณสุข โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากประเทศรัสเซียขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งผลการทดลองไม่โปร่งใส มีการปิดบังข้อมูล ไม่อาจตรวจสอบได้ โดยที่คณะอนุกรรมการผลิตวัคซีนของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติมิได้รับทราบหรือเห็นชอบให้ดำเนินการ แต่กลับทดลองวัคซีนชนิดพ่นจมูกระยะแรกให้กับอาสาสมัครจำนวน 24 คน โดยไม่มีกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.การวิจัยในมนุษย์รองรับแต่อย่างใด จึงถือว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และขณะที่สังคมมีความกังวลกับผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนดังกล่าว ตามแผนผลิตวัคซีนชนิดเชื้อเป็นพ่นจมูก novel H1N1 LAIV (cold adapted, temperature/sensitive strain) สายพันธ์ A/17/California/2009/38 จากรัสเซีย ซึ่งองค์การอนามัยโลกยังไม่ได้ให้การรับรองในมาตรฐานสากล ปรากฏว่า กลับมีก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยใช้งบประมาณ 1,200 ล้านบาท โดย รมว.สาธารณสุข ได้เชิญนายกรัฐมนตรีไปทำพิธีเปิด การกระทำของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม องค์กรเภสัชกรรม และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 32, 35 และขัดต่อจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เนื่องจากผู้ถูกฟ้องดังกล่าวมีผลประโยชน์ทับซ้อนในฐานะผู้จัดให้มีการวิจัย ผู้สนับสนุนการวิจัย ผู้จัย และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่วิจัย ผลวิจัยก็ย่อมไม่เป็นกลางหรือสากล เมื่อนำไปทดลองกับอาสาสมัคร หรือมนุษย์อาจเกิดอันตราย ที่ทำให้เกิดความเดือดร้อน หรืออาจจะเดือดร้อนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งการทดลองวัคซีนโดยมิได้มีมาตรการรับรองความปลอดภัยในการทดลองนั้น หากศาลปกครองกลางมิได้กำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาจะทำให้ผลกระทบที่มีต่อสังคมประเทศชาติขยายวงกว้างมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลังการยื่นฟ้อง นายสมคิด ยังได้นำเรื่อองดังกล่าวมาร้องต่อ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิฯ ขอให้ตรวจสอบการทดลองวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในมนุษย์ ว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ รวมทั้งขอให้ตรวจสอบหรือยับยั้งคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยในมนุษย์ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายรับรองที่ชัดเจนและขอให้กรรมการสิทธิช่วยผลักดันหรือสนับสนุนให้ ร่าง พ.ร.บ.การวิจัยในมนุษย์ พ.ศ. .... ซึ่งเสนอโดยเครือข่ายภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ให้มีผลบังคับใช้ เพราะจะได้เป็นการสร้างหลักประกันต่อไป
วันนี้ (10 มี.ค.) นายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ ได้ยื่นฟ้อง รมว.สาธารณสุข คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมุนุษย์ คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม องค์กรเภสัชกรรม และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อขอให้ศาลฯมีคำสั่งยกเลิกเพิกถอน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1182/2550 และที่ 2012/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ดำเนินการโดยสถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ และในระหว่างการพิจารณาคดีขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาโดยสั่งระงับคำสั่งดังกล่าว
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุว่า ผู้ถูกฟ้องทั้งหมดได้ร่วมกันทดลองวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ 2009 ชนิดพ่นจมูก ภายใต้การกำกับนโยบายตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 1182/2550 และที่ 2012/2552 ของ รมว.สาธารณสุข โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากประเทศรัสเซียขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งผลการทดลองไม่โปร่งใส มีการปิดบังข้อมูล ไม่อาจตรวจสอบได้ โดยที่คณะอนุกรรมการผลิตวัคซีนของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติมิได้รับทราบหรือเห็นชอบให้ดำเนินการ แต่กลับทดลองวัคซีนชนิดพ่นจมูกระยะแรกให้กับอาสาสมัครจำนวน 24 คน โดยไม่มีกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.การวิจัยในมนุษย์รองรับแต่อย่างใด จึงถือว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และขณะที่สังคมมีความกังวลกับผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนดังกล่าว ตามแผนผลิตวัคซีนชนิดเชื้อเป็นพ่นจมูก novel H1N1 LAIV (cold adapted, temperature/sensitive strain) สายพันธ์ A/17/California/2009/38 จากรัสเซีย ซึ่งองค์การอนามัยโลกยังไม่ได้ให้การรับรองในมาตรฐานสากล ปรากฏว่า กลับมีก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยใช้งบประมาณ 1,200 ล้านบาท โดย รมว.สาธารณสุข ได้เชิญนายกรัฐมนตรีไปทำพิธีเปิด การกระทำของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม องค์กรเภสัชกรรม และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 32, 35 และขัดต่อจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เนื่องจากผู้ถูกฟ้องดังกล่าวมีผลประโยชน์ทับซ้อนในฐานะผู้จัดให้มีการวิจัย ผู้สนับสนุนการวิจัย ผู้จัย และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่วิจัย ผลวิจัยก็ย่อมไม่เป็นกลางหรือสากล เมื่อนำไปทดลองกับอาสาสมัคร หรือมนุษย์อาจเกิดอันตราย ที่ทำให้เกิดความเดือดร้อน หรืออาจจะเดือดร้อนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งการทดลองวัคซีนโดยมิได้มีมาตรการรับรองความปลอดภัยในการทดลองนั้น หากศาลปกครองกลางมิได้กำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาจะทำให้ผลกระทบที่มีต่อสังคมประเทศชาติขยายวงกว้างมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลังการยื่นฟ้อง นายสมคิด ยังได้นำเรื่อองดังกล่าวมาร้องต่อ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิฯ ขอให้ตรวจสอบการทดลองวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในมนุษย์ ว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ รวมทั้งขอให้ตรวจสอบหรือยับยั้งคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยในมนุษย์ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายรับรองที่ชัดเจนและขอให้กรรมการสิทธิช่วยผลักดันหรือสนับสนุนให้ ร่าง พ.ร.บ.การวิจัยในมนุษย์ พ.ศ. .... ซึ่งเสนอโดยเครือข่ายภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ให้มีผลบังคับใช้ เพราะจะได้เป็นการสร้างหลักประกันต่อไป