xs
xsm
sm
md
lg

“พิภพ” เผยคนจดชื่อพรรคฯ เป็นแนวร่วม-ยันไม่ใช่มติแกนนำ รอชัดเจน 25 พ.ค.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พิภพ ธงไชย
“พิภพ” เผยคนจดชื่อพรรค “พันธมิตรฯ” เป็นแนวร่วมที่กลัวว่าคนอื่นจะจดชื่อพรรคก่อน แต่ไม่ได้เป็นมติของแกนนำ หรือผูกมัดว่าจะตั้งพรรค ชี้ต้องรอผลการประชุม 25 พ.ค.ที่จะหาข้อสรุปทิศทางการเมืองใหม่ เผยอาจต้องจัดพื้นที่ให้ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนตั้งพรรคและฝ่ายที่ต้องการเคลื่อนไหวแบบเดิม ย้ำพรรคที่ตั้งต้องทำการเมืองใหม่อย่างแท้จริง ไม่เช่นนั้นจะถูกมวลชนปฏิเสธ


 
 คลิกที่นี่ เพื่อฟัง นายพิภพ ธงไชย ให้สัมภาษณ์ 

นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวในรายการ “คนในข่าว” ทางเอเอสทีวี ช่วงเวลา 20.30-21.30 น.วันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ถึงกรณีที่มีผู้ไปยื่นขอจดทะเบียนพรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ตนไม่รู้จักกับคนที่ไปยื่นขอจดทะเบียนเป็นการส่วนตัว แต่เบื้องต้นทราบว่าเป็นแนวร่วมพันธมิตรฯ ที่มีความเป็นห่วงกลัวว่าจะมีคนอื่นหรือฝ่ายตรงข้ามไปจดทะเบียนดักไว้ก่อนจึงรีบไปขอจด เหมือนกับพรรคประชาภิวัฒน์ที่ พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร ไปขอจดไว้ เพราะกลัวว่าคนอื่นจะไปจดก่อน แต่ถ้าพันธมิตรฯ ตั้งพรรคแล้วจะใช้ชื่อนี้ก็ยินดีจะยกให้ แต่ทั้งนี้การไปขอจดทะเบียนพรรคพันธมิตรฯ ดังกล่าวไม่ได้เป็นมติของแกนนำ และขอให้สมาชิกพันธมิตรฯ ที่จะไปร่วมงานรำลึก 1 ปี การชุมนุมในวันที่ 25 พ.ค.นี้สบายใจได้ว่านี่ไม่ใช่มติของแกนนำ หรือเป็นการผูกมัดว่าจะต้องเกิดพรรคพันธมิตรฯ

นายพิภพกล่าวต่อว่า ในวันนั้น (25 พ.ค.) เราจะหาทิศทางของการเมืองใหม่ว่ารูปแบบของ การเมืองใหม่ที่เราสู้มา 193 วันว่ามีควรรูปแบบอย่างไรบ้าง ซึ่งความเห็นก็มีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพราะพันธมิตรฯ มีสมาชิกเป็นล้าน จะให้เห็นเหมือนกันหมดคงเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้มีความแตกแยก และการต่อสู้ของภาคประชาชนทั่วโลกก็จะเกิดแบบนี้ เช่น พรรคสิ่งแวดล้อม หรือพรรคกรีนในยุโรป ซึ่งเริ่มมาจากการเคลื่อนไหวต่อสู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชนมาก่อน ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่เห็นด้วยที่จะเข้าไปสู่การเมือง แต่ก็สนับสนุนกัน ซึ่งก็ทำให้ประเทศในยุโรปมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แม้ว่าพรรคกรีนไม่ได้เป็นรัฐบาลพรรคเดียว

ในกรณีพันธมิตรฯ ก็เช่นเดียวกัน ความคิดในการต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชันมาถึงจุดที่ทำให้เกิดการตรวจสอบเป็นคดีขึ้น ถ้าการเมืองยังเป็นการเมืองเก่าอยู่เราจะทำอย่างไร คนกลุ่มนหนึ่งก็คิดว่าเราน่าจะตั้งพรรคการเมือง หลังจากที่เราชเสนอการเมืองใหม่ และกลายเป็นกระแสของนักวิชาการ และนักกาเรมืองเริ่มพูดถึงการเมืองใหม่ จึงมีพันธมิตรจำหนวนหนึ่งอยากให้พันธมิตรฯ ตั้งพรรค และเมื่อเห็นการทำงานของรัฐบาลที่ไม่คิดว่าจะสร้างการเมืองใหม่ ก็มีเสียงเรียกร้องให้ตั้งพรรคมากขึ้น แต่ก็ยังมีส่วนที่ไม่อยากให้ตั้งพรรคการเมือง ซึ่งเราจะต้องระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความแตกแยก และมีพื้นที่ให้กับทั้งสองส่วน คือพื้นที่ของคนที่อยากจะทำพรรคการเมือง และต้องเป็นการเมืองใหม่จริงๆ นั่นค่อต้องกล้าหาญ เสียสละ ซื่อสัตย์ และมีประสิทธิภาพ ส่วนการเมืองภาคประชาชนที่พ่อแม่พี่น้อวงยังอยากจะเคลื่อนไหวอยู่ก็ต้องทำควบคู่กันไป

ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล อาจารย์ประจำวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ตั้งคำถามว่าพันธมิตรฯ จะเอาจริงหรือไม่ รูปแบบและแนวทางการต่อสู้ ถ้าเกิดเป็นพรรคจริงๆ และขอเสนอว่าเราอยากได้พรรคการเมืองดีๆ สักพรรคหนึ่ง เพราะพรรคการเมืองที่อยู่ในสภาไม่กี่พรรค และที่จดทะเบียนไว้ที่ กกต.ไม่มีพรรคไหนที่จะให้ความมั่นใจได้ว่าจะเป้นพรรคที่ดี เราจึงอยากมีพรรคคทางเลือกที่เป็นที่ถูกใจประชาชน หวังจะเห็นแนวทางการเมืองที่ดีขึ้น ถ้ามีพรรคใหม่ๆ เกิดขึ้นและจับใจเดาใจประชาชนได้ว่าต้องการอะไร ก็จะเป็นพรรคที่ไปได้ แต่ก็เป็นห่วงว่าจะเป็นพรรคในรูปแบบเดิมๆ ก็จะหมดหวังและช็อกไปเลย

ผศ.ทวีกล่าวว่า พันธมิตรฯ คงจะต้องทำหลายเรื่อง เรื่องแรกคือการรักษาอุดมการณ์ ที่ต่อสู้เรื่องคุณธรรมทางการเมืองมา และต้องหาเครื่องมือ เช่น ผู้สมัครเป็นใคร กลไกทางการเมืองเป็นอย่างไร ตรงนี้กังวลว่าจะเป็นอุสรรคสำหรับพรรคพันธมิตรฯ เพราะโครงสร้างทางการเมืองของไทยทุกวันนี้มันไม่เอื้อที่จะให้พรรคการเมืองเข้าไปปแล้วจะทำงานได้อย่างดี และพรรคพันธมิตรฯ อาจจะได้เสียงไม่มาก มีการซื้อเสียงแข่งกัน ซึ่งพันธมิตรฯ อาจจะสู้ไม่ได้ ดังนั้นจะต้องไปแก้โครงสร้างก่อน จึงมีคนเสนอว่าถ้าเป็นไปได้ให้ต่อสู้เรื่องปฏิรูปการเมืองก่อน ทำให้เกิดกลไก เรื่องรัฐธรรมนูญก็ดี เรื่องการเลือกตั้ง ซึ่งสิ่งที่พันธมิตรฯ เคยเสนอเช่น 70-30 ก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่

นายพิภพชี้แจงว่า กระแสการตั้งพรรคการเมืองของประชาชนมีมานาน ตั้งแต่หลัง 14 ตุลา มีการตั้งพรรคพลังใหม่ ช่วงต่อมามีการตั้งพรรคพลังธรรม ขณะที่ในภาคองค์กรพัฒนาเอกชนมีการเสนอแนวทางใหม่ให้กับสังคมโดยการลงไปทำงานกับชาวบ้านมาตั้งแต่ปี 2522 ทำมาระยะหนึ่งก็เห็นว่าควรจะมีพรรคการเมืองของภาคประชาชน เพราะการทำงานกับชาวบ้านกลายเป็นวาระประชาชน และหาทางจะเอาเข้าไปเป็นนโยบายของรัฐบาลได้อย่างไร เป็นที่มาของการที่รัฐธรรมนูญ 2540 มีการเขียนหมวดนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เพราะฉะนั้นเป็นธรรมดาของกระแสที่คนทำงานทางสังคมมาระดับหนึ่งที่เห็นว่าพรรคการเมืองของนายทุนแบบเก่าไม่ตอบสนอง ก็มีแนวคิดจะตั้งพรรคที่เป็นของมวลชนจริงๆ และมาวันนี้ถึงเวลาหรือยังที่จะเอาอุดมการณ์ของตัวเองคือการเมืองใหม่ออกมาผลักดัน

ส่วนข้อกังวลที่ว่าเมื่อมีพรรคพันธมิตรฯ แล้วการเมืองภาคประชาชนจะหมดไปนั้น รัฐธรรมนูญ 2550 แบ่งพื้นที่ให้ทั้งการเมืองในระบบและการเมืองภาคประชาชน มีบทบัญญัติเรื่องการเมืองภาคพลเมืองชัดเจน มีการเขียนเป็นมาตรา และให้มีกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง เพราะฉะนั้นมันมาถึงจุดว่าการเมืองจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การเมืองในรัฐสภาและการเมืองภาคประชาชน ซึ่งพันธมิตรฯ ก็มีส่วนหนึ่งที่ต้องการให้เข้าไปในระบบรัฐสภาอีกส่วนหนึ่งให้เคลื่อนไหวภาคประชาชน และมีบางคนสนับสนุนให้ทำทั้ง 2 ส่วน

นายพิภพกล่าวต่อว่า ถึงขณะนี้ยังไม่แน่นอนว่าพันธมิตรฯ จะต้องตั้งพรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถ้าตั้งจริงๆ อาจเป็นชื่ออื่นก็ได้ แต่ถ้าตั้งก็จะเป็นพรรคการเมืองแนวใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน คือจะเป็นพรรคที่มีมวลชนรองรับชัดเจนที่ร่วมต่อสู้กันมาก่อน เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองที่เกิดต้องมีโครงสร้างที่รองรับมวลชน และจะเป็นพรรคแรกที่มีฐานมาจากมวลชนจริงๆ แต่ด้วยความละเอียดอ่อนของความเห็นที่แตกต่างกัน ควรจะมีพื้นที่ 2 พื้นที่ คือพื้นที่ที่ให้เคลื่อนไหวแบบเดิมกับพื้นที่เคลื่อนไหวแบบพรรคการเมือง แต่ทั้งสองพื้นที่จะมีอุดมการณ์ร่วมกันคือการเมืองใหม่ ผู้สมัคร ส.ส.ต้องมาจากฐานมวลชน ไม่ใช่มาจากกรรมการบริหารพรรค ซึ่งถ้าพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเอาแนวคิดเรื่องการเมืองใหม่มารองรับได้ คนที่ไม่เห็นด้วยกับการตั้งพรรคแต่แรกก็จะหันมาสนับสนุน

ทั้งนี้ นายพิภพย้ำว่า พรรคที่จะตั้งขึ้นจะต้องพรรคที่ใหม่จริงๆ ถ้าไม่ใหม่จริงก็จะล้มเหลว และพันธมิตรฯ ก็พร้อมที่จะปฏิเสธพรรคการเมืองที่อ้างว่าเป็นพรรคของพันธมิตรฯ แล้วกระบวนการทางการเมืองไม่ใหม่จริง การกำหนดตัว ส.ส.ต้องมาจากฐานมวลชนและให้มวลชนเลือกมา คุณสมบัติต้องชัดเจน ไม่ใช่กำหนดมาแบบการเมืองเก่า และต้องใหม่จริงจนกระทั่งความประพฤติตอนที่เป็นนักการเมือง (ติดตามรายละเอียดจากวิดีโอคลิป)
ทวี สุรฤทธิกุล
กำลังโหลดความคิดเห็น