“เรื่องมันฟ้อง” โดย กรงเล็บ
ผ่านพ้นเดือนกันยายนไปแล้ว แต่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้ตัวปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่ มาแทน นายนัที เปรมรัศมี ที่เพิ่งเกษียณอายุราชการไปหมาดๆ
สาเหตุเป็นเพราะเกิดการงัดข้อกันระหว่างฝ่ายการเมือง คือ “สาทิตย์ วงศ์หนองเตย” รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กับ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งพ้นเก้าอี้ไป
ข่าววงในระบุว่าปัญหาเริ่มต้นจาก “สาทิตย์” ต้องการชื่อ “จาดุร อภิชาตบุตร” ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย มาดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
แต่บังเอิญว่า “นัที” ไม่เห็นด้วยและปฏิเสธที่จะเสนอชื่อ “จาดุร” เนื่องจากขบเหลี่ยมกันอย่างแรงตั้งแต่สมัยที่เป็นรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีด้วยกัน จึงยื่นข้อเสนอไปยัง “สาทิตย์” ว่า
จะให้ใครเป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่คนที่ชื่อ “จาดุร”
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ระดับ 11 มีมติ ก.พ.วันที่ 30 กันยายน 2540 ระบุว่า ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมที่จะได้รับการเลื่อนขั้นให้ดำรงตำแหน่งระดับ 11 ตามแนวการพิจารณาในมาตรา 59
โดยปลัดกระทรวงเป็นผู้เสนอรายชื่อผู้ที่เหมาะสม เมื่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาได้ผู้ที่เหมาะสมแล้ว จึงดำเนินการตามขั้นตอนการแต่งตั้งตามมาตรา 52 ต่อไป
ในกรณีที่ปลัดกระทรวงไม่เสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือไม่มีผู้เสนอชื่อ หรือผู้มีหน้าที่ต้องเสนอชื่อ เสนอชื่อตนเอง รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีสิทธิเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมได้ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนการแต่งตั้งตามมาตรา 52 ต่อไป
จากมติ กพ.ที่ระบุชัดว่า รัฐมนตรีจะพิจารณาเลือกคนเป็นปลัดได้ จากรายชื่อที่เสนอโดยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเท่านั้น และไม่มีสิทธิ์ที่จะเสนอชื่อขึ้นมาเองได้ นอกจากจะเข้าเงื่อนไขในวรรคสองข้างต้น
แผน “หักเหลี่ยมเฉือนคม” จึงเริ่มต้นขึ้น
“สาทิตย์” ตกลงกับ “นัที” ว่าจะไม่เลือก “จาดุร” เป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และระบุชื่อ “ธงทอง จันทรางศุ” เลขาธิการสภาการศึกษามาทำหน้าที่นี้ แต่ขอให้ “นัที” ระบุรายชื่อบุคคลอื่นเข้ามาประกอบ เพื่อให้เห็นว่ามีตัวเลือกในการพิจารณา
ซึ่งแน่นอนว่า มีการกำหนดให้ใส่ชื่อ “จาดุร”
เมื่อตกลงกันได้ดังนี้ “นัที” จึงทำหนังสือ นร.0102/460 ลงวันที่ 14 กันยายน 2552 ระบุรายชื่อที่อยู่ในข่ายการพิจารณาให้เป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 4 คน คือ นายจตุรงค์ ปัญญาดิเรก รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ซึ่งเหลืออยู่คนเดียว เนื่องจากรองปลัดอีกสองคนเกษียณอายุในปีนี้) นายปราโมทย์ รัฐวินิจ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ นายจาดุร อภิชาตบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และนายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา
โดยในหนังสือดังกล่าว “นัที” ยังระบุด้วยว่าได้พิจารณาแล้วเห็นว่า “นายธงทอง” มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด จึงเสนอให้เป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็เป็นไปตามที่ได้ตกลงกับ “สาทิตย์” ไว้ก่อนหน้านี้
