กมธ.สธ.วุฒิฯ ตั้งคณะทำงานตรวจสอบงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็ง จัดซื้อครุภัณฑ์ เชื่อข้อมูลทุจริตจะโผล่ออกมาเรื่อยๆ เปรียบเสมือนน้ำท่วมเขื่อนแตก งบประมาณทะลัก พบกลิ่นทุจริตในกระทรวงคมนาคม เกษตรฯ ศึกษาฯ ทรัพยากรฯ
วันนี้ (9 ต.ค.) ที่รัฐสภา นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา รองประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า จากข้อสงสัยที่อาจมีการทุจริตในการจัดซื้อครุภัณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข โครงการไทยเข้มแข็ง จึงได้เสนอวาระเพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการติดตามงบประมาณไทยเข้มแข็งด้านสาธารณสุข เพื่อตรวจสอบการใช้งบประมาณดังกล่าวของรัฐบาล เพราะจากการติดตามเบื้องต้นเห็นว่าน่าจะมีปัญหาในการใช้งบดังกล่าว ตรงนี้ต้องให้เครดิตกลุ่มแพทย์ชนบทที่ออกมาเปิดเผยเรื่องนี้ จากการติดตามเบื้องต้นพบว่าปัญหาส่วนหนึ่งมาจากสำนักงบประมาณด้วย ที่ให้เวลาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รสต.) ตั้งเรื่องเสนอและส่งรายการน้อยมากเพียง 2-3 วัน ทำให้เกิดช่องโหว่และไม่รอบคอบ ดังนั้น เมื่องบมาเร็วบวกกับเป็นก้อนโตและมีการเร่งรัดจัดซื้อ จึงเหมือนน้ำท่วมเขื่อนแตก งบประมาณทะลัก ซึ่งปัญหาคือทำไมต้องเร่งรัดขนาดนั้น ทำให้หน่วยระดับล่างเตรียมตัวไม่ทัน และมีคนชี้นำเลยมีปัญหาเกิดขึ้น
นพ.เจตน์ กล่าวต่อว่า กรอบการตรวจสอบของคณะอนุกรรมาธิการ จะดูตั้งแต่การตั้งโครงการ การส่งรายการจัดซื้อ และหลังการจัดซื้อ ว่าเหมาะสม ถูกต้องหรือไม่ มีล็อกสเปก ราคาแพงไหม ใช้ประโยชน์คุ้มหรือไม่ เพราะเชื่อว่าข้อมูลทุจริตจะโผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ และนอกจากของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ยังมีกระทรวงคมนาคม ศึกษาธิการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรฯ ซึ่งเป็นกระทรวงหลักที่จะได้งบก้อนนี้ จะได้เป็นการป้องปรามให้ระมัดระวังอย่าให้เกิดการทุจริต และขอให้ประชาชนช่วยกันจับตามองด้วย หากมีข้อมูลสามารถส่งมายังคณะกรรมาธิการได้
วันนี้ (9 ต.ค.) ที่รัฐสภา นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา รองประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า จากข้อสงสัยที่อาจมีการทุจริตในการจัดซื้อครุภัณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข โครงการไทยเข้มแข็ง จึงได้เสนอวาระเพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการติดตามงบประมาณไทยเข้มแข็งด้านสาธารณสุข เพื่อตรวจสอบการใช้งบประมาณดังกล่าวของรัฐบาล เพราะจากการติดตามเบื้องต้นเห็นว่าน่าจะมีปัญหาในการใช้งบดังกล่าว ตรงนี้ต้องให้เครดิตกลุ่มแพทย์ชนบทที่ออกมาเปิดเผยเรื่องนี้ จากการติดตามเบื้องต้นพบว่าปัญหาส่วนหนึ่งมาจากสำนักงบประมาณด้วย ที่ให้เวลาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รสต.) ตั้งเรื่องเสนอและส่งรายการน้อยมากเพียง 2-3 วัน ทำให้เกิดช่องโหว่และไม่รอบคอบ ดังนั้น เมื่องบมาเร็วบวกกับเป็นก้อนโตและมีการเร่งรัดจัดซื้อ จึงเหมือนน้ำท่วมเขื่อนแตก งบประมาณทะลัก ซึ่งปัญหาคือทำไมต้องเร่งรัดขนาดนั้น ทำให้หน่วยระดับล่างเตรียมตัวไม่ทัน และมีคนชี้นำเลยมีปัญหาเกิดขึ้น
นพ.เจตน์ กล่าวต่อว่า กรอบการตรวจสอบของคณะอนุกรรมาธิการ จะดูตั้งแต่การตั้งโครงการ การส่งรายการจัดซื้อ และหลังการจัดซื้อ ว่าเหมาะสม ถูกต้องหรือไม่ มีล็อกสเปก ราคาแพงไหม ใช้ประโยชน์คุ้มหรือไม่ เพราะเชื่อว่าข้อมูลทุจริตจะโผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ และนอกจากของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ยังมีกระทรวงคมนาคม ศึกษาธิการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรฯ ซึ่งเป็นกระทรวงหลักที่จะได้งบก้อนนี้ จะได้เป็นการป้องปรามให้ระมัดระวังอย่าให้เกิดการทุจริต และขอให้ประชาชนช่วยกันจับตามองด้วย หากมีข้อมูลสามารถส่งมายังคณะกรรมาธิการได้