เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ แจงผลงานปี 52 วินิจฉัยคดีไปแล้ว 128 เรื่อง พร้อมเร่งรัดกระบวนการพิจารณา เพื่อชี้ชะตาคุณสมบัติ 16 ส.ว.13 ส.ส.ปชป.กรณีถือหุ้นขัด รธน.หรือไม่รับปีเสือ
วันนี้ (3 ม.ค.) ที่ศาลรัฐธรรมนูญ นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการสรุปผลการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญในรอบปี 2552 ว่า ได้พิจารณาไปแล้ว 128 เรื่อง ซึ่งเป็นคดีค้างเก่าตั้งแต่ พ.ศ.2548 -2551 โดยจำแนกเป็นคำร้องที่รับไว้พิจารณาและมีคำวินิจฉัยแล้ว 20 เรื่อง เป็นคำร้องที่คณะตุลาการได้พิจารณามีคำสั่งรับไว้พิจารณาและอยู่ในกระบวนการพิจารณาจำนวน 58 เรื่อง โดยเป็นคำร้องจากปี 51 จำนวน 27 เรื่อง และในปี 52 จำนวน 31 เรื่อง และคดีที่ไม่รับไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องจำนวน 47 คำร้อง
เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า สำหรับคดีสำคัญและได้รับความสนใจจากประชาชนที่ศาลรับไว้พิจารณาและอยู่ใน กระบวนการพิจารณา มีอยู่ 3 คดี คือ 1.คดีที่ประธานวุฒิสภาได้ส่งความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 91 แห่งรัฐธรรมนูญ กรณี ส.ว.จำนวน 16 คนสิ้นสุดสมาชิกภาพลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 119 (5) เพราะถือหุ้นลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 48 ประกอบมาตรา 265 แห่งรัฐธรรมนูญ 2. คดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรมีหนังสือส่งความเห็นของกกต. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยกรณีสมาชิกภาพของ ส.ส.จำนวน 13 คนของพรรคประชาธิปัตย์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (6) เนื่องจากมีการกระทำที่เข้าข่ายว่าถือครองหุ้นในกิจการสื่อและบริษัทที่รับสัมปทานจากภาครัฐ ซึ่งเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามมาตรา 48 ประกอบ 265 แห่งรัฐธรรมนูญ และ 3.คดีที่ประธานสภาผู้เทนราษฎรส่งความเห็น กกต.ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพของ ส.ส.จำนวน 16 คน สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (6)
นายเชาวนะกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในวันที่ 14 ม.ค.นี้ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยนาย ชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดไต่ส่วนพยานทั้ง 10 ปาก ของฝ่ายผู้ถูกร้อง ในคดีที่ประธานวุฒิสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 กรณีสมาชิกภาพของนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว.ปราจีนบุรี ว่าสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 119 (4)และมาตรา 115 (6) จากกรณีที่นายสุรเดชได้ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ไม่ถึง 5 ปีตามที่กฎหมายกำหนด
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการพิจารณาทั้ง 3 คำร้องเกี่ยวกับคุณสมบัติของ ส.ส.และ ส.ว.ในเรื่องการถือหุ้นต้องห้ามนั้น คณะตุลาการกำลังพิจารณาประชุมเพื่อลงความเห็นให้รวมคำร้องทั้ง 3 เข้าด้วยกัน เพราะคำร้องทั้ง 3 มีลักษณะเหมือนกัน บริษัทเอกชนที่ถือหุ้นอยู่ส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทซ้ำกัน จึงสามารถสืบพยานรวบไปในครั้งเดียวได้ โดยประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ บริษัทที่ ส.ส.หรือ ส.ว.ถือหุ้นนั้น เป็นบริษัทเกี่ยวกับโทรคมนาคม ผูกขาดสัมปทานของรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น หากพิจารณาได้ว่าเป็นหุ้นในบริษัทต้องห้ามจริง เท่ากับว่า ส.ส.และ ส.ว.ย่อมขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับการพิจารณาคุณสมบัติของนายสุรเดชนั้น หลังจากที่คณะตุลาการออกนั่งบัลลังก์สืบพยานในวันที่ 14 ม.ค. คาดว่าจะสามารถนัดวันพิจารณาได้เลย