ปัญหาคงไม่เกิดหาก “สาทิตย์” จะไม่หักหลัง “นัที” ด้วยการเปลี่ยนชื่อคนที่ควรเป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีใหม่จาก “ธงทอง” เป็น “จาดุร” เพื่อนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 15 กันยายน 2552
ทุกอย่างคงเข้าทาง “สาทิตย์” ไปแล้ว หากเลขาฯ ครม.จะไม่ดึงเรื่องนี้ออก โดยไม่มีการเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณานำเข้าสู่การประชุม ครม. เนื่องจากเห็นว่า การกระทำของ “สาทิตย์” น่าจะขัดกับมติ ก.พ. เนื่องจากในหนังสือของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีระบุชัดว่าเสนอชื่อ “ธงทอง” ส่วนรายชื่ออื่นเป็นเพียงข้อพิจารณาก่อนจะคัดเลือกคนที่เหมาะสม ซึ่งก็คือ “ธงทอง” แต่ “สาทิตย์” กลับมาเปลี่ยนชื่อเป็น “จาดุร”
ความก็เลยแตกว่า “สาทิตย์” วางหลุมพรางให้ “นัที” หลงกลเสนอชื่อ “จาดุร” เนื่องจากหาก “นัที” ไม่เสนอ “สาทิตย์” ก็ไม่สามารถเสนอชื่อเองได้
เรื่องนี้ทำให้ “นัที” โกรธมาก และหัก “สาทิตย์”
ทำหนังสือที่ นร 0102/465 ลงวันที่ 16 กันยายน 2552 ขอถอนเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับวันที่ 14 กันยายน
ขณะเดียวกันก็ทำหนังสือที่ นร 0102/466 ลงวันที่ 16 กันยายน เสนอให้อนุมัติแต่งตั้ง “จตุรงค์ ปัญญาดิลก” รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพียงชื่อเดียว เป็นการแก้เผ็ด “สาทิตย์” หลังจากที่ถูกหลอก
แต่ “สาทิตย์” ก็แสบยิ่งกว่าซีม่า เพราะเมื่อไม่มีชื่อคนที่ตัวเองต้องการให้เป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ก็เลยดองเรื่องไว้ไม่นำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. กระทั่ง “นัที” เกษียณอายุราชการ เกมทั้งหมดก็กลับมาอยู่ในมือของ “สาทิตย์” อีกครั้ง
เพราะเท่ากับว่า ไม่มีผู้เสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมเป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ทำให้เข้าเงื่อนไขตาม มติ กพ.ที่ระบุว่า ในกรณีที่ ปลัดกระทรวงไม่เสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือไม่มีผู้เสนอชื่อ หรือผู้มีหน้าที่ต้องเสนอชื่อ เสนอชื่อตนเอง รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีสิทธิเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมได้ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนการแต่งตั้งตามมาตรา 52 ต่อไป
คราวนี้หนทางก็โล่ง โปร่งสบายเพราะ “สาทิตย์” สามารถเสนอชื่อ “จาดุร” ได้ดังใจปรารถนาโดยไม่มีก้างขวางคอ
ความจริงเรื่องทุกอย่างคงจะดูดีกว่านี้ หาก “สาทิตย์” จะใช้วิธีการตรงไปตรงมา คือ เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกันก็ยังไม่ต้องเสนอชื่อปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เพียงแค่รอให้ “นัที” เกษียณอายุราชการไป ก็จะเข้าสู่เงื่อนไขตามมติ กพ.ที่ “สาทิตย์” สามารถเสนอชื่อเองได้
แต่ “สาทิตย์” กลับเลือกที่จะใช้อุบาย หลอกล่อให้ “นัที” ระบุรายชื่อ “จาดุร” พ่วงเข้ามาด้วย ดังที่เล่าในข้างต้น
พฤติกรรมของ “สาทิตย์” คงสะท้อนให้เห็นถึงนิสัยถาวรได้โดยไม่ต้องอรรถาธิบายขยายความต่อว่า บุคคลคนนี้เป็นคนเช่นไร
ขนาดจะแต่งตั้งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ยังพยายามเล่นแร่แปรธาตุ แล้วจะวางใจได้หรือว่า การบริหารงานในฐานะรัฐมนตรีจะซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ฝาก “อภิสิทธิ์” ไปคิดเป็นการบ้าน เผื่อจะได้คำตอบว่า
“อายุการเป็นรัฐมนตรีของคนชื่อ สาทิตย์ ไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากับอายุรัฐบาลก็ได้”
ผ่านพ้นเดือนกันยายนไปแล้ว แต่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้ตัวปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่ มาแทน นายนัที เปรมรัศมี ที่เพิ่งเกษียณอายุราชการไปหมาดๆ
สาเหตุเป็นเพราะเกิดการงัดข้อกันระหว่างฝ่ายการเมือง คือ “สาทิตย์ วงศ์หนองเตย” รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กับ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งพ้นเก้าอี้ไป
ข่าววงในระบุว่าปัญหาเริ่มต้นจาก “สาทิตย์” ต้องการชื่อ “จาดุร อภิชาตบุตร” ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย มาดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
แต่บังเอิญว่า “นัที” ไม่เห็นด้วยและปฏิเสธที่จะเสนอชื่อ “จาดุร” เนื่องจากขบเหลี่ยมกันอย่างแรงตั้งแต่สมัยที่เป็นรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีด้วยกัน จึงยื่นข้อเสนอไปยัง “สาทิตย์” ว่า
จะให้ใครเป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่คนที่ชื่อ “จาดุร”
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ระดับ 11 มีมติ ก.พ.วันที่ 30 กันยายน 2540 ระบุว่า ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมที่จะได้รับการเลื่อนขั้นให้ดำรงตำแหน่งระดับ 11 ตามแนวการพิจารณาในมาตรา 59
โดยปลัดกระทรวงเป็นผู้เสนอรายชื่อผู้ที่เหมาะสม เมื่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาได้ผู้ที่เหมาะสมแล้ว จึงดำเนินการตามขั้นตอนการแต่งตั้งตามมาตรา 52 ต่อไป
ในกรณีที่ปลัดกระทรวงไม่เสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือไม่มีผู้เสนอชื่อ หรือผู้มีหน้าที่ต้องเสนอชื่อ เสนอชื่อตนเอง รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีสิทธิเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมได้ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนการแต่งตั้งตามมาตรา 52 ต่อไป
จากมติ กพ.ที่ระบุชัดว่า รัฐมนตรีจะพิจารณาเลือกคนเป็นปลัดได้ จากรายชื่อที่เสนอโดยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเท่านั้น และไม่มีสิทธิ์ที่จะเสนอชื่อขึ้นมาเองได้ นอกจากจะเข้าเงื่อนไขในวรรคสองข้างต้น
แผน “หักเหลี่ยมเฉือนคม” จึงเริ่มต้นขึ้น
“สาทิตย์” ตกลงกับ “นัที” ว่าจะไม่เลือก “จาดุร” เป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และระบุชื่อ “ธงทอง จันทรางศุ” เลขาธิการสภาการศึกษามาทำหน้าที่นี้ แต่ขอให้ “นัที” ระบุรายชื่อบุคคลอื่นเข้ามาประกอบ เพื่อให้เห็นว่ามีตัวเลือกในการพิจารณา
ซึ่งแน่นอนว่า มีการกำหนดให้ใส่ชื่อ “จาดุร”
เมื่อตกลงกันได้ดังนี้ “นัที” จึงทำหนังสือ นร.0102/460 ลงวันที่ 14 กันยายน 2552 ระบุรายชื่อที่อยู่ในข่ายการพิจารณาให้เป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 4 คน คือ นายจตุรงค์ ปัญญาดิเรก รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ซึ่งเหลืออยู่คนเดียว เนื่องจากรองปลัดอีกสองคนเกษียณอายุในปีนี้) นายปราโมทย์ รัฐวินิจ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ นายจาดุร อภิชาตบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และนายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา
โดยในหนังสือดังกล่าว “นัที” ยังระบุด้วยว่าได้พิจารณาแล้วเห็นว่า “นายธงทอง” มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด จึงเสนอให้เป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็เป็นไปตามที่ได้ตกลงกับ “สาทิตย์” ไว้ก่อนหน้านี้
