กรีซ มีหนี้สาธารณะ 3 แสนล้านยูโร หรือประมาณ 4 .2 แสนล้านเหรียญ คิดเป็นเงินไทยได้ 14 ล้านล้านบาท เท่ากับ 125 % ของจีดีพี ( ประเทศไทย มีหนี้สาธารณะ เมื่อสิ้นเดือน พฤศจิกายน 2552 จำนวน 3.96 ล้านล้านบาท เท่ากับ 45.56 % ของจีดีพี ) มีงบประมาณขาดดุลคิดเป็น 12.7 % ของจีดีพี ( (ไทยมีงประมาณขาดดุลเท่ากับ 5.6 % ของจีดีพี)
“PIGS” ไม่ได้แปลว่า หมูหลายตัว แต่เป็นคำย่อของประเทศในสหภาพยุโรป ที่กำลังเขย่าขวัญตลาดการเงินโลก เพราะเป็นประเทศที่มีหนี้ภาครัฐ หรือหนี้สาธารณะสูง คือ โปรตุเกส ( P) ไอร์แลนด์ (I) กรีซ( G) และสเปน( S) นักวิเคราะห์บางคน เติมตัว I ลงไปอีกตัว เป็น PIIGS เพื่อให้คลุมถึง อิตาลี ซึ่งเป็นประเทศลูกหนี้ตลอดกาล
นักลงทุนที่เป็นเจ้าหนี้ โดยการซื้อพันธบัตรที่ออก หรือว่า ค้ำประกันโดยทางการของชาติเหล่านี้ หวั่นเกรงมาได้พักหนึ่งแล้วว่า เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอนพันธบัตร รัฐบาลของประเทศลูกหนึ้ อาจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ เพราะอยู่ในสภาพชักหน้าไม่ถึงหลัง มีรายจ่ายมากกว่ารายได้
กรีซ เป็นประเทศแรก ที่ส่อเค้าว่า จะมีปัญหาจริงๆ เพราะในเดือนเมษายน และพฤษภาคมที่จะถึงนี้ มีหนี้ครบกำหนดชำระประมาณ 30,000 ล้านเหรียญ จนทำให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ที่ใช้เงินยูโร เป็นเงินสกุลหลัก หรือ ยูโรโซน ซึ่งมีอยู่ 16 ชาติ ต้องหาทางช่วยเหลือ โดย มีการประชุมรัฐมนตรีคลังเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
วิธีการช่วยเหลือก็คงไม่มีอะไรมากไปกว่า การอัดฉีดเงินกู้ เพื่อพยุงฐานะการคลังของกรีซไว้ ให้สามารถชำระหนี้ได้ แต่รัฐมนตรีคลังของยูโรโซน ยังไม่ยอมเปิดเผยรายละเอีดแผนการช่วยเหลือ แต่ตั้งเงื่อนไขให้ กรีซต้องไปหั่นงบปร่ะมาณรายจ่ายของรัฐบาลลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วนำกลับมาเสนอใหม่ในอีก 30 วันข้างหน้า
การตั้งเงื่อนไข ที่มาพร้อมกับเงินช่วยเหลือแบบนี้ ก็ไม่ต่างอะไรจากวิธีการของไอเอ็มเอฟ ที่ใช้กับประเทศกำลังพัฒนา เมื่อครั้งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านๆมา ถือเป็นการแทรกแซง อธิปไตยด้านเศรษฐกิจของประเทศที่รับการช่วยเหลือ กลุ่มประเทศยูโรโซน ไม่ต้องการให้ไอเอ็มเอฟ เข้ามาช่วยเหลือกรีซ ให้เป็นที่ปรึกษาเฉยๆ เพราะความหยิ่งทะนงตน ว่า ปัญหาของอียู อียูแก้เองได นอกจากนั้นแล้ว กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ นายโดมินิค คาห์น อาจจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส อีก 2 ปีข้างหน้า แข่งกับ นิโคลาส ซาร์โกซี่ ประธานาธิบดีคน ปัจจุบัน ซาร์โกซี่ จึงไม่ต้องการให้ว่าที่คู่แข่ง มาสร้างผลงานในเวทีนี้
กรีซ ใช้เงินยูโร เป็นเงินสกุลหลักของประเทศเมื่อ พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นการเปิดประตูเข้าสู่ตลาดการเงินโลก สามารถกู้ยืมเงินได้ง่ายขึ้น เพราะนักลงทุนเชื่อมั่นในเงินยูโร ตั้งแต่ได้เป็นสมาชิกยูโรโซน รัฐบาลกรีกก็มือเติบ ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการสูงๆ มีโครงการต่างๆมากมาย เพราะหาเงินได้ง่ายๆ ด้วยการก่อหนี้ ค่าใช้จ่ายภาครัฐจึงสูงมาก ในขณะที่ รายได้จากการเก็บภาษี ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะคนกรีซ โดยเฉพาะชนชั้นกลาง ชอบเลี่ยงภาษี และการที่ค่าเงินยูโรแข็ง ทำให้ความสามารถในการส่งออกลดลง แต่กรีซ ไม่สามารถทำอะไรกับค่าเงินได้ เพราะเป็นเงินสกุลร่วมที่ใช้ร่วมกัน 16 ชาติ
กรีซ มีหนี้สาธารณะ 3 แสนล้านยูโร หรือประมาณ 4 .2 แสนล้านเหรียญ คิดเป็นเงินไทยได้ 14 ล้านล้านบาท เท่ากับ 125 % ของจีดีพี ( ประเทศไทย มีหนี้สาธารณะ เมื่อสิ้นเดือน พฤศจิกายน 2552 จำนวน 3.96 ล้านล้านบาท เท่ากับ 45.56 % ของจีดีพี ) มีงบประมาณขาดดุลคิดเป็น 12.7 % ของจีดีพี ( (ไทยมีงประมาณขาดดุลเท่ากับ 5.6 % ของจีดีพี)
ตามกฎของยูโรโซน ประเทศสมาชิกต้องควบคุมการขาดดุลงบประมาณ ไม่ให้เกิน 3% ของจีดีพี การขาดดุลงบประมาณของกรีซ จึงเกินกว่าที่กำหนดไปถึง 4 เท่าตัว ซึ่งทำให้กลุ่มประเทศยูโรโซน ต้องตั้งเงื่อนไขว่า กรีซต้องลด การขาดดุลงบประมาณลง โดยการลดค่าใช้จ่ายในภาครัฐ เช่น การไม่ขึ้น หรือลดเงินเดือนข้าราชการ การลดค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการ การยืดอายุเกษียณราชการออกไปอีกปี หรือสองปี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านบำนาญ อีกทางหนึ่งคือ การหารายได้เพิ่ม เช่น การขึ้นราคาน้ำมัน การขึ้นภาษ๊ ทั้งสองทางซึ่งจะทำให้การขาดดุลงบประมาณลดลง ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งสิ้น จึงเริ่มมีการประท้วงเกิดขึ้นแล้ว และหากกรีกถูกบีบให้ลดค่าใช้
จ่ายลงอีก รัฐบาลจะมีแรงกดดันทางการเมืองมากขึ้น เพราะความไม่พอใจของประชาชนจะยิ่งขยายตัวมากขึ้น ความจริงแล้ว มีประเทศอื่นๆในยูโรโซน ที่มีภาระหนี้ และขาดดุลมากกว่ากรีก เช่น เยอรมนี สเปนฯลฯ จึงทำให้ชาวกรีก มีความรู้สึกว่า มีการเลือกปฏิบัติกับประเทศ
ของตน ขณะเดียวกัน ก็มีการโจมตีจากนักเก็งกำไรค่าเงิน ที่หวังว่า ปัญหาของกรีกจะ
ทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนลง ด้วยเหตุนี้ สมาชิกกลุ่มยูโรโซน ซึ่งมีฝรั่งเศส และเยอรนี เป็นโต้โผใหญ่ จึงไม่อาจนิ่งนอนใจ ปล่อยให้ กรีซแก้ปัญหาของตัวไปตามลำพัง เพราะถ้ากรีซไม่สามารถชำระหนี้ได้จริงๆ นอกจากจะทำให้ต้นทุนหนี้ที่เป็นเงินสกลุยูโรแพงขึ้น เพราะนักลงทุนไม่มั่นใจแล้ว ยังมีผลกระทบต่อค่าเงินยูโร ซึ่งอียูพยายามผลักดันให้เป็นเงินตราสกุลหลักของโลก แข่งกับดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 10 ปีที่เงินยูโรถือกำเนิดขึ้นมา