วิปรัฐบาลขอความร่วมมือ ประชุม 2 สภาร่วมอภิปรายแก้ไข รธน.อย่างสร้างสรรค์ ไฟเขียวแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2 วันเต็ม นำร่องคณะกรรมการสมานฉันท์รายงานสรุปต่อที่ประชุมใน 6 ประเด็น
วันนี้ (16 ก.ย.) นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงการประชุมร่วมรัฐสภาว่า ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานเพื่อประมมวลความคิดเห็นโดยมีนายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานคณทำงาน และมี น.ส.ผ่องศรี ธารากูล นายธนิตพล ชัยนันท์ เป็นเลาขานุการ ทั้งนี้ อยากเรียกร้องให้ทั้งสาม่ายรวบรวมประเด็นในการอภิปรายเพื่อจะได้แสวงหาความเห้นร่วมกัน ในการดำเนินการต่อไป และประเด็นที่ได้ตั้งข้อสังเกตไว้คือ ขอให้ประธานควบคุมการอภิปรายให้เป็นไปตามกรอบของรายงานของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งทุกฝ่ายอยากเห็นการอภิปรายครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิรูปการเมือง ลากรสร้างความสมานฉันท์ต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องการสร้าง ส.ส.ร.3 ตกลงเป็นมติวิปหรือเป็นมติของพรรคประชาธิปัตย์ นายชินวรณ์กล่าวว่า ต้องรับฟังความเห็นของเพื่อนรัฐสภาในวันนี้ว่าทางออกในการที่จะให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้าไปได้จะทำอย่างไร เพราะถ้าเพื่อนสมาชิกเห็นว่าการเสนอร่างของสมาชิกรัฐสภาอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน หรืออาจจะไปขัดต่อสถานะของการเป็นสมาชิกตามมาตรา 122 เกรงว่าจะไปกระทบหรือขัดต่อสถานะของสมาชิกจึงมีการถอนชื่อออกไป ดังนั้น ถ้ามีการยื่นจริงๆ ต้องคำนึงถึงประเด็นนี้ด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ล่าสุดนายอัขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด ไม่เห็นด้วยที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางประเด็น นายชินวรณ์กล่าว่วา มุมมองที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญมีหลากหลายมา พรรคร่วมรัฐบาลจึงตั้งหลักว่าเราควรที่จะแสวงหาความเห็นพ้องต้องกัน ถ้าทุกฝ่ายเห็นว่ากระบวนการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้าวความสมานฉันท์ ทุกฝ่ายต้องยอมรับในประเด็นที่เห็นพ้องต้องกันก่อน หลังจากนั้นทุกฝ่ายต้องยอมรับหลังจากกติกานี้ผ่านความเห็นชอบแล้ว จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างคาวมาสมานฉันท์ ร่วทั้งต้องมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ออกมาดำเนินการรองรับกระบวนการอื่น เช่น การเลือกตั้งให้เป้นไปโดยสันติวิธี ตนจึงอยากเรียกร้องว่าการอภิปรายในวันนี้ขอให้มุ่งเน้นเรื่องจุดยืน และกระบวนการที่จะสู่การส้รางความสมานฉันท์ และสร้างความคาดหวังให้กับประชาชนว่ากลไกของรัฐสภาเป็นทางออกของบ้านเมือง และไม่อยากเห็นใครก็ตามอภิปรายให้เกิดความขัดแย้ง เพราะการเคลื่อนไหวนอกรัฐสภาก็เป็นที่ทราบกันอยู่ ดังนั้น สมาชิกรัฐสภาต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันด้วย
นายชินวรณ์กล่าวว่า เรารับฟังกระแสของสังคมเพราะเป็นหน้าที่ที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักในเรื่องนี้ ต้องยอมรับว่าตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 50 การร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ได้ผ่านกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วม และในช่วงหลังมีการผ่านการลงประชามติ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแนวความคิดของสมาชิกว่าจะมีประเด็นใดที่ไม่เห็นพ้องต้องกัน