ปัญหาคงไม่เกิดหาก “สาทิตย์” จะไม่หักหลัง “นัที” ด้วยการเปลี่ยนชื่อคนที่ควรเป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีใหม่จาก “ธงทอง” เป็น “จาดุร” เพื่อนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 15 กันยายน 2552
ทุกอย่างคงเข้าทาง “สาทิตย์” ไปแล้ว หากเลขาฯ ครม.จะไม่ดึงเรื่องนี้ออก โดยไม่มีการเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณานำเข้าสู่การประชุม ครม. เนื่องจากเห็นว่า การกระทำของ “สาทิตย์” น่าจะขัดกับมติ ก.พ. เนื่องจากในหนังสือของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีระบุชัดว่าเสนอชื่อ “ธงทอง” ส่วนรายชื่ออื่นเป็นเพียงข้อพิจารณาก่อนจะคัดเลือกคนที่เหมาะสม ซึ่งก็คือ “ธงทอง” แต่ “สาทิตย์” กลับมาเปลี่ยนชื่อเป็น “จาดุร”
ความก็เลยแตกว่า “สาทิตย์” วางหลุมพรางให้ “นัที” หลงกลเสนอชื่อ “จาดุร” เนื่องจากหาก “นัที” ไม่เสนอ “สาทิตย์” ก็ไม่สามารถเสนอชื่อเองได้
เรื่องนี้ทำให้ “นัที” โกรธมาก และหัก “สาทิตย์”
ทำหนังสือที่ นร 0102/465 ลงวันที่ 16 กันยายน 2552 ขอถอนเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับวันที่ 14 กันยายน
ขณะเดียวกันก็ทำหนังสือที่ นร 0102/466 ลงวันที่ 16 กันยายน เสนอให้อนุมัติแต่งตั้ง “จตุรงค์ ปัญญาดิลก” รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพียงชื่อเดียว เป็นการแก้เผ็ด “สาทิตย์” หลังจากที่ถูกหลอก
แต่ “สาทิตย์” ก็แสบยิ่งกว่าซีม่า เพราะเมื่อไม่มีชื่อคนที่ตัวเองต้องการให้เป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ก็เลยดองเรื่องไว้ไม่นำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. กระทั่ง “นัที” เกษียณอายุราชการ เกมทั้งหมดก็กลับมาอยู่ในมือของ “สาทิตย์” อีกครั้ง
เพราะเท่ากับว่า ไม่มีผู้เสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมเป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ทำให้เข้าเงื่อนไขตาม มติ กพ.ที่ระบุว่า ในกรณีที่ ปลัดกระทรวงไม่เสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือไม่มีผู้เสนอชื่อ หรือผู้มีหน้าที่ต้องเสนอชื่อ เสนอชื่อตนเอง รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีสิทธิเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมได้ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนการแต่งตั้งตามมาตรา 52 ต่อไป
คราวนี้หนทางก็โล่ง โปร่งสบายเพราะ “สาทิตย์” สามารถเสนอชื่อ “จาดุร” ได้ดังใจปรารถนาโดยไม่มีก้างขวางคอ
ความจริงเรื่องทุกอย่างคงจะดูดีกว่านี้ หาก “สาทิตย์” จะใช้วิธีการตรงไปตรงมา คือ เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกันก็ยังไม่ต้องเสนอชื่อปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เพียงแค่รอให้ “นัที” เกษียณอายุราชการไป ก็จะเข้าสู่เงื่อนไขตามมติ กพ.ที่ “สาทิตย์” สามารถเสนอชื่อเองได้
แต่ “สาทิตย์” กลับเลือกที่จะใช้อุบาย หลอกล่อให้ “นัที” ระบุรายชื่อ “จาดุร” พ่วงเข้ามาด้วย ดังที่เล่าในข้างต้น
พฤติกรรมของ “สาทิตย์” คงสะท้อนให้เห็นถึงนิสัยถาวรได้โดยไม่ต้องอรรถาธิบายขยายความต่อว่า บุคคลคนนี้เป็นคนเช่นไร
ขนาดจะแต่งตั้งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ยังพยายามเล่นแร่แปรธาตุ แล้วจะวางใจได้หรือว่า การบริหารงานในฐานะรัฐมนตรีจะซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ฝาก “อภิสิทธิ์” ไปคิดเป็นการบ้าน เผื่อจะได้คำตอบว่า
“อายุการเป็นรัฐมนตรีของคนชื่อ สาทิตย์ ไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากับอายุรัฐบาลก็ได้”