“พรรคปลาไหล” หนุนอีกแรงแก้รัฐธรรมนูญ เร่งต้องให้แล้วเสร็จก่อนปิดสมัยประชุมนิติบัญญัติ วอน “พันธมิตรฯ-ส.ว.-พีเน็ต” ฟังความเห็นที่แตกต่างบ้าง
วันนี้ (11 ก.ย.) ที่พรรคชาติไทยพัฒนา นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา แถลงว่า ในการประชุมร่วมสองสภาเพื่ออภิปรายผลการศึกษาของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 16-17 ก.ย.นี้ พรรคขอย้ำจุดยืนในการเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการแก้ไขจะแก้กี่ประเด็นแล้วแต่เสียงส่วนใหญ่จะเห็นพ้อง และให้การสนับสนุน ทั้งนี้ พรรคเห็นว่าประเด็นที่ควรเร่งแก้ไข คือ มาตรา 190 และประเด็นที่เกี่ยวกับวิธีเลือกตั้งทั้งหมด อย่างไรก็ดี พรรคมีจุดยืนเรื่องกรอบเวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าควรดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตินี้ หรือแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 28 พ.ย.
นายวัชระกล่าวอีกว่า ตนได้เห็นผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนของสวนดุสิตโพลโดยมีผลสำรวจความเห็นว่าควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผลการสำรวจร้อยละ 40 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 39.91 เห็นควรให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนที่คัดค้านไม่เห็นด้วยมีเพียงร้อยละ 19 จากผลสำรวจนี้ ทำให้เห็นว่าถ้ารวมส่วนของความไม่แน่ใจกับเสียงสนับสนุนกล่าวได้ว่ามีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70 ที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตนเห็นว่าผลสำรวจของกลุ่มที่ไม่แน่ใจอาจะเป็นเพราะยังไม่ทราบข้อเท็จจริงหรือยังไม่มีข้อมูล นอกจากนี้มีผลสำรวจประเด็นมาตราที่ต้องการให้มีการแก้ไข คือมาตรา 237 และบทบัญญัติที่เกี่ยวกับที่มาของ ส.ส. ซึ่งตรงนี้ขอตั้งข้อสังเกตไว้
โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนากล่าวต่อว่า ส่วนผู้ที่ออกมาคัดค้านเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง ส.ว.บางส่วน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพีเน็ตนั้น พรรคยอมรับในความเห็นที่แตกต่างและยอมรับการคัดค้าน แต่สิ่งที่อยากเรียกร้องคือขอให้ผู้ที่คัดค้านยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างไปด้วย
“ผมขอเรียกร้องไปยังกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะผมไม่แน่ใจว่าพันธมิตรฯ ออกมาคัดค้านในสถานะใด ในสถานภาพของกลุ่มการเมืองภาคประชาชนหรือกลุ่มพรรคการเมืองใหม่ เพราะหากเป็นการคัดค้านในฐานะพรรคการเมืองใหม่ ต่อไปท่านก็ต้องเป็นพรรคการเมืองในสภาพรรคหนึ่งในอนาคต ผมจึงไม่เข้าใจว่าข้อเสนอของพันธมิตรฯ ออกมาจากส่วนไหน ส่วนข้อเสนอพีเน็ตเป็นข้อเสนอที่พอฟังได้ แต่ที่เสนอว่าใกล้ยุบสภาค่อยมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผมอยากถามว่าใครจะทราบว่าจะยุบสภาเมื่อใด เพราะเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีเท่านั้นที่จะรู้ และพรรคยืนยันชัดเจนและเราเปิดหน้าชกเรื่องนี้มาตลอด เพราะสุดท้ายทุกพรรคได้ประโยชน์จากเรื่องนี้หมด ดังนั้นจึงอยากให้ผู้คัดค้านเสนอทางออกด้วยว่าจะแก้มาตราไหน หรือจะให้ทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เราปฏิเสธไม่ได้ว่าวันนี้รัฐธรรมนูญไม่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย อย่าเหมารวมว่าความคิดเห็นของท่านจะต้องถูกต้องดีงามเหนือคนอื่นจนทุกคนต้องเห็นตาม” นายวัชระกล่าว
เมื่อถามถึงข้อเสนอการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายวัชระกล่าวว่า การตั้ง ส.ส.ร.3 เป็นสิ่งที่พรรคไม่ได้คัดค้าน แต่จุดยืนของพรรคมองว่าการมี ส.ส.ร.เป็นเรื่องที่ยังไม่จำเป็นในเวลานี้
วันนี้ (11 ก.ย.) ที่พรรคชาติไทยพัฒนา นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา แถลงว่า ในการประชุมร่วมสองสภาเพื่ออภิปรายผลการศึกษาของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 16-17 ก.ย.นี้ พรรคขอย้ำจุดยืนในการเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการแก้ไขจะแก้กี่ประเด็นแล้วแต่เสียงส่วนใหญ่จะเห็นพ้อง และให้การสนับสนุน ทั้งนี้ พรรคเห็นว่าประเด็นที่ควรเร่งแก้ไข คือ มาตรา 190 และประเด็นที่เกี่ยวกับวิธีเลือกตั้งทั้งหมด อย่างไรก็ดี พรรคมีจุดยืนเรื่องกรอบเวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าควรดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตินี้ หรือแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 28 พ.ย.
นายวัชระกล่าวอีกว่า ตนได้เห็นผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนของสวนดุสิตโพลโดยมีผลสำรวจความเห็นว่าควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผลการสำรวจร้อยละ 40 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 39.91 เห็นควรให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนที่คัดค้านไม่เห็นด้วยมีเพียงร้อยละ 19 จากผลสำรวจนี้ ทำให้เห็นว่าถ้ารวมส่วนของความไม่แน่ใจกับเสียงสนับสนุนกล่าวได้ว่ามีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70 ที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตนเห็นว่าผลสำรวจของกลุ่มที่ไม่แน่ใจอาจะเป็นเพราะยังไม่ทราบข้อเท็จจริงหรือยังไม่มีข้อมูล นอกจากนี้มีผลสำรวจประเด็นมาตราที่ต้องการให้มีการแก้ไข คือมาตรา 237 และบทบัญญัติที่เกี่ยวกับที่มาของ ส.ส. ซึ่งตรงนี้ขอตั้งข้อสังเกตไว้
โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนากล่าวต่อว่า ส่วนผู้ที่ออกมาคัดค้านเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง ส.ว.บางส่วน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพีเน็ตนั้น พรรคยอมรับในความเห็นที่แตกต่างและยอมรับการคัดค้าน แต่สิ่งที่อยากเรียกร้องคือขอให้ผู้ที่คัดค้านยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างไปด้วย
“ผมขอเรียกร้องไปยังกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะผมไม่แน่ใจว่าพันธมิตรฯ ออกมาคัดค้านในสถานะใด ในสถานภาพของกลุ่มการเมืองภาคประชาชนหรือกลุ่มพรรคการเมืองใหม่ เพราะหากเป็นการคัดค้านในฐานะพรรคการเมืองใหม่ ต่อไปท่านก็ต้องเป็นพรรคการเมืองในสภาพรรคหนึ่งในอนาคต ผมจึงไม่เข้าใจว่าข้อเสนอของพันธมิตรฯ ออกมาจากส่วนไหน ส่วนข้อเสนอพีเน็ตเป็นข้อเสนอที่พอฟังได้ แต่ที่เสนอว่าใกล้ยุบสภาค่อยมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผมอยากถามว่าใครจะทราบว่าจะยุบสภาเมื่อใด เพราะเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีเท่านั้นที่จะรู้ และพรรคยืนยันชัดเจนและเราเปิดหน้าชกเรื่องนี้มาตลอด เพราะสุดท้ายทุกพรรคได้ประโยชน์จากเรื่องนี้หมด ดังนั้นจึงอยากให้ผู้คัดค้านเสนอทางออกด้วยว่าจะแก้มาตราไหน หรือจะให้ทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เราปฏิเสธไม่ได้ว่าวันนี้รัฐธรรมนูญไม่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย อย่าเหมารวมว่าความคิดเห็นของท่านจะต้องถูกต้องดีงามเหนือคนอื่นจนทุกคนต้องเห็นตาม” นายวัชระกล่าว
เมื่อถามถึงข้อเสนอการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายวัชระกล่าวว่า การตั้ง ส.ส.ร.3 เป็นสิ่งที่พรรคไม่ได้คัดค้าน แต่จุดยืนของพรรคมองว่าการมี ส.ส.ร.เป็นเรื่องที่ยังไม่จำเป็นในเวลานี้