เอแบคโพลล์ ชี้ ปชช.เกือบร้อยละ 70 ไม่เคยอ่าน รธน.ฉบับปี 40-50 ระบุนักการเมืองท้องถิ่น-นักวิเคราะห์ มีอิทธิพลชี้นำการตัดสินใจ ขณะที่ ผอ.เอแบคโพลล์ ห่วงปชช.อาจถูกชี้นำในการลงประชามติ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญทั้งฉบับปี 40 และฉบับปี 50 แนะฝ่ายเกี่ยวข้อง เร่งทำความเข้าใจให้กับสาธารณชน
วันนี้ (11 ต.ค.) นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศ ตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยสำรวจ เรื่อง สำรวจการอ่านรัฐธรรมนูญ ศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ 1,438 ครัวเรือน สำรวจในวันที่ 10 ตุลาคม พบว่า ประชาชนร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
แต่เมื่อถามถึงประสบการณ์การอ่านรัฐธรรมนูญปี 40 และ ปี 50 พบสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ คือ ร้อยละ 68.1 ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญปี 40 ร้อยละ 65.2 ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญปี 50 นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.3 ยังคงคิดด้วยว่า ประชาชนเองก็ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจมาเพียงพอ ถ้าจะต้องตัดสินใจลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า คนกลุ่มใดมีอิทธิพลชี้นำการตัดสินใจ พบว่า ร้อยละ 56.8 ระบุเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ร้อยละ 56.4 นักวิเคราะห์ข่าวนักจัดรายการวิทยุ ทีวี นักเขียนคอลัมน์หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 56.3 ระบุนักการเมืองระดับชาติ รัอยละ 55.2 ระบุแกนนำชุมชนร้อยละ 51.0 ระบุนักวิชาการ ร้อยละ 47.8 ระบุข้าราชการฝ่ายปกครอง เช่น นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ร้อยละ 32.9 ระบุ ตำรวจ ร้อยละ 32.7 ระบุทหาร และร้อยละ 32.3 ระบุนักธุรกิจ ตามลำดับ
ที่น่ายินดี คือ ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 63.6 มองว่า เป็นเรื่องปกติธรรมดาของสังคมประชาธิปไตย ไม่ว่าผลการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างไร ร้อยละ 36.4 มองว่า จะเป็นการตอกย้ำภาพความขัดแย้งของคนในชาติ
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้น่าเป็นห่วง ว่า ประชาชนจำนวนมากอาจถูกชี้นำในการลงประชามติ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญทั้งฉบับปี 40 และฉบับปี 50 ดังนั้น ฝ่ายการเมือง และสถาบันสื่อสารมวลชนทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ควรเร่งทำความเข้าใจให้กับสาธารณชน เรื่องสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนรับรู้รับทราบเนื้อหารายละเอียดที่แท้จริงมากที่สุด ก่อนตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอิสระ ไม่ให้คนอื่นมาชี้นำการตัดสินใจได้
วันนี้ (11 ต.ค.) นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศ ตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยสำรวจ เรื่อง สำรวจการอ่านรัฐธรรมนูญ ศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ 1,438 ครัวเรือน สำรวจในวันที่ 10 ตุลาคม พบว่า ประชาชนร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
แต่เมื่อถามถึงประสบการณ์การอ่านรัฐธรรมนูญปี 40 และ ปี 50 พบสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ คือ ร้อยละ 68.1 ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญปี 40 ร้อยละ 65.2 ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญปี 50 นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.3 ยังคงคิดด้วยว่า ประชาชนเองก็ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจมาเพียงพอ ถ้าจะต้องตัดสินใจลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า คนกลุ่มใดมีอิทธิพลชี้นำการตัดสินใจ พบว่า ร้อยละ 56.8 ระบุเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ร้อยละ 56.4 นักวิเคราะห์ข่าวนักจัดรายการวิทยุ ทีวี นักเขียนคอลัมน์หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 56.3 ระบุนักการเมืองระดับชาติ รัอยละ 55.2 ระบุแกนนำชุมชนร้อยละ 51.0 ระบุนักวิชาการ ร้อยละ 47.8 ระบุข้าราชการฝ่ายปกครอง เช่น นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ร้อยละ 32.9 ระบุ ตำรวจ ร้อยละ 32.7 ระบุทหาร และร้อยละ 32.3 ระบุนักธุรกิจ ตามลำดับ
ที่น่ายินดี คือ ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 63.6 มองว่า เป็นเรื่องปกติธรรมดาของสังคมประชาธิปไตย ไม่ว่าผลการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างไร ร้อยละ 36.4 มองว่า จะเป็นการตอกย้ำภาพความขัดแย้งของคนในชาติ
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้น่าเป็นห่วง ว่า ประชาชนจำนวนมากอาจถูกชี้นำในการลงประชามติ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญทั้งฉบับปี 40 และฉบับปี 50 ดังนั้น ฝ่ายการเมือง และสถาบันสื่อสารมวลชนทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ควรเร่งทำความเข้าใจให้กับสาธารณชน เรื่องสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนรับรู้รับทราบเนื้อหารายละเอียดที่แท้จริงมากที่สุด ก่อนตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอิสระ ไม่ให้คนอื่นมาชี้นำการตัดสินใจได้