“พิกุลแก้ว” ชม รบ.ตอบโต้เขมรทันท่วงที ยันไม่สุมหัว ส.ส.เพื่อแม้ว โหวตเปิดอภิปราย นายกฯ ลดสัมพันธ์เขมร ระบุเป็นเรื่องของการบริหารงาน ไม่ใช่การทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ จึงไม่เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ แนะตัดสัมพันธ์ “ฮุนเซน” เรื่อยๆ จนกว่าจะถอน “นช.แม้ว” ออกจากที่ปรึกษา
นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ส.ว.พิษณุโลก ในฐานะประธานกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา กล่าวชื่นชมการทำงานของรัฐบาลไทยที่ออกมาตรการตอบโต้รัฐบาลกัมพูชา ที่แต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาและจะไม่ส่งตัวกลับประเทศไทยตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนว่า เป็นการดำเนินการที่ทันท่วงที ทั้งยังเป็นการใช้มาตการทางการทูตที่เหมาะสม ไม่รุนแรงเกินกว่าเหตุ เพราะสิ่งในสายตาของนานาชาติแล้วไม่ส่งผลดีต่อสมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาและประเทศกัมพูชา
นางพิกุลแก้วกล่าวต่อว่า แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านที่สนิทกับกัมพูชา อย่างลาวและเวียดนาม หากถูกสมเด็จฯ ฮุนเซน วิพากษ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรมและเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในก็คงยอมไม่ได้เช่นกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งของ 2 ประเทศ ไม่จำเป็นต้องให้อาเซียนหรือประเทศอื่นเป็นคนกลางเข้ามาไกล่เกลี่ย ดังนั้น สมเด็จฯ ฮุนเซน ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาควรเปลี่ยนท่าที โดยนึกถึงความสัมพันธ์ของประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก ทั้งนี้หากรัฐบาลกัมพูชายังเพิกเฉย รัฐบาลไทยควรยกเลิกสัญญาความร่วมมือที่ทำไว้ระหว่าง 2 ประเทศ และชะลอโครงการช่วยเหลือต่างๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลกัมพูชาจะยอมขอโทษ ที่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมไทย แต่ยังคงแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาอยู่ ก็ควรที่จะลดระดับความสัมพันธ์ลงไปเรื่อยๆ จนกว่าทุกอย่างจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
ส่วนกรณีที่ นายวิทยา บุรณศิริ ประธานกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ระบุว่าจะขอเสียงจากวุฒิสภาขอเปิดอภิปรายร่วม 2 สภา กรณีที่รัฐบาลลดความสัมพันธ์กับกัมพูชา เนื่องจากเห็นว่าเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 161 และ 190 นางพิกุลแก้ว กล่าวว่า จะไม่ร่วมลงชื่อด้วย เพราะการดำเนินการของรัฐบาล ถือเป็นเรื่องของการบริหารงาน ไม่ใช่การทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ จึงไม่เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ
นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ส.ว.พิษณุโลก ในฐานะประธานกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา กล่าวชื่นชมการทำงานของรัฐบาลไทยที่ออกมาตรการตอบโต้รัฐบาลกัมพูชา ที่แต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาและจะไม่ส่งตัวกลับประเทศไทยตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนว่า เป็นการดำเนินการที่ทันท่วงที ทั้งยังเป็นการใช้มาตการทางการทูตที่เหมาะสม ไม่รุนแรงเกินกว่าเหตุ เพราะสิ่งในสายตาของนานาชาติแล้วไม่ส่งผลดีต่อสมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาและประเทศกัมพูชา
นางพิกุลแก้วกล่าวต่อว่า แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านที่สนิทกับกัมพูชา อย่างลาวและเวียดนาม หากถูกสมเด็จฯ ฮุนเซน วิพากษ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรมและเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในก็คงยอมไม่ได้เช่นกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งของ 2 ประเทศ ไม่จำเป็นต้องให้อาเซียนหรือประเทศอื่นเป็นคนกลางเข้ามาไกล่เกลี่ย ดังนั้น สมเด็จฯ ฮุนเซน ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาควรเปลี่ยนท่าที โดยนึกถึงความสัมพันธ์ของประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก ทั้งนี้หากรัฐบาลกัมพูชายังเพิกเฉย รัฐบาลไทยควรยกเลิกสัญญาความร่วมมือที่ทำไว้ระหว่าง 2 ประเทศ และชะลอโครงการช่วยเหลือต่างๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลกัมพูชาจะยอมขอโทษ ที่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมไทย แต่ยังคงแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาอยู่ ก็ควรที่จะลดระดับความสัมพันธ์ลงไปเรื่อยๆ จนกว่าทุกอย่างจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
ส่วนกรณีที่ นายวิทยา บุรณศิริ ประธานกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ระบุว่าจะขอเสียงจากวุฒิสภาขอเปิดอภิปรายร่วม 2 สภา กรณีที่รัฐบาลลดความสัมพันธ์กับกัมพูชา เนื่องจากเห็นว่าเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 161 และ 190 นางพิกุลแก้ว กล่าวว่า จะไม่ร่วมลงชื่อด้วย เพราะการดำเนินการของรัฐบาล ถือเป็นเรื่องของการบริหารงาน ไม่ใช่การทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ จึงไม่เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