ส.ว.สุพรรณบุรี เดินหน้าล่ารายชื่อเพื่อน ส.ว.ร่วมแก้ รธน.อ้างให้เกียรติกรรมการสมานฉันท์จากทุกฝ่ายร่วมหาแนวทางสงบ พร้อมเสนอเพิ่มศาลยุติธรรมรับรองการเลือกตั้ง
วันนี้ (2 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา ว่า ในระหว่างการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 2 ก.ย.นั้นนายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี ได้เดินขอให้ ส.ว.ร่วมลงชื่อสนับสนุนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมี 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอ และอีก 1 ประเด็น คือ เรื่องเพิ่มอำนาจศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยปรากฏว่า ขณะนี้ ทั้ง ส.ว.เลือกตั้ง และสรรหาได้ร่วมลงชื่อกว่า 80 คนแล้ว ซึ่ง นายประสิทธิ์ ยังไม่ยุติจะเดินหน้าขอรายชื่อสนับสนุนโดยตั้งเป้าไว้ที่จำนวน 120 รายชื่อก่อนที่จะยื่นต่อไป
นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี กล่าวว่า ตนได้ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยประเด็นที่เสนอก็เป็นไปตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์สรุป ซึ่งที่ผ่านมาจำได้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็เห็นด้วยว่าควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการสมานฉันท์ได้พิจารณาศึกษาจนได้ข้อสรุปแล้วก็ควรจะดำเนินการต่อไป แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือต่อรองอำนาจแต่อย่างใด
นายยุทธ ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร กล่าวว่า ยอมรับว่าตนเป็นหนึ่งในคนที่ร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย เพราะเห็นว่าต้องให้เกียรติกับคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีทุกฝ่ายร่วมเป็นกรรมการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอแนวคิด โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาเป็นคนลงนามแต่งตั้ง เมื่อคณะกรรมการฯมีผลสรุปเห็นควรแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็นเพื่อยุติความขัดแย้ง ทั้งนี้ เราต้องยอมรับความจริงว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 มีปัญหาในบางมาตราซึ่งก็ควรมีการแก้ไข นอกเหนือจากนี้ ยังได้เสนออีก 1 ประเด็นคือ การเพิ่มอำนาจของศาลยุติธรรมในการรับรองผลการเลือกตั้ง
วันนี้ (2 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา ว่า ในระหว่างการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 2 ก.ย.นั้นนายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี ได้เดินขอให้ ส.ว.ร่วมลงชื่อสนับสนุนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมี 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอ และอีก 1 ประเด็น คือ เรื่องเพิ่มอำนาจศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยปรากฏว่า ขณะนี้ ทั้ง ส.ว.เลือกตั้ง และสรรหาได้ร่วมลงชื่อกว่า 80 คนแล้ว ซึ่ง นายประสิทธิ์ ยังไม่ยุติจะเดินหน้าขอรายชื่อสนับสนุนโดยตั้งเป้าไว้ที่จำนวน 120 รายชื่อก่อนที่จะยื่นต่อไป
นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี กล่าวว่า ตนได้ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยประเด็นที่เสนอก็เป็นไปตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์สรุป ซึ่งที่ผ่านมาจำได้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็เห็นด้วยว่าควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการสมานฉันท์ได้พิจารณาศึกษาจนได้ข้อสรุปแล้วก็ควรจะดำเนินการต่อไป แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือต่อรองอำนาจแต่อย่างใด
นายยุทธ ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร กล่าวว่า ยอมรับว่าตนเป็นหนึ่งในคนที่ร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย เพราะเห็นว่าต้องให้เกียรติกับคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีทุกฝ่ายร่วมเป็นกรรมการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอแนวคิด โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาเป็นคนลงนามแต่งตั้ง เมื่อคณะกรรมการฯมีผลสรุปเห็นควรแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็นเพื่อยุติความขัดแย้ง ทั้งนี้ เราต้องยอมรับความจริงว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 มีปัญหาในบางมาตราซึ่งก็ควรมีการแก้ไข นอกเหนือจากนี้ ยังได้เสนออีก 1 ประเด็นคือ การเพิ่มอำนาจของศาลยุติธรรมในการรับรองผลการเลือกตั้ง