การที่จะสอบถามความเห็นชองประชาชนถือเป้นเรื่องที่สอดรับกับแนวความคิดที่มีการทำประชามติอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประชาชนมองว่านักการเมืองตั้งประเด็นที่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง นายชินวรณ์กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องชี้แจงให้เกิดความเข้าว่าปัญหาทางการเมืทองต้องแก้ด้วยการเมือง ประเด็นใดที่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ถ้าการเมืองกลับมาสมานฉันท์ก็จะมีส่วนกับผลประโยชน์ของประชาชนด้วย ขณธเดียวกันถึงแม้ว่าจเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ตนเห้นว่ากระบวนการที่ดำเนินการควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า จริงหรือไม่ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ บอกกับ ส.ส.ที่ประชุมพรรคว่ารับปากกับพรรคร่วมรัฐบาลว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายชินวรณ์กล่าวว่า ข้อเท็จจริงคือพรรคต้องแสดงจุดยืนในทางการเมืองที่ชัดเจนและทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและปฏิรูปการเมืองอย่างรอบด้าน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นนโยบายของรัฐบาลในส่วนของพรรคร่งมรัฐบาล ขณะนี้ทุกพรรคยอมรับว่าถ้ามีส่วนใดที่ทำให้การเมืองเดินหน้าต่อไปได้ ก็ต้องยอมรับมติเสียงส่วนใหญ่ที่จะดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ คิดว่าหลังจากได้รับฟังการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภาแล้วก็จะมีความชัดเจน ซึ่งวิปก็จะได้เสนอเรื่องนี้ไปให้แกนนำรัฐบาลต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายค้านเป็นห่วงว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และต้องการซื้อเวลา นายชินวรณ์กล่าวว่า อยากจะเรียกร้องให้ฝ่ายค้านเสนอประเด็นมาให้ชัดเจน เพราะเสียงพรรคร่วมรัฐบาลไม่เพียงพอ ถ้าฝ่ายค้านและ ส.ว.อยากเห็นว่าแก้ไขประเด็นใดก็ให้เสนอมา ตนไม่อยากจะให้ใครไปติติงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป้นความรับผิดชอบร่วมกัน
ส่วนกรณีที่นายสมเกียตริ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้เสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญมาล่วงหน้าและถอนชื่อไป ตนถือว่าเป็นเรื่องที่อยากให้สังคมติดตามด้วย เพราะการแก้ไขกฎมหายรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญปี 50 มีบทที่ต้องคำนึงถึงว่าจะมีผลประโยชน์ขัดกันต่อสถานะของสมาชิกหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีผลกระทบต่อความเห็นพ้องต้องกันที่จะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคต
ผู้สื่อข่าวถามว่า การอภิปรายในวันนี้จะเป็นการให้ส.ส.มาระบายอารมณ์กันหรือไม่และท้ายที่สุดก็ไม่ได้อะไร นายชินวรณ์กล่าวว่า ส่วนอื่นไม่ทราบ แต่พรรคร่วมรัฐบาลได้กำหนดทิศทางชัดเจนเห็นได้ว่าวันนี้มีผู้ใหญ่ที่จะมาแสดงจุดยืนทางการเมืองในส่วนพรรคประชาธิปัตย์มีหลายคน ที่คร่ำวอดทางการเมืองและติดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจะได้แสดงจุดยืนอีกครั้ง ตนคิดว่าถ้าทุกง่ายได้วางหลักว่าเราต้องการให้เรื่องนี้เดินไปข้างหน้าก็จะได้เห็นภาพชัดเจน หลังจากการอภิปรายในวันที่สองแล้ว ทั้งนี้ ถ้าที่ประชุมเห้นพ้องต้องกันว่าจะให้แก้ไขเป็นรายประเด็นหรือให้มีการตั้ง ส.ส.ร.ก็พร้อมที่จะเดินหน้าต่อไป ซึ่งอยู่ในกรอบที่เราต้องคุยกันว่าหากมีการตั้ง ส.ส.ร.3 ก็คงต้องแกตต่างจาก ส.ส.ร.ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ดำเนิการโดยสมาชิกรัฐสภาฉะนั้นต้องยืดโยงกับสมาชิกรัฐสภา