วันนี้ (3 ม.ค.) ที่ศาลรัฐธรรมนูญ นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการสรุปผลการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญในรอบปี 2552 ว่า ได้พิจารณาไปแล้ว 128 เรื่อง ซึ่งเป็นคดีค้างเก่าตั้งแต่ พ.ศ.2548 -2551 โดยจำแนกเป็นคำร้องที่รับไว้พิจารณาและมีคำวินิจฉัยแล้ว 20 เรื่อง เป็นคำร้องที่คณะตุลาการได้พิจารณามีคำสั่งรับไว้พิจารณาและอยู่ในกระบวนการพิจารณาจำนวน 58 เรื่อง โดยเป็นคำร้องจากปี 51 จำนวน 27 เรื่อง และในปี 52 จำนวน 31 เรื่อง และคดีที่ไม่รับไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องจำนวน 47 คำร้อง
เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า สำหรับคดีสำคัญและได้รับความสนใจจากประชาชนที่ศาลรับไว้พิจารณาและอยู่ใน กระบวนการพิจารณา มีอยู่ 3 คดี คือ 1.คดีที่ประธานวุฒิสภาได้ส่งความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 91 แห่งรัฐธรรมนูญ กรณี ส.ว.จำนวน 16 คนสิ้นสุดสมาชิกภาพลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 119 (5) เพราะถือหุ้นลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 48 ประกอบมาตรา 265 แห่งรัฐธรรมนูญ 2. คดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรมีหนังสือส่งความเห็นของกกต. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยกรณีสมาชิกภาพของ ส.ส.จำนวน 13 คนของพรรคประชาธิปัตย์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (6) เนื่องจากมีการกระทำที่เข้าข่ายว่าถือครองหุ้นในกิจการสื่อและบริษัทที่รับสัมปทานจากภาครัฐ ซึ่งเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามมาตรา 48 ประกอบ 265 แห่งรัฐธรรมนูญ และ 3.คดีที่ประธานสภาผู้เทนราษฎรส่งความเห็น กกต.ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพของ ส.ส.จำนวน 16 คน สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (6)
นายเชาวนะกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในวันที่ 14 ม.ค.นี้ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยนาย ชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดไต่ส่วนพยานทั้ง 10 ปาก ของฝ่ายผู้ถูกร้อง ในคดีที่ประธานวุฒิสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 กรณีสมาชิกภาพของนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว.ปราจีนบุรี ว่าสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 119 (4)และมาตรา 115 (6) จากกรณีที่นายสุรเดชได้ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ไม่ถึง 5 ปีตามที่กฎหมายกำหนด
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการพิจารณาทั้ง 3 คำร้องเกี่ยวกับคุณสมบัติของ ส.ส.และ ส.ว.ในเรื่องการถือหุ้นต้องห้ามนั้น คณะตุลาการกำลังพิจารณาประชุมเพื่อลงความเห็นให้รวมคำร้องทั้ง 3 เข้าด้วยกัน เพราะคำร้องทั้ง 3 มีลักษณะเหมือนกัน บริษัทเอกชนที่ถือหุ้นอยู่ส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทซ้ำกัน จึงสามารถสืบพยานรวบไปในครั้งเดียวได้ โดยประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ บริษัทที่ ส.ส.หรือ ส.ว.ถือหุ้นนั้น เป็นบริษัทเกี่ยวกับโทรคมนาคม ผูกขาดสัมปทานของรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น หากพิจารณาได้ว่าเป็นหุ้นในบริษัทต้องห้ามจริง เท่ากับว่า ส.ส.และ ส.ว.ย่อมขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับการพิจารณาคุณสมบัติของนายสุรเดชนั้น หลังจากที่คณะตุลาการออกนั่งบัลลังก์สืบพยานในวันที่ 14 ม.ค. คาดว่าจะสามารถนัดวันพิจารณาได้เลย