ดุสิตโพล เผยผลสำรวจ ปชช.ต่อวิกฤตการเมืองหลังรัฐบาลประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยกว่าร้อยละ 75 เห็นด้วย เพราะจะทำภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาชาวต่างชาติดีขึ้นและร้อยละ 64 เห็นด้วยนิรโทษกรรมแต่ยกเว้นคดีอาญา
วันนี้ (26 เม.ย.) ราชภัฏสวนดุสิตโพล ได้สำรวจคิดเห็นของประชาชน จำนวน 3,079 คนต่อภาวะวิกฤตการเมืองไทยจนต้องออกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แม้ว่าเหตุการณ์จะสงบลง แต่ก็มีกระแสทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญนิรโทษกรรมออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นด้วยการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 75.15% เพราะจะทำให้การท่องเที่ยวไทยดีขึ้น, ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาต่างชาติดีขึ้น ฯลฯ ไม่เห็นด้วย 24.85% เชื่อว่า เหตุการณ์ยังไม่สงบ ยังคงมีการประท้วงอย่างต่อเนื่อง, รัฐบาลไม่ควรประมาท ฯลฯ ขณะที่ 68.72% เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะความขัดแย้งทางการเมืองจะได้ลดลง รัฐธรรมนูญปี 50 บางมาตราทำให้เกิดปัญหาทางการเมือง เช่น การยุบพรรค, จะทำให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ฯลฯ และไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข รธน.31.28% เพราะรัฐธรรมนูญปี 50 เพิ่งประกาศใช้, ผ่านการลงมติจากประชาชนมาแล้ว, เข้มงวดกับนักการเมืองดีแล้ว ฯลฯ
แบบสำรวจเกี่ยวกับกับแนวคิดที่จะมีการนิรโทษกรรม เห็นด้วยที่จะให้มีการนิรโทษกรรม 64.89% โดยแยกการเห็นด้วยเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 เห็นด้วยเฉพาะคดีทางการเมือง แต่ไม่ควรยกคดีอาญา 39.30% เพราะเป็นการเอาชนะทางการเมือง การต่อสู้ทางการเมือง เกมการเมือง, ควรให้โอกาสแก่นักการเมือง แต่คดีอาญาคงยกเว้นไม่ได้เพราะจะทำให้การดำเนินการทางกฎหมายอ่อนแอลง ฯลฯ
กรณีที่ 2 เห็นด้วยควรนิรโทษกรรมทั้งหมด 25.59 เพราะต้องการให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขเสียที, เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแทบทุกคดีเป็นเรื่องของการเมืองเข้าไปแทรกแซงทั้งหมด ,ควรจะให้อภัยซึ่งกันและกันซึ่งเป็นนิสัยของคนไทยอยู่แล้ว ฯลฯ อันดับ 2 ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการนิรโทษกรรม 35.11% เพราะคงจะแก้ไขปัญหาอะไรไม่ได้ ยิ่งจะทำให้บ้านเมืองวุ่นวายมากขึ้น เพราะนักการเมืองคงไม่เข็ดหลาบ ฯลฯ
บทเรียนวิกฤตทางการเมืองที่ผ่านมา ประชาชนคิดว่าควรนำไปใช้อย่างไร? ให้เกิดประโยชน์ ระบุว่านักการเมืองควรศึกษาทบทวนถึงผลดี ผลเสียที่เกิดกับประเทศชาติ 36.90% และประชาชนเพื่อเป็นตัวอย่างในการทำหน้าที่ให้ดีที่สุด รัฐบาลควรใช้เป็นบทเรียนในการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี 30.01% ฝ่ายค้านควรตระหนักในผลกระทบต่างๆเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเองให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน 20.85% ประชาชนควรจะใช้เป็นบทเรียนในการเลือกตั้ง เพราะรู้จักนักการเมืองดีขึ้น และได้เรียนรู้ระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น 12.24%
วันนี้ (26 เม.ย.) ราชภัฏสวนดุสิตโพล ได้สำรวจคิดเห็นของประชาชน จำนวน 3,079 คนต่อภาวะวิกฤตการเมืองไทยจนต้องออกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แม้ว่าเหตุการณ์จะสงบลง แต่ก็มีกระแสทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญนิรโทษกรรมออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นด้วยการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 75.15% เพราะจะทำให้การท่องเที่ยวไทยดีขึ้น, ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาต่างชาติดีขึ้น ฯลฯ ไม่เห็นด้วย 24.85% เชื่อว่า เหตุการณ์ยังไม่สงบ ยังคงมีการประท้วงอย่างต่อเนื่อง, รัฐบาลไม่ควรประมาท ฯลฯ ขณะที่ 68.72% เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะความขัดแย้งทางการเมืองจะได้ลดลง รัฐธรรมนูญปี 50 บางมาตราทำให้เกิดปัญหาทางการเมือง เช่น การยุบพรรค, จะทำให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ฯลฯ และไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข รธน.31.28% เพราะรัฐธรรมนูญปี 50 เพิ่งประกาศใช้, ผ่านการลงมติจากประชาชนมาแล้ว, เข้มงวดกับนักการเมืองดีแล้ว ฯลฯ
แบบสำรวจเกี่ยวกับกับแนวคิดที่จะมีการนิรโทษกรรม เห็นด้วยที่จะให้มีการนิรโทษกรรม 64.89% โดยแยกการเห็นด้วยเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 เห็นด้วยเฉพาะคดีทางการเมือง แต่ไม่ควรยกคดีอาญา 39.30% เพราะเป็นการเอาชนะทางการเมือง การต่อสู้ทางการเมือง เกมการเมือง, ควรให้โอกาสแก่นักการเมือง แต่คดีอาญาคงยกเว้นไม่ได้เพราะจะทำให้การดำเนินการทางกฎหมายอ่อนแอลง ฯลฯ
กรณีที่ 2 เห็นด้วยควรนิรโทษกรรมทั้งหมด 25.59 เพราะต้องการให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขเสียที, เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแทบทุกคดีเป็นเรื่องของการเมืองเข้าไปแทรกแซงทั้งหมด ,ควรจะให้อภัยซึ่งกันและกันซึ่งเป็นนิสัยของคนไทยอยู่แล้ว ฯลฯ อันดับ 2 ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการนิรโทษกรรม 35.11% เพราะคงจะแก้ไขปัญหาอะไรไม่ได้ ยิ่งจะทำให้บ้านเมืองวุ่นวายมากขึ้น เพราะนักการเมืองคงไม่เข็ดหลาบ ฯลฯ
บทเรียนวิกฤตทางการเมืองที่ผ่านมา ประชาชนคิดว่าควรนำไปใช้อย่างไร? ให้เกิดประโยชน์ ระบุว่านักการเมืองควรศึกษาทบทวนถึงผลดี ผลเสียที่เกิดกับประเทศชาติ 36.90% และประชาชนเพื่อเป็นตัวอย่างในการทำหน้าที