“ทัพฟ้า” ตั้ง “ฉก.ทอ.” รปภ.อาเซียน ส่ง 3 กองบินอารักขาผู้นำ พร้อมจัดเตรียมเฮลิคอปเตอร์สำหรับรับมือเหตุฉุกเฉิน ทั้งยังสั่งตรวจเช็กยุทโธปกรณ์รักษาความปลอดภัยในสนามบินและโรงแรมที่พัก เพื่อป้องกันเหตุร้าย รวมทั้งระงับเหตุ
วันนี้ (12 ต.ค.) น.อ.มณฑล สัชฌุกร รองโฆษกกองทัพอากาศ ให้สัมภาษณ์ถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยการประชุมอาเซียน ระหว่างวันที่ 12-27 ต.ค.นี้ ว่า กองบัญชาการกองทัพไทย ได้มอบหมายให้ทางกองทัพอากาศ จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจ ทหารอากาศ (ฉก.ทอ.) ขึ้นที่สนามบินหัวหิน ภายใต้แผนยุทธการหัวหิน-ชะอำ 521-3 เพื่อรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ สนามบินหัวหิน และการควบคุมทางอากาศทั้งปวง โดย พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้แต่งตั้งให้ พล.อ.ท.วินัย เปล่งวิทยา รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้บัญชากาหน่วยเฉพาะกิจทหารอากาศ โดยขณะนี้กำลังพลและยุทโธปกรณ์ส่วนหนึ่ง ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ท่าอากาศยานนานาชาติหัวหินเรียบร้อยแล้ว
น.อ.มณฑล กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินการต่างๆ ของกองทัพอากาศ ที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย การเตรียมพร้อมเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นจำนวน 3 หน่วยบิน โดยวางกำลังไว้ที่กองบิน 1 นครราชสีมา, กองบิน 4 ตาคลี และกองบิน 7 สุราษฎร์ธานี เพื่อทำหน้าที่ในการบินคุ้มกันอากาศยานของบุคคลสำคัญ, การบินลาดตระเวนรักษาความปลอดภัย การจัดเครื่องบินโจมตีธุรการแบบที่ 2 (AU-23A) ทำการบินถ่ายทอดภาพสถานการณ์ (VDL) การกำหนดเขตห้ามบินเหนือพื้นที่จัดการประชุมโดยประกาศ NOTAM, การเฝ้าตรวจทางอากาศโดยระบบเรดาร์ในระบบงานปกติ, การจัดเครื่องบินลำเลียงแบบต่างๆ พร้อมด้วยเฮลิคอปเตอร์เพื่อทำการบินลำเลียงสนับสนุนการเคลื่อนย้ายกำลังพล เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วน และการจัดกำลังพลพร้อมยุทโธปกรณ์เพื่อป้องกันรักษาความสงบที่สนามบินเมื่อจำเป็น การตรวจหาวัตถุระเบิดด้วยสุนัขทหาร และเครื่องมือค้นหา และการเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด ตลอดจนสารวัตรทหารอากาศ และหน่วยบัญชาการอากาศโยธินในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และโรงแรมที่พัก
น.อ.มณฑล กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากการจัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในการปฏิบัติงานในรูปการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และบุคคลสำคัญแล้ว กองทัพอากาศยังได้จัดกำลังพลพร้อมเครื่องมือในการปฏิบัติงานกิจการพลเรือน อาทิ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพี่น้องประชาชนรอบสนามบิน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ นักธุรกิจในพื้นที่ ผู้นำชุมชน นักเรียน นักศึกษา ตลอด จนหน่วยงานราชการและภาคเอกชนต่างๆ รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่สื่อมวลชนแขนงต่างๆ ที่ต้องเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติหัวหิน และนับเป็นโอกาสสำคัญอีกครั้งของกองทัพอากาศ โดยการจัดกำลังพลส่วนหนึ่ง และยุทโธปกรณ์ จะได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อความสงบสุขเรียบร้อยของบ้านเมือง และการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะเป็นการปฏิบัติงานเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยต่อสายตาของมิตรประเทศที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้
วันนี้ (12 ต.ค.) น.อ.มณฑล สัชฌุกร รองโฆษกกองทัพอากาศ ให้สัมภาษณ์ถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยการประชุมอาเซียน ระหว่างวันที่ 12-27 ต.ค.นี้ ว่า กองบัญชาการกองทัพไทย ได้มอบหมายให้ทางกองทัพอากาศ จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจ ทหารอากาศ (ฉก.ทอ.) ขึ้นที่สนามบินหัวหิน ภายใต้แผนยุทธการหัวหิน-ชะอำ 521-3 เพื่อรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ สนามบินหัวหิน และการควบคุมทางอากาศทั้งปวง โดย พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้แต่งตั้งให้ พล.อ.ท.วินัย เปล่งวิทยา รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้บัญชากาหน่วยเฉพาะกิจทหารอากาศ โดยขณะนี้กำลังพลและยุทโธปกรณ์ส่วนหนึ่ง ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ท่าอากาศยานนานาชาติหัวหินเรียบร้อยแล้ว
น.อ.มณฑล กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินการต่างๆ ของกองทัพอากาศ ที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย การเตรียมพร้อมเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นจำนวน 3 หน่วยบิน โดยวางกำลังไว้ที่กองบิน 1 นครราชสีมา, กองบิน 4 ตาคลี และกองบิน 7 สุราษฎร์ธานี เพื่อทำหน้าที่ในการบินคุ้มกันอากาศยานของบุคคลสำคัญ, การบินลาดตระเวนรักษาความปลอดภัย การจัดเครื่องบินโจมตีธุรการแบบที่ 2 (AU-23A) ทำการบินถ่ายทอดภาพสถานการณ์ (VDL) การกำหนดเขตห้ามบินเหนือพื้นที่จัดการประชุมโดยประกาศ NOTAM, การเฝ้าตรวจทางอากาศโดยระบบเรดาร์ในระบบงานปกติ, การจัดเครื่องบินลำเลียงแบบต่างๆ พร้อมด้วยเฮลิคอปเตอร์เพื่อทำการบินลำเลียงสนับสนุนการเคลื่อนย้ายกำลังพล เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วน และการจัดกำลังพลพร้อมยุทโธปกรณ์เพื่อป้องกันรักษาความสงบที่สนามบินเมื่อจำเป็น การตรวจหาวัตถุระเบิดด้วยสุนัขทหาร และเครื่องมือค้นหา และการเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด ตลอดจนสารวัตรทหารอากาศ และหน่วยบัญชาการอากาศโยธินในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และโรงแรมที่พัก
น.อ.มณฑล กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากการจัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในการปฏิบัติงานในรูปการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และบุคคลสำคัญแล้ว กองทัพอากาศยังได้จัดกำลังพลพร้อมเครื่องมือในการปฏิบัติงานกิจการพลเรือน อาทิ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพี่น้องประชาชนรอบสนามบิน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ นักธุรกิจในพื้นที่ ผู้นำชุมชน นักเรียน นักศึกษา ตลอด จนหน่วยงานราชการและภาคเอกชนต่างๆ รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่สื่อมวลชนแขนงต่างๆ ที่ต้องเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติหัวหิน และนับเป็นโอกาสสำคัญอีกครั้งของกองทัพอากาศ โดยการจัดกำลังพลส่วนหนึ่ง และยุทโธปกรณ์ จะได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อความสงบสุขเรียบร้อยของบ้านเมือง และการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะเป็นการปฏิบัติงานเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยต่อสายตาของมิตรประเทศที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้