“ภาคีพระวิหาร” ผิดหวัง บัวแก้ว ใส่เกียร์ว่าง ปล่อย “เขมร” งาบ พื้นที่ 4.6 ตร.กม.ร้อง ส.ว.ยื่นเรื่องค้าน ข้อตกลง “ไทย-กัมพูชา” ทำ “เสียดินแดน” “เทพมนตรี” รู้ทัน “ฮุนเซน” เดินเครื่อง ฮุบ บ่อน้ำมันของไทย มูลค่า 5 ล้านล้านบาร์เรล เตรียมแฉเอกสารลับ ก.ต่างประเทศ รู้ล่วงหน้า “กัมพูชา” ได้ขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียว แต่ทำเฉย
วันนี้ (24 ส.ค.) ที่รัฐสภา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ นายวีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน ในฐานะภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา รองประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เพื่อคัดค้านการนำวาระร่างข้อตกลงชั่วคราวไทย-กัมพูชา เข้าสู่การพิจารณาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาตามมาตรา 190(2) ในวันศุกร์ที่ 28 ส.ค..
ม.ล.วัลย์วิภา แถลงว่า ทางกลุ่มขอคัดค้านกรณีที่รัฐสภาจะพิจารณาข้อตกลงของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เนื่องจากจะเป็นการนำไปสู่การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์ของกัมพูชา ทั้งนี้ น่าสังเกตว่า ร่างข้อตกลงดังกล่าวเป็นการเสนอเข้ามาอย่างเร่งรีบ มีการหมกเม็ด เลี่ยงบาลี หลายจุด ตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อเรียกการแก้ปัญหาจากเรื่องปราสาทพระวิหาร เป็นเรื่องพื้นที่ระหว่างภูมะเขือ กับช่องตาเฒ่า รวมไปถึงการบังคับให้ไทยต้องถอนทหารออกจากพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ซึ่งหมายถึงว่าเป็นการยอมรับให้กัมพูชาได้ครอบครอง แม้แต่วันนี้คนไทยก็ไม่สามารถขึ้นไปที่ผามออีแดง ซึ่งเป็นเขตของไทยชัดเจนไม่ได้อยู่แล้ว
“ข้อตกลงนี้พร้อมที่จะนำไปสู่การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์ ด้วยความสนับสนุนอย่างแข็งขันจากไทย โดยผ่านขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมายในประเทศ ทันทีที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องพรรคการเมือง แต่เป็นเรื่องประเทศชาติ อยากให้นายกรัฐมนตรีใส่ใจมากกว่านี้” ม.ล.วัลย์วิภา กล่าว
ขณะที่ นายเทพมนตรี ได้แสดงแผนที่ประเทศกัมพูชา ซึ่งมีตรายูเนสโกประทับไว้ด้านล่าง โดยได้อธิบายว่า เป็นแผนที่ที่กัมพูชาจัดทำขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เตรียมที่จะประกาศใช้หลังจากที่ยูเนสโกรับรองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก หลังวันที่ 1 ก.พ.2553 โดยแผนที่ดังกล่าวจะเปลี่ยนหลักหมุดที่ 73 ซึ่งอยู่ที่บ้านหาดเล็ก จ.ตราด ทำให้ปราสาทตาเมือนธม ตกเป็นของกัมพูชา ซึ่งเขาเตรียมแผนที่จะประกาศเป็นมรดกโลกต่อจากปราสาทพระวิหาร รวมทั้งยังไปเปลี่ยนพิกัดในทะเลอ่าวไทย ทำให้ไทยต้องสูญเสียบ่อน้ำมันขนาด 5.5 ล้านล้านบาร์เรล ซึ่งปัจจุบันแบ่งกับกัมพูชา ในอัตราส่วน 80/20 จะกลายเป็น 20/80 ทันที
นายเทพมนตรี กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (25 ส.ค.) ตั้งแต่เวลา 08.00 น.ที่อาคารวุฒิสภาจะมีการเสวนาเรื่องพื้นที่ 4.6 ตร.กม.โดยตนจะนำเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศ ที่ทำถึงสำนักราชเลขาธิการ ลงวันที่ 20 มิ.ย.2551 ยอมรับว่า คณะกรรมการมรดกโลกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้กับกัมพูชาฝ่ายเดียว ทั้งที่วันที่ยูเนสโกลงมติ คือ 7 ก.ค.2551 แสดงว่า กระทรวงต่างประเทศ รู้ผลการตัดสินล่วงหน้าแล้ว แต่ไม่ได้ดำเนินการอะไร ส่วนที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปคัดค้านในการประชุมที่ประเทศสเปนนั้น ไม่พบหลักฐานว่า มีการคัดค้านจริง มีแต่การให้สัมภาษณ์ของนายสุวิทย์เท่านั้น แต่ข้อมูลของตนคือนายสุวิทย์ กลับไปเซ็นชื่อรับรองให้กระบวนการขึ้นทะเบียนเดินต่อไปข้างหน้าได้
“ตั้งแต่ นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ได้ไปลงนามแถลงการณ์ร่วม ยอมรับให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ฝ่ายเดียว หลังจากนั้น แม้เปลี่ยนรัฐบาลแต่กระบวนการต่างๆก็ดำเนินการต่อไป นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่เอาใจใส่กับเรื่องนี้ ส่วนนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ที่เคยมีท่าทีแข็งกร้าวบนเวทีพันธมิตรฯ ก็ไม่สนใจ เมื่อผมนำเอกสารไปให้อ่าน ก็อ้างว่า เอาลืมไว้ที่บ้านไม่ยอมอ่าน ผมคิดว่า ถ้า นายกษิต ปกป้องอธิปไตยของชาติไม่ได้ ก็ควรจะลาออกไป” นักวิชาการผู้นี้ กล่าว
วันนี้ (24 ส.ค.) ที่รัฐสภา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ นายวีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน ในฐานะภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา รองประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เพื่อคัดค้านการนำวาระร่างข้อตกลงชั่วคราวไทย-กัมพูชา เข้าสู่การพิจารณาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาตามมาตรา 190(2) ในวันศุกร์ที่ 28 ส.ค..
ม.ล.วัลย์วิภา แถลงว่า ทางกลุ่มขอคัดค้านกรณีที่รัฐสภาจะพิจารณาข้อตกลงของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เนื่องจากจะเป็นการนำไปสู่การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์ของกัมพูชา ทั้งนี้ น่าสังเกตว่า ร่างข้อตกลงดังกล่าวเป็นการเสนอเข้ามาอย่างเร่งรีบ มีการหมกเม็ด เลี่ยงบาลี หลายจุด ตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อเรียกการแก้ปัญหาจากเรื่องปราสาทพระวิหาร เป็นเรื่องพื้นที่ระหว่างภูมะเขือ กับช่องตาเฒ่า รวมไปถึงการบังคับให้ไทยต้องถอนทหารออกจากพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ซึ่งหมายถึงว่าเป็นการยอมรับให้กัมพูชาได้ครอบครอง แม้แต่วันนี้คนไทยก็ไม่สามารถขึ้นไปที่ผามออีแดง ซึ่งเป็นเขตของไทยชัดเจนไม่ได้อยู่แล้ว
“ข้อตกลงนี้พร้อมที่จะนำไปสู่การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์ ด้วยความสนับสนุนอย่างแข็งขันจากไทย โดยผ่านขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมายในประเทศ ทันทีที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องพรรคการเมือง แต่เป็นเรื่องประเทศชาติ อยากให้นายกรัฐมนตรีใส่ใจมากกว่านี้” ม.ล.วัลย์วิภา กล่าว
ขณะที่ นายเทพมนตรี ได้แสดงแผนที่ประเทศกัมพูชา ซึ่งมีตรายูเนสโกประทับไว้ด้านล่าง โดยได้อธิบายว่า เป็นแผนที่ที่กัมพูชาจัดทำขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เตรียมที่จะประกาศใช้หลังจากที่ยูเนสโกรับรองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก หลังวันที่ 1 ก.พ.2553 โดยแผนที่ดังกล่าวจะเปลี่ยนหลักหมุดที่ 73 ซึ่งอยู่ที่บ้านหาดเล็ก จ.ตราด ทำให้ปราสาทตาเมือนธม ตกเป็นของกัมพูชา ซึ่งเขาเตรียมแผนที่จะประกาศเป็นมรดกโลกต่อจากปราสาทพระวิหาร รวมทั้งยังไปเปลี่ยนพิกัดในทะเลอ่าวไทย ทำให้ไทยต้องสูญเสียบ่อน้ำมันขนาด 5.5 ล้านล้านบาร์เรล ซึ่งปัจจุบันแบ่งกับกัมพูชา ในอัตราส่วน 80/20 จะกลายเป็น 20/80 ทันที
นายเทพมนตรี กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (25 ส.ค.) ตั้งแต่เวลา 08.00 น.ที่อาคารวุฒิสภาจะมีการเสวนาเรื่องพื้นที่ 4.6 ตร.กม.โดยตนจะนำเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศ ที่ทำถึงสำนักราชเลขาธิการ ลงวันที่ 20 มิ.ย.2551 ยอมรับว่า คณะกรรมการมรดกโลกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้กับกัมพูชาฝ่ายเดียว ทั้งที่วันที่ยูเนสโกลงมติ คือ 7 ก.ค.2551 แสดงว่า กระทรวงต่างประเทศ รู้ผลการตัดสินล่วงหน้าแล้ว แต่ไม่ได้ดำเนินการอะไร ส่วนที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปคัดค้านในการประชุมที่ประเทศสเปนนั้น ไม่พบหลักฐานว่า มีการคัดค้านจริง มีแต่การให้สัมภาษณ์ของนายสุวิทย์เท่านั้น แต่ข้อมูลของตนคือนายสุวิทย์ กลับไปเซ็นชื่อรับรองให้กระบวนการขึ้นทะเบียนเดินต่อไปข้างหน้าได้
“ตั้งแต่ นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ได้ไปลงนามแถลงการณ์ร่วม ยอมรับให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ฝ่ายเดียว หลังจากนั้น แม้เปลี่ยนรัฐบาลแต่กระบวนการต่างๆก็ดำเนินการต่อไป นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่เอาใจใส่กับเรื่องนี้ ส่วนนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ที่เคยมีท่าทีแข็งกร้าวบนเวทีพันธมิตรฯ ก็ไม่สนใจ เมื่อผมนำเอกสารไปให้อ่าน ก็อ้างว่า เอาลืมไว้ที่บ้านไม่ยอมอ่าน ผมคิดว่า ถ้า นายกษิต ปกป้องอธิปไตยของชาติไม่ได้ ก็ควรจะลาออกไป” นักวิชาการผู้นี้ กล่าว