โดย...ทวิช จิตรสมบูรณ์
1. วิธีการแก้ไขสถานการณ์วุ่นวายทางการเมืองไทย (แบบเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส)
การแบ่งฝักฝ่ายทางการเมืองของคนไทยใน พ.ศ. 2552 นี้นับเป็นวิกฤตรุนแรง หากเยียวยาแก้ไขไม่ทันกาลก็อาจลุกลามไปสู่วิกฤตที่รุนแรงมากขึ้นจนอาจส่งผลเสียอย่างร้ายแรงเกินเยียวยา การเร่งสมานฉันท์จึงเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าสมานฉันท์กันแบบยอมความกันง่ายๆ (เช่น โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ) มันก็จะเป็นการเสียโอกาสอันงาม และยังเสียนิสัยอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้คนไทย “ไม่รู้จักโต” ทางการเมืองเสียที
ผู้เขียนเลยขอเสนอวิธีสมานฉันท์แบบเปลี่ยนวิกฤตมาเป็นโอกาส ด้วยเห็นว่าวิกฤตนี้เป็นสิ่งดีเพราะทำให้สังคมไทยตื่นตัวทางการเมืองอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ โดยเฉพาะเป็นการตื่นตัวในทุกระดับตั้งแต่รากหญ้าจนถึงชนชั้นกลางและชั้นสูง แต่ทำไมเราไม่ใช้ความตื่นตัวที่หาได้แสนยากนี้ให้เป็นประโยชน์ในการปฏิรูปการเมือง ตรงข้ามหลายฝ่าย (โดยเฉพาะรัฐบาล) กลับอยากให้กระแสความตื่นตัวนี้จางหายไปด้วยวิธีการ “ สมานฉันท์” ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งก็ไม่แคล้วกลายเป็น “สมานกะฉัน” เพราะแต่ละฝ่ายก็ต้องการให้เกิดประโยชน์ต่อฝ่ายตนมากที่สุดด้วยกันทั้งสิ้น
วิธีการที่ขอเสนอคือ (ความจริงเสนอมา 2 ปีและหลายครั้งแล้ว) ให้รัฐบาลจัดเวทีระดับชาติให้แกนนำของทั้งสองฝ่าย (เสื้อเหลือง เสื้อแดง) ได้มาโต้วาทีการเมืองกัน เช่น โดยผ่านระบบโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ทั้งนี้โดยมีคนกลางซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันเป็นผู้ดำเนินรายการ ในแต่ละเวทีก็ให้มีประเด็นร้อนต่างๆ เป็นการเฉพาะ ส่วนทักษิณนั้นจะโฟนอินเข้ามาก็ย่อมได้ จะได้โต้กันซึ่งหน้าไม่ให้มีอะไรค้างคาใจกันอีกต่อไป และไม่ต้องไปแทงกันข้างหลัง อ้างข้อมูลเถื่อนกันอีกต่อไป
ควรจัดการโต้เวทีนี้สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ครั้งละ 1 ชม. เป็นเวลาสัก 3 เดือน เชื่อว่าเรตติ้งจะกระฉูด คนไทยจะเรียนรู้การเมืองมากขึ้น ได้ข้อมูลมากขึ้น ซึ่งความรู้ทำให้เข้าใจ เมื่อเข้าใจซึ่งกันและกันก็จะหายหรือลดระดับความโกรธเกลียดกันลงไปได้มาก ก็เป็นการสมานฉันท์ สังเกตดูสิทุกวันนี้ปัจเจกชนธรรมดาที่โกรธเกลียดกันนั้นลองไปสืบดูเถอะเป็นเพราะเข้าใจผิด หรือได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเสีย 99% ที่โกรธกันแบบบริสุทธิ์จริงๆ นั้น มีไม่ถึง 1% หรอก
การจัดเวทีนั้นอาจจัดที่สนามกีฬาแห่งชาติไปเลย แล้วมีการถ่ายทอดสด อัฒจันทร์ทั้งสองฟากก็แบ่งกันคนละครึ่งระหว่างกองเชียร์เสื้อเหลืองเสื้อแดง พอเสร็จงานอาจจัดงานเลี้ยงต่อเพื่อสังสรรค์กันข้ามสีเสื้อก็ยังได้ หรือจัดให้มีประชุมกลุ่มย่อย ให้พวกแกนนำได้ประชุมกลุ่มย่อยต่อไป (เพื่อลดโมเมนตัมทางอารมณ์จากการฟังแกนนำโต้วาทีกัน)
นอกจากสมานฉันท์แล้วยังเป็นการปฏิรูปการเมืองไปด้วยในตัว (เพราะคนมีความรู้ทางการเมืองมากขึ้น) ส่งผลให้การซื้อเสียงลดลง ซึ่งจะทำให้เราได้นักการเมืองที่ดีขึ้นเข้าสู่สภาและรัฐบาล ในระหว่างโต้วาทีนี้ก็เป็นการซื้อเวลาให้รัฐบาลไปด้วยในตัว งบประมาณก็ใช้น้อยมากอีกต่างหาก
2. กองทัพไทย (การลงทุนที่คุ้มค่า?)
กรณีพิพาทเขาพระวิหาร ทำให้ได้คิดว่าประเทศไทยเราลงทุนสร้างกองทัพด้วยเงินมหาศาลมานานในการเลี้ยงดู ฝึกปรือกำลังพล และซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยจำนวนมาก รวมทั้งสร้างสนามกอล์ฟ สโมสร ระบบประกันสุขภาพหลังเกษียณและสวัสดิการอื่นๆ ให้กำลังพลของเราอีกมาก
แต่พอถึงเวลาจะใช้ประโยชน์จากกองทัพบ้าง เช่น กรณีพิพาทเล็กน้อยกับประเทศเล็กๆ ทหารไทยเราก็ไม่ค่อยยอมทำหน้าที่เลย ผู้นำแต่ละคนออกมาให้สัมภาษณ์ก็เอาแต่จะใช้วิธี “เจรจา” กันหมดทุกคน
โดยทหารพวกนี้หารู้ไม่ว่าการเจรจาที่จะได้ผลดีต่อเรานั้นมันต้องได้เปรียบทางทหารเสียก่อน เช่น บุกยึดพื้นที่ไว้ให้ได้หมดเสียก่อน (เช่น ที่อิสราเอลทำกับอาหรับอยู่ตลอดเวลา) แต่ทหารไทย (ที่ส่วนใหญ่พุงพลุ้ย) อึกอักอะไรก็อ้างการเจรจา...ไม่อยากให้เสียความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้าน ปล่อยให้เพื่อนบ้านมันเกทับบลัฟแหลกจนน้ำลายกระเซ็นรดหัวคนไทยไปหมดทั้งประเทศแล้ว
เอ้า...ฝากท่านแม่ทัพนายกองเอาไว้เป็นประเด็นถกกันที่มุมกรีนหลุม 18 หรือที่ห้อง VIP สโมสรหลังแก้วเบียร์เย็นๆ ภายหลังจบเกมก็ได้นะครับ หรือว่าอาจเจรจาขอปรับพื้นที่รอบเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ร่วมในการสร้างสนามกอล์ฟให้ทหารไทยกับทหารเขมรสามารถใช้ร่วมกันได้ ก็คงเป็นการได้นกสองตัวไปเลยนะครับ
1. วิธีการแก้ไขสถานการณ์วุ่นวายทางการเมืองไทย (แบบเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส)
การแบ่งฝักฝ่ายทางการเมืองของคนไทยใน พ.ศ. 2552 นี้นับเป็นวิกฤตรุนแรง หากเยียวยาแก้ไขไม่ทันกาลก็อาจลุกลามไปสู่วิกฤตที่รุนแรงมากขึ้นจนอาจส่งผลเสียอย่างร้ายแรงเกินเยียวยา การเร่งสมานฉันท์จึงเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าสมานฉันท์กันแบบยอมความกันง่ายๆ (เช่น โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ) มันก็จะเป็นการเสียโอกาสอันงาม และยังเสียนิสัยอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้คนไทย “ไม่รู้จักโต” ทางการเมืองเสียที
ผู้เขียนเลยขอเสนอวิธีสมานฉันท์แบบเปลี่ยนวิกฤตมาเป็นโอกาส ด้วยเห็นว่าวิกฤตนี้เป็นสิ่งดีเพราะทำให้สังคมไทยตื่นตัวทางการเมืองอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ โดยเฉพาะเป็นการตื่นตัวในทุกระดับตั้งแต่รากหญ้าจนถึงชนชั้นกลางและชั้นสูง แต่ทำไมเราไม่ใช้ความตื่นตัวที่หาได้แสนยากนี้ให้เป็นประโยชน์ในการปฏิรูปการเมือง ตรงข้ามหลายฝ่าย (โดยเฉพาะรัฐบาล) กลับอยากให้กระแสความตื่นตัวนี้จางหายไปด้วยวิธีการ “ สมานฉันท์” ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งก็ไม่แคล้วกลายเป็น “สมานกะฉัน” เพราะแต่ละฝ่ายก็ต้องการให้เกิดประโยชน์ต่อฝ่ายตนมากที่สุดด้วยกันทั้งสิ้น
วิธีการที่ขอเสนอคือ (ความจริงเสนอมา 2 ปีและหลายครั้งแล้ว) ให้รัฐบาลจัดเวทีระดับชาติให้แกนนำของทั้งสองฝ่าย (เสื้อเหลือง เสื้อแดง) ได้มาโต้วาทีการเมืองกัน เช่น โดยผ่านระบบโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ทั้งนี้โดยมีคนกลางซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันเป็นผู้ดำเนินรายการ ในแต่ละเวทีก็ให้มีประเด็นร้อนต่างๆ เป็นการเฉพาะ ส่วนทักษิณนั้นจะโฟนอินเข้ามาก็ย่อมได้ จะได้โต้กันซึ่งหน้าไม่ให้มีอะไรค้างคาใจกันอีกต่อไป และไม่ต้องไปแทงกันข้างหลัง อ้างข้อมูลเถื่อนกันอีกต่อไป
ควรจัดการโต้เวทีนี้สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ครั้งละ 1 ชม. เป็นเวลาสัก 3 เดือน เชื่อว่าเรตติ้งจะกระฉูด คนไทยจะเรียนรู้การเมืองมากขึ้น ได้ข้อมูลมากขึ้น ซึ่งความรู้ทำให้เข้าใจ เมื่อเข้าใจซึ่งกันและกันก็จะหายหรือลดระดับความโกรธเกลียดกันลงไปได้มาก ก็เป็นการสมานฉันท์ สังเกตดูสิทุกวันนี้ปัจเจกชนธรรมดาที่โกรธเกลียดกันนั้นลองไปสืบดูเถอะเป็นเพราะเข้าใจผิด หรือได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเสีย 99% ที่โกรธกันแบบบริสุทธิ์จริงๆ นั้น มีไม่ถึง 1% หรอก
การจัดเวทีนั้นอาจจัดที่สนามกีฬาแห่งชาติไปเลย แล้วมีการถ่ายทอดสด อัฒจันทร์ทั้งสองฟากก็แบ่งกันคนละครึ่งระหว่างกองเชียร์เสื้อเหลืองเสื้อแดง พอเสร็จงานอาจจัดงานเลี้ยงต่อเพื่อสังสรรค์กันข้ามสีเสื้อก็ยังได้ หรือจัดให้มีประชุมกลุ่มย่อย ให้พวกแกนนำได้ประชุมกลุ่มย่อยต่อไป (เพื่อลดโมเมนตัมทางอารมณ์จากการฟังแกนนำโต้วาทีกัน)
นอกจากสมานฉันท์แล้วยังเป็นการปฏิรูปการเมืองไปด้วยในตัว (เพราะคนมีความรู้ทางการเมืองมากขึ้น) ส่งผลให้การซื้อเสียงลดลง ซึ่งจะทำให้เราได้นักการเมืองที่ดีขึ้นเข้าสู่สภาและรัฐบาล ในระหว่างโต้วาทีนี้ก็เป็นการซื้อเวลาให้รัฐบาลไปด้วยในตัว งบประมาณก็ใช้น้อยมากอีกต่างหาก
2. กองทัพไทย (การลงทุนที่คุ้มค่า?)
กรณีพิพาทเขาพระวิหาร ทำให้ได้คิดว่าประเทศไทยเราลงทุนสร้างกองทัพด้วยเงินมหาศาลมานานในการเลี้ยงดู ฝึกปรือกำลังพล และซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยจำนวนมาก รวมทั้งสร้างสนามกอล์ฟ สโมสร ระบบประกันสุขภาพหลังเกษียณและสวัสดิการอื่นๆ ให้กำลังพลของเราอีกมาก
แต่พอถึงเวลาจะใช้ประโยชน์จากกองทัพบ้าง เช่น กรณีพิพาทเล็กน้อยกับประเทศเล็กๆ ทหารไทยเราก็ไม่ค่อยยอมทำหน้าที่เลย ผู้นำแต่ละคนออกมาให้สัมภาษณ์ก็เอาแต่จะใช้วิธี “เจรจา” กันหมดทุกคน
โดยทหารพวกนี้หารู้ไม่ว่าการเจรจาที่จะได้ผลดีต่อเรานั้นมันต้องได้เปรียบทางทหารเสียก่อน เช่น บุกยึดพื้นที่ไว้ให้ได้หมดเสียก่อน (เช่น ที่อิสราเอลทำกับอาหรับอยู่ตลอดเวลา) แต่ทหารไทย (ที่ส่วนใหญ่พุงพลุ้ย) อึกอักอะไรก็อ้างการเจรจา...ไม่อยากให้เสียความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้าน ปล่อยให้เพื่อนบ้านมันเกทับบลัฟแหลกจนน้ำลายกระเซ็นรดหัวคนไทยไปหมดทั้งประเทศแล้ว
เอ้า...ฝากท่านแม่ทัพนายกองเอาไว้เป็นประเด็นถกกันที่มุมกรีนหลุม 18 หรือที่ห้อง VIP สโมสรหลังแก้วเบียร์เย็นๆ ภายหลังจบเกมก็ได้นะครับ หรือว่าอาจเจรจาขอปรับพื้นที่รอบเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ร่วมในการสร้างสนามกอล์ฟให้ทหารไทยกับทหารเขมรสามารถใช้ร่วมกันได้ ก็คงเป็นการได้นกสองตัวไปเลยนะครับ