ศาล รธน.ปิดกล่อง ลั่นรื้อคดียุบ ทรท.ไม่ได้ เพราะเป็นวิธีพิจารณาความแพ่ง แนะให้สมาชิกไข่แม้วไปฟ้องทางอาญา เหตุพยานให้การเท็จ เตือน ส.ส.ผู้ร้องอาจพ่วงติดคุกหนัก หากนำพยานเท็จมากล่าวอ้างในศาล
วันนี้ (18 พ.ย.) รายงานข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งว่า จากกรณีที่ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี สมาชิกพรรคเพื่อไทย นำตัว นายชวการ โตสวัสดิ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพัฒนาชาติไทย และ นายสุขสันต์ ชัยเทศ อดีต ผอ.พรรคพัฒนาชาติไทย ซึ่งเป็นพยานในคดียุบพรรคไทยรักไทย มาเปิดเผยว่า ได้รับการจ้างวานจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้การใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย จนต้องถูกยุบพรรค และมีอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย ออกมาเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ นำเรื่องขึ้นมาพิจารณาใหม่ เพราะมีพยานหลักฐานชิ้นใหม่ขึ้นมานั้น ตามขั้นตอนทางกฎหมาย และกระบวนวิธีการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งใช้ประกอบกระบวนการพิจารณาคดี ซึ่งความแพ่งเมื่อมีการวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วไม่สามารถรื้อคดีขึ้นมาใหม่ได้ การจะรื้อคดีขึ้นมาใหม่ได้จะทำได้เฉพาะคดีอาญาเท่านั้น แต่เมื่อคดีของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีการกำหนดโทษทางอาญา จึงใช้วิธีพิจารณาความอาญามาใช้ไม่ได้
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า แม้ว่าการรื้อคดียุบพรรคไทยรักไทยจะดำเนินการไม่ได้ แต่อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่เห็นว่า ตัวเองเสียหาย สามารถยื่นฟ้องดำเนินคดีกับพยานที่ให้การเท็จทั้ง 2 ได้ โดยจะเป็นคดีอาญา และหากศาลพิจารณาแล้วว่าพยานทั้ง 2 ให้การเท็จจริง ผู้เสียหายก็สามารถยื่นฟ้อง นายสุเทพ ว่าจ้างวาน หรืออยู่เบื้องหลังที่ทำให้พยานทั้ง 2 ให้การเท็จ เป็นคดีอาญาต่อไปได้ และสามารถยื่นร้องไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอให้พิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ ฐานใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยได้ และหาก กกต.มีความเห็นควรให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ จึงจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา อย่างไรก็ตาม หากนำเรื่องขึ้นสู่ศาลแล้วมีการพิสูจน์ได้ว่าพยานทั้ง 2 ไม่ได้ให้การเท็จ ผู้ฟ้องก็จะมีความผิดฐานฟ้องเท็จ ซึ่งมีโทษจำคุกเช่นกัน
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีความมั่นใจในการทำหน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญชุดที่มี นายปัญญา ถนอมรอด ประธานศาลฎีกา เป็นประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เพราะองค์คณะทั้ง 9 คนมีผู้พิพากษาอาชีพที่ทำหน้าที่มากว่า 30 ปี ถึง 8 คน มีเพียง นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด เพียงคนเดียวที่ไม่ได้เป็นผู้พิพากษาอาชีพ แต่ก็เป็นกฤษฎีกาที่มีความรู้ทางกฎหมายดีมาก ดังนั้น การพิจารณาในประเด็นต่างๆ เชื่อว่า ดำเนินการได้ครบถ้วน และเรื่องการที่พยานทั้ง 2 ไปอยู่ในความดูแลของนายสุเทพ ที่สุราษฎร์ธานี ก็เชื่อว่า มีการสืบพยานและซักค้านในศาลเรียบร้อย จนปราศจากข้อสงสัยจนตุลาการมีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคไทยรักไทย นอกจากนี้ ทีมกฎหมายของพรรคไทยรักไทย ก็ต่อสู้อย่างเต็มที่แล้ว ดังนั้น การออกมาระบุการให้การเท็จในช่วงนี้ น่าจะเป็นการหวังผลทางการเมืองมากกว่าหวังผลทางคดี
วันนี้ (18 พ.ย.) รายงานข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งว่า จากกรณีที่ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี สมาชิกพรรคเพื่อไทย นำตัว นายชวการ โตสวัสดิ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพัฒนาชาติไทย และ นายสุขสันต์ ชัยเทศ อดีต ผอ.พรรคพัฒนาชาติไทย ซึ่งเป็นพยานในคดียุบพรรคไทยรักไทย มาเปิดเผยว่า ได้รับการจ้างวานจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้การใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย จนต้องถูกยุบพรรค และมีอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย ออกมาเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ นำเรื่องขึ้นมาพิจารณาใหม่ เพราะมีพยานหลักฐานชิ้นใหม่ขึ้นมานั้น ตามขั้นตอนทางกฎหมาย และกระบวนวิธีการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งใช้ประกอบกระบวนการพิจารณาคดี ซึ่งความแพ่งเมื่อมีการวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วไม่สามารถรื้อคดีขึ้นมาใหม่ได้ การจะรื้อคดีขึ้นมาใหม่ได้จะทำได้เฉพาะคดีอาญาเท่านั้น แต่เมื่อคดีของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีการกำหนดโทษทางอาญา จึงใช้วิธีพิจารณาความอาญามาใช้ไม่ได้
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า แม้ว่าการรื้อคดียุบพรรคไทยรักไทยจะดำเนินการไม่ได้ แต่อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่เห็นว่า ตัวเองเสียหาย สามารถยื่นฟ้องดำเนินคดีกับพยานที่ให้การเท็จทั้ง 2 ได้ โดยจะเป็นคดีอาญา และหากศาลพิจารณาแล้วว่าพยานทั้ง 2 ให้การเท็จจริง ผู้เสียหายก็สามารถยื่นฟ้อง นายสุเทพ ว่าจ้างวาน หรืออยู่เบื้องหลังที่ทำให้พยานทั้ง 2 ให้การเท็จ เป็นคดีอาญาต่อไปได้ และสามารถยื่นร้องไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอให้พิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ ฐานใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยได้ และหาก กกต.มีความเห็นควรให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ จึงจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา อย่างไรก็ตาม หากนำเรื่องขึ้นสู่ศาลแล้วมีการพิสูจน์ได้ว่าพยานทั้ง 2 ไม่ได้ให้การเท็จ ผู้ฟ้องก็จะมีความผิดฐานฟ้องเท็จ ซึ่งมีโทษจำคุกเช่นกัน
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีความมั่นใจในการทำหน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญชุดที่มี นายปัญญา ถนอมรอด ประธานศาลฎีกา เป็นประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เพราะองค์คณะทั้ง 9 คนมีผู้พิพากษาอาชีพที่ทำหน้าที่มากว่า 30 ปี ถึง 8 คน มีเพียง นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด เพียงคนเดียวที่ไม่ได้เป็นผู้พิพากษาอาชีพ แต่ก็เป็นกฤษฎีกาที่มีความรู้ทางกฎหมายดีมาก ดังนั้น การพิจารณาในประเด็นต่างๆ เชื่อว่า ดำเนินการได้ครบถ้วน และเรื่องการที่พยานทั้ง 2 ไปอยู่ในความดูแลของนายสุเทพ ที่สุราษฎร์ธานี ก็เชื่อว่า มีการสืบพยานและซักค้านในศาลเรียบร้อย จนปราศจากข้อสงสัยจนตุลาการมีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคไทยรักไทย นอกจากนี้ ทีมกฎหมายของพรรคไทยรักไทย ก็ต่อสู้อย่างเต็มที่แล้ว ดังนั้น การออกมาระบุการให้การเท็จในช่วงนี้ น่าจะเป็นการหวังผลทางการเมืองมากกว่าหวังผลทางคดี