จับตาวาระ ครม.ร้อน “บัวแก้ว” เล็งถก “ผลประโยชน์น้ำมัน” พื้นที่ทับซ้อน “ไทย-มาเลย์-เวียดนาม” ด้าน “คมนาคม” ชงรายงานปรับลดกรอบวงเงินรถไฟฟ้าสีม่วง 430 ล้าน ขณะที่ ก.พ.ร.เตรียมของบจ่ายโบนัส ขรก.ปี 52 ส่วน ก.พ.ช.หารือ ครม.อุ้มราคาน้ำมันดีเซล ช่วยแบ่งเบาภาระ ปชช.
วันนี้ (11 ส.ค.) จับตาวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีที่น่าสนใจ กรณีกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จะเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณากรอบการเจรจาเรื่องเขตพื้นที่ทางทะเลที่ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม อ้างสิทธิทับซ้อนกัน เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐและให้เสนอขอความเห็นชอบต่อรัฐสภา เพื่อให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการต่อไป โดยจะมีการให้ข้อมูลและเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนำมาชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับกรอบการเจรจาดังกล่าว เพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับเขตพื้นที่ทางทะเลที่ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม อ้างสิทธิทับซ้อนกัน ทำให้ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เขตอำนาจ และประโยชน์อื่นที่พึงมีตามกฎหมายระหว่างประเทศ
อนึ่ง ทางไทย มาเลเซีย และเวียดนาม อ้างสิทธิทับซ้อนกัน (Tripartite Overlapping Claims Area-TOCA) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 และยังไม่บรรลุข้อตกลงในการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมา โดยทั้ง 3 ประเทศตกลงกันที่จะทำพื้นที่พัฒนาร่วมกันทั้ง 3 ฝ่ายในพื้นที่ระหว่างเส้นประกาศเขตไหล่ทวีปของเวียดนามเมื่อปี 2514 และเส้นขอบทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย นอกจากนี้ ในการประชุม ครั้งที่ 2 ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานอย่างไม่เป็นทางการ (informal working group) เพื่อร่วมกันพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว
โดย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้ชี้แจ้งความประสงค์จะให้มีการดำเนินทางเจรจาเรื่องเขตพื้นที่ทางทะเล ซึ่งอ้างสิทธิทับซ้อนกัน เพื่อหาข้อยุติเรื่องดังกล่าวให้เร็วที่สุด ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศไทยได้พิจารณาแล้วเห็นว่าควรเริ่มเจรจาโดยเร็วเช่นกัน เพื่อนำไปสู่กระบวนการทำหนังสือสัญญา เนื่องจากประเทศไทยและมาเลเซียได้แสวงผลประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียแล้ว และควรหาข้อยุติที่เป็นธรรมต่อฝ่าย ในกรณีแหล่งทรัพยากรในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ซึ่งคาบเกี่ยวต่อเนื่องกับพื้นที่ส่วนที่เวียดนามอ้างสิทธิ โดยจะไทยสามารถแสวงผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมในบริเวณดังกล่าวได้ ทั้งนี้ จะช่วยรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของชาติทางทะเลอีกทางหนึ่งด้วย
“คมนาคม” เสนอปรับลดวงเงินรถไฟฟ้าสีม่วง 430 ล้าน
สำหรับ กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอรายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เพื่อขอความเห็นชอบปรับลดกรอบวงเงินงานด้านโยธาในสัญญาที่ ครม.มีมติไปเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2551 โดยกรอบวงเงินเดิมที่อนุมัติไปอยู่ที่ 4,077 ล้านบาท จะมีการปรับลดวงเงินเหลือ 3,638 ล้านบาท หรือลดลงกว่า 430 ล้านบาท
ทั้งนี้ ตามมติ ครม.เดิมที่เห็นชอบกรอบวงเงินจำนวน 4,077 ล้านบาท เนื่องจากต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาเรื่องต้นทุนในการก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาเหล็กพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการปรับค่าเคใหม่ ที่ผ่อนผันวิธีการคำนวณค่าเคให้หักในอัตราบวกลบ 2% รวมทั้งให้ขยายเวลาก่อสร้างงานเพิ่มได้ 180 วัน
อย่างไรก็ตาม วาระดังกล่าว ทางคณะกรรมการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง มีนายชัยสิทธิ์ คุรุรัตน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟม. เป็นประธาน ได้มีการเจรจาต่อรองราคาสัญญาที่ 2,3 เสร็จสิ้นแล้ว โดยทั้ง 3 สัญญามีมูลค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 32,000 ล้านบาท ไม่เกินกรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติไว้ก่อนหน้านี้ที่ 36,055 ล้านบาท ดังนั้น จึงเหลือเงินพอที่จะว่าจ้างเอกชนเพื่อวางระบบรางต่อเป็นสัญญาที่ 6 ได้
ก.พ.ร.ชงขอโบนัส ขรก.ปี 52
วาระ ครม.ต่อมาที่น่าสนใจ คือ กรณีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.ร.) จะเสนอขอให้มีการจัดสรรเงินรางวัลให้กับหน่วยงานราชการจังหวัด และสถาบันอุดมศึกษาที่มีการปฏิบัติราชการ ปี 2552 ภายใต้กรอบงบประมาณ 6,835 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายในปี 2552 รวมทั้งขอจัดสรรเงินสมทบจากงบกลางปี 2553 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ผ่อนภาระการขึ้นเงินเดือน และกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีข้าราชการจำนวน 1.5 ล้านคน ได้รับเงินจัดสรรส่วนนี้ คาดว่าจะมีผลในช่วงเดือนตุลาคมนี้
ก.พ.ช.เสนออุ้มราคาน้ำมันดีเซล ลดภาระ ปชช.
วาระ ครม.สุดท้ายที่น่าสนใจ คือ กรณีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) จะเสนอการบริหารกองทุนน้ำมันและกองทุนเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมพลังงานให้ลดราคาน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 2 บาท ทั้งนี้ มาตรการราคาน้ำมันดีเซล จะมีผลตั้งแต่วันนี้ (11 ส.ค.) เป็นต้นไป สำหรับรายละเอียดว่า แต่ละกองทุนจะปรับลดราคาอย่างไร ต้องรอให้มีการชี้แจงในที่ประชุม ครม.
นอกจากนี้ อาจมีการเสนอให้ตรึงราคาก๊าซแอลพีจีและก๊าซเอ็นจีวี รวมทั้งค่าเอฟทีไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2553 เพื่อลดภาระให้แก่ประชาชน และอาจมีมาตรการช่วยเหลือแท็กซี่ด้วยการสนับสนุนให้เปลี่ยนมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี ซึ่งไม่มีภาระค่าใช้จ่ายมากนัก
วันนี้ (11 ส.ค.) จับตาวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีที่น่าสนใจ กรณีกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จะเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณากรอบการเจรจาเรื่องเขตพื้นที่ทางทะเลที่ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม อ้างสิทธิทับซ้อนกัน เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐและให้เสนอขอความเห็นชอบต่อรัฐสภา เพื่อให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการต่อไป โดยจะมีการให้ข้อมูลและเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนำมาชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับกรอบการเจรจาดังกล่าว เพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับเขตพื้นที่ทางทะเลที่ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม อ้างสิทธิทับซ้อนกัน ทำให้ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เขตอำนาจ และประโยชน์อื่นที่พึงมีตามกฎหมายระหว่างประเทศ
อนึ่ง ทางไทย มาเลเซีย และเวียดนาม อ้างสิทธิทับซ้อนกัน (Tripartite Overlapping Claims Area-TOCA) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 และยังไม่บรรลุข้อตกลงในการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมา โดยทั้ง 3 ประเทศตกลงกันที่จะทำพื้นที่พัฒนาร่วมกันทั้ง 3 ฝ่ายในพื้นที่ระหว่างเส้นประกาศเขตไหล่ทวีปของเวียดนามเมื่อปี 2514 และเส้นขอบทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย นอกจากนี้ ในการประชุม ครั้งที่ 2 ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานอย่างไม่เป็นทางการ (informal working group) เพื่อร่วมกันพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว
โดย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้ชี้แจ้งความประสงค์จะให้มีการดำเนินทางเจรจาเรื่องเขตพื้นที่ทางทะเล ซึ่งอ้างสิทธิทับซ้อนกัน เพื่อหาข้อยุติเรื่องดังกล่าวให้เร็วที่สุด ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศไทยได้พิจารณาแล้วเห็นว่าควรเริ่มเจรจาโดยเร็วเช่นกัน เพื่อนำไปสู่กระบวนการทำหนังสือสัญญา เนื่องจากประเทศไทยและมาเลเซียได้แสวงผลประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียแล้ว และควรหาข้อยุติที่เป็นธรรมต่อฝ่าย ในกรณีแหล่งทรัพยากรในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ซึ่งคาบเกี่ยวต่อเนื่องกับพื้นที่ส่วนที่เวียดนามอ้างสิทธิ โดยจะไทยสามารถแสวงผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมในบริเวณดังกล่าวได้ ทั้งนี้ จะช่วยรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของชาติทางทะเลอีกทางหนึ่งด้วย
“คมนาคม” เสนอปรับลดวงเงินรถไฟฟ้าสีม่วง 430 ล้าน
สำหรับ กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอรายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เพื่อขอความเห็นชอบปรับลดกรอบวงเงินงานด้านโยธาในสัญญาที่ ครม.มีมติไปเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2551 โดยกรอบวงเงินเดิมที่อนุมัติไปอยู่ที่ 4,077 ล้านบาท จะมีการปรับลดวงเงินเหลือ 3,638 ล้านบาท หรือลดลงกว่า 430 ล้านบาท
ทั้งนี้ ตามมติ ครม.เดิมที่เห็นชอบกรอบวงเงินจำนวน 4,077 ล้านบาท เนื่องจากต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาเรื่องต้นทุนในการก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาเหล็กพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการปรับค่าเคใหม่ ที่ผ่อนผันวิธีการคำนวณค่าเคให้หักในอัตราบวกลบ 2% รวมทั้งให้ขยายเวลาก่อสร้างงานเพิ่มได้ 180 วัน
อย่างไรก็ตาม วาระดังกล่าว ทางคณะกรรมการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง มีนายชัยสิทธิ์ คุรุรัตน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟม. เป็นประธาน ได้มีการเจรจาต่อรองราคาสัญญาที่ 2,3 เสร็จสิ้นแล้ว โดยทั้ง 3 สัญญามีมูลค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 32,000 ล้านบาท ไม่เกินกรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติไว้ก่อนหน้านี้ที่ 36,055 ล้านบาท ดังนั้น จึงเหลือเงินพอที่จะว่าจ้างเอกชนเพื่อวางระบบรางต่อเป็นสัญญาที่ 6 ได้
ก.พ.ร.ชงขอโบนัส ขรก.ปี 52
วาระ ครม.ต่อมาที่น่าสนใจ คือ กรณีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.ร.) จะเสนอขอให้มีการจัดสรรเงินรางวัลให้กับหน่วยงานราชการจังหวัด และสถาบันอุดมศึกษาที่มีการปฏิบัติราชการ ปี 2552 ภายใต้กรอบงบประมาณ 6,835 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายในปี 2552 รวมทั้งขอจัดสรรเงินสมทบจากงบกลางปี 2553 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ผ่อนภาระการขึ้นเงินเดือน และกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีข้าราชการจำนวน 1.5 ล้านคน ได้รับเงินจัดสรรส่วนนี้ คาดว่าจะมีผลในช่วงเดือนตุลาคมนี้
ก.พ.ช.เสนออุ้มราคาน้ำมันดีเซล ลดภาระ ปชช.
วาระ ครม.สุดท้ายที่น่าสนใจ คือ กรณีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) จะเสนอการบริหารกองทุนน้ำมันและกองทุนเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมพลังงานให้ลดราคาน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 2 บาท ทั้งนี้ มาตรการราคาน้ำมันดีเซล จะมีผลตั้งแต่วันนี้ (11 ส.ค.) เป็นต้นไป สำหรับรายละเอียดว่า แต่ละกองทุนจะปรับลดราคาอย่างไร ต้องรอให้มีการชี้แจงในที่ประชุม ครม.
นอกจากนี้ อาจมีการเสนอให้ตรึงราคาก๊าซแอลพีจีและก๊าซเอ็นจีวี รวมทั้งค่าเอฟทีไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2553 เพื่อลดภาระให้แก่ประชาชน และอาจมีมาตรการช่วยเหลือแท็กซี่ด้วยการสนับสนุนให้เปลี่ยนมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี ซึ่งไม่มีภาระค่าใช้จ่ายมากนัก