กมธ.ยุติธรรม สภาสูง เตรียมสอบข้อกล่าวหานายกฯ แทรกแซงกิจการตำรวจ กรณีมีคำสั่งให้ ผบ.ตร.ลงพื้นที่ภาคใต้ คาดมีนัยแอบแฝง ด้าน “เรืองไกร” ส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ กกต.อีก กรณีนายกฯ อาจมีส่วนล้วงลูกแต่งตั้งโยกย้าย ตร.
วันนี้ (13 ส.ค.) พ.ต.อ.สนธยา แสงเภา ส.ว.สรรหา ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ วุฒิสภา เปิดเผยว่า ตามที่มีคำสั่งจากสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สั่งการให้ ผบ.ตร.ลงไปปฏิบัติราชการใน 3 จังหวัดภาคใต้ และภูเก็ต ทั้งที่เพิ่งจะเดินทางกลับจากต่างประเทศ ดูแล้วเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบมาพากล อาจจะมีอะไรแอบแฝง ซ่อนเร้น ตนจึงได้ส่งเรื่องให้ กมธ.การยุติธรรมและการตำรวจ วุฒิสภา ตรวจสอบ ซึ่งนายสมัคร ชวภานันทน์ ส.ว.สรรหา ประธาน กมธ.การยุติธรรมฯ รับเรื่องเตรียมเข้าตรวจสอบแล้ว นอกจากนี้ ตนได้รับเรื่องดังกล่าวเข้าตรวจสอบอีกทางหนึ่งในอนุฯ กมธ.ชุดของตนด้วย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาตั้งเป็นกระทู้ถามนายกฯ ต่อไป โดยประเด็นที่ขอให้มีการตรวจสอบ คือ การกระทำของนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) และประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ว่ามีพฤติกรรมส่อไปในทางแทรกแซงกิจการภายในของ สตช.
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ตนได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมถึงประธาน กกต.เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม กรณีนายกรัฐมนตรีกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ตามที่เคยยื่นให้ กกต.ตรวจสอบไปแล้วก่อนหน้านี้ เพื่อให้การตรวจสอบตามคำร้องมีข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มขึ้น คือ ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 บัญญัติอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีให้เป็นประธาน ก.ต.ช. และประธาน ก.ตร. โดยตำแหน่ง ซึ่งทั้ง 2 ส่วนมีรูปแบบการทำงานในลักษณะคณะกรรมการ ดังนั้น ทั้ง ก.ต.ช. และ ก.ตร.จึงมีสถานภาพเป็นคณะบุคคล ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง โดยมีการใช้อำนาจหน้าที่ในรูปของคณะกรรมการ หาใช่เป็นการใช้อำนาจในฐานะของกรรมการแต่ละคน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาประกอบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2543 แล้วเห็นว่า การใช้อำนาจหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยคณะบุคคลที่ประกอบกันขึ้นเป็นคณะกรรมการ กรรมการแต่ละคนไม่สามารถใช้อำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นของคณะกรรมการได้ด้วยตนเองโดยลำพัง แม้ว่าคณะกรรมการนั้นจะอยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐ และมีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมายก็ตาม
นายเรืองไกรกล่าวต่อว่า จากการพิจารณาขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ช. หรือ ก.ตร. ตามที่กำหนดไว้ ประกอบกับความหมายของคณะกรรมการในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้เข้าใจว่า ก.ต.ช. หรือ ก.ตร. ย่อมต้องกระทำในนามคณะกรรมการเสมือนเป็นคณะบุคคล มิอาจไปกระทำการในฐานะกรรมการคนใดคนหนึ่งได้ ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีได้มีพฤติการณ์อันอาจมีลักษณะก้าวก่ายหรือแทรกแซงการทำหน้าที่ของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตามความในหนังสือร้องนั้น อาจเข้าลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 อันจะเป็นเหตุให้ต้องมีการพิจารณาว่าจะสิ้นสุดสมาชิกภาพความเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 182 (7) หรือไม่
วันนี้ (13 ส.ค.) พ.ต.อ.สนธยา แสงเภา ส.ว.สรรหา ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ วุฒิสภา เปิดเผยว่า ตามที่มีคำสั่งจากสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สั่งการให้ ผบ.ตร.ลงไปปฏิบัติราชการใน 3 จังหวัดภาคใต้ และภูเก็ต ทั้งที่เพิ่งจะเดินทางกลับจากต่างประเทศ ดูแล้วเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบมาพากล อาจจะมีอะไรแอบแฝง ซ่อนเร้น ตนจึงได้ส่งเรื่องให้ กมธ.การยุติธรรมและการตำรวจ วุฒิสภา ตรวจสอบ ซึ่งนายสมัคร ชวภานันทน์ ส.ว.สรรหา ประธาน กมธ.การยุติธรรมฯ รับเรื่องเตรียมเข้าตรวจสอบแล้ว นอกจากนี้ ตนได้รับเรื่องดังกล่าวเข้าตรวจสอบอีกทางหนึ่งในอนุฯ กมธ.ชุดของตนด้วย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาตั้งเป็นกระทู้ถามนายกฯ ต่อไป โดยประเด็นที่ขอให้มีการตรวจสอบ คือ การกระทำของนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) และประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ว่ามีพฤติกรรมส่อไปในทางแทรกแซงกิจการภายในของ สตช.
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ตนได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมถึงประธาน กกต.เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม กรณีนายกรัฐมนตรีกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ตามที่เคยยื่นให้ กกต.ตรวจสอบไปแล้วก่อนหน้านี้ เพื่อให้การตรวจสอบตามคำร้องมีข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มขึ้น คือ ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 บัญญัติอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีให้เป็นประธาน ก.ต.ช. และประธาน ก.ตร. โดยตำแหน่ง ซึ่งทั้ง 2 ส่วนมีรูปแบบการทำงานในลักษณะคณะกรรมการ ดังนั้น ทั้ง ก.ต.ช. และ ก.ตร.จึงมีสถานภาพเป็นคณะบุคคล ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง โดยมีการใช้อำนาจหน้าที่ในรูปของคณะกรรมการ หาใช่เป็นการใช้อำนาจในฐานะของกรรมการแต่ละคน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาประกอบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2543 แล้วเห็นว่า การใช้อำนาจหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยคณะบุคคลที่ประกอบกันขึ้นเป็นคณะกรรมการ กรรมการแต่ละคนไม่สามารถใช้อำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นของคณะกรรมการได้ด้วยตนเองโดยลำพัง แม้ว่าคณะกรรมการนั้นจะอยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐ และมีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมายก็ตาม
นายเรืองไกรกล่าวต่อว่า จากการพิจารณาขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ช. หรือ ก.ตร. ตามที่กำหนดไว้ ประกอบกับความหมายของคณะกรรมการในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้เข้าใจว่า ก.ต.ช. หรือ ก.ตร. ย่อมต้องกระทำในนามคณะกรรมการเสมือนเป็นคณะบุคคล มิอาจไปกระทำการในฐานะกรรมการคนใดคนหนึ่งได้ ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีได้มีพฤติการณ์อันอาจมีลักษณะก้าวก่ายหรือแทรกแซงการทำหน้าที่ของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตามความในหนังสือร้องนั้น อาจเข้าลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 อันจะเป็นเหตุให้ต้องมีการพิจารณาว่าจะสิ้นสุดสมาชิกภาพความเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 182 (7) หรือไม่