องค์กรประชาสังคมอาเซียน 10 ประเทศ ร้องที่ประชุม รมว.ตปท.กำหนดอำนาจตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนใหม่ ด้านประธานอาเซียน เน้นการเมืองความมั่นคงในภูมิภาค
วันนี้ (16 ก.ค.) เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ โดย นายราเฟนดี จามิน ผู้ประสานงานภาคประชาชนอาเซียน ได้แถลงข่าวโดยแสดงท่าทีต่อความกังวลถึงการพิจารณากลไกอำนาจในการก่อตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ทั้งนี้ ภาคประชาสังคม 10 ประเทศได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศพิจารณา ถึงการสร้างกลไกอำนาจในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอาเซียนด้วย ทั้งนี้เห็นว่า ที่ผ่านมา มีเพียงการพูดถึงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแต่ไม่มีการให้อำนาจกับองค์การในการคุ้มครองสิทธิ์
“เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตัวแทนภาคประชาชนอาเซียนได้นำเสนอเรื่องต่อไปยังที่ประชุมองค์การสิทธิมนุษยชน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันจันทร์ และได้หารือกับ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ แล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42/การประชุมระดับรัฐมนตรีกับประเทศคู่เจรจา/การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 16 16-23 กรกฎาคม 2552 ที่จังหวัดภูเก็ต
รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย จะมีบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย กับรัฐบาลของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยโครงการความร่วมมือการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย ระยะที่ 2
ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน จะมีการแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 แผนงานอาเซียนว่าด้วยการคงไว้และยกระดับความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เอกสารแนวทางการเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค.ศ.1976 ขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ระเบียบการปฏิบัติของคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน
ส่วนการประชุมกับประเทศคู่เจรจารับรองโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ ปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับแคนาดา การจัดลำดับความสำคัญของความร่วมมือภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา
นอกจากนั้น ยังการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ถ้อยแถลงวิสัยทัศน์ของที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เอกสารการปรับปรุงวิธีการทำงานของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แผนงานสำหรับการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2552-2553 แผนงานสำหรับการบรรเทาภัยพิบัติ พ.ศ.2552-2554
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่ฝ่ายไทยในฐานะประธานอาเซียนและการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ออกแถลงการณ์ของประธานอาเซียนว่าด้วยการประชุมระดับรัฐมนตรีกับประเทศคู่เจรจา ออกแถลงการณ์ของประธานว่าด้วยการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 16 ออกแถลงการณ์ของประธานว่าด้วยการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 10 ออกแถลงการณ์ของประธานว่าด้วยการหารืออย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
นอกจากนั้น เลขาธิการอาเซียน จะลงนามในบันทึกความช่วยจำว่าด้วยการการจัดตั้งศูนย์อาเซียนในกรุงมอสโก รวมทั้งจะมีการลงนามในเผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 (27 ก.พ.-1 มี.ค. 2552 อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี) เพื่อรับรองในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ขณะที่แถลงการณ์ร่วมเพื่อให้สะท้อนถึงประเด็นสำคัญที่เป็นผลประโยชน์ของไทย ประชาชนชาวไทยและอาเซียนโดยรวม ประกอบด้วย การผลักดันการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎบัตรอาเซียนและการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 เช่น การจัดตั้งกลไกด้านสิทธิมนุษยชนอาเซียน การลดช่องว่าง การพัฒนาในภูมิภาค และการเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพความมั่นคง การพัฒนา และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคม ภายใต้การดำเนินการตามแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลัก ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม
ผลักดันความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชนชน ได้แก่ การบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจและการเงินของโลก การเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร การป้องกันและควบคุมโรคระบาด ตลอดจนการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ และการส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน
วันนี้ (16 ก.ค.) เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ โดย นายราเฟนดี จามิน ผู้ประสานงานภาคประชาชนอาเซียน ได้แถลงข่าวโดยแสดงท่าทีต่อความกังวลถึงการพิจารณากลไกอำนาจในการก่อตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ทั้งนี้ ภาคประชาสังคม 10 ประเทศได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศพิจารณา ถึงการสร้างกลไกอำนาจในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอาเซียนด้วย ทั้งนี้เห็นว่า ที่ผ่านมา มีเพียงการพูดถึงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแต่ไม่มีการให้อำนาจกับองค์การในการคุ้มครองสิทธิ์
“เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตัวแทนภาคประชาชนอาเซียนได้นำเสนอเรื่องต่อไปยังที่ประชุมองค์การสิทธิมนุษยชน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันจันทร์ และได้หารือกับ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ แล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42/การประชุมระดับรัฐมนตรีกับประเทศคู่เจรจา/การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 16 16-23 กรกฎาคม 2552 ที่จังหวัดภูเก็ต
รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย จะมีบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย กับรัฐบาลของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยโครงการความร่วมมือการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย ระยะที่ 2
ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน จะมีการแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 แผนงานอาเซียนว่าด้วยการคงไว้และยกระดับความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เอกสารแนวทางการเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค.ศ.1976 ขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ระเบียบการปฏิบัติของคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน
ส่วนการประชุมกับประเทศคู่เจรจารับรองโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ ปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับแคนาดา การจัดลำดับความสำคัญของความร่วมมือภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา
นอกจากนั้น ยังการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ถ้อยแถลงวิสัยทัศน์ของที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เอกสารการปรับปรุงวิธีการทำงานของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แผนงานสำหรับการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2552-2553 แผนงานสำหรับการบรรเทาภัยพิบัติ พ.ศ.2552-2554
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่ฝ่ายไทยในฐานะประธานอาเซียนและการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ออกแถลงการณ์ของประธานอาเซียนว่าด้วยการประชุมระดับรัฐมนตรีกับประเทศคู่เจรจา ออกแถลงการณ์ของประธานว่าด้วยการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 16 ออกแถลงการณ์ของประธานว่าด้วยการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 10 ออกแถลงการณ์ของประธานว่าด้วยการหารืออย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
นอกจากนั้น เลขาธิการอาเซียน จะลงนามในบันทึกความช่วยจำว่าด้วยการการจัดตั้งศูนย์อาเซียนในกรุงมอสโก รวมทั้งจะมีการลงนามในเผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 (27 ก.พ.-1 มี.ค. 2552 อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี) เพื่อรับรองในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ขณะที่แถลงการณ์ร่วมเพื่อให้สะท้อนถึงประเด็นสำคัญที่เป็นผลประโยชน์ของไทย ประชาชนชาวไทยและอาเซียนโดยรวม ประกอบด้วย การผลักดันการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎบัตรอาเซียนและการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 เช่น การจัดตั้งกลไกด้านสิทธิมนุษยชนอาเซียน การลดช่องว่าง การพัฒนาในภูมิภาค และการเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพความมั่นคง การพัฒนา และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคม ภายใต้การดำเนินการตามแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลัก ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม
ผลักดันความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชนชน ได้แก่ การบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจและการเงินของโลก การเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร การป้องกันและควบคุมโรคระบาด ตลอดจนการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ และการส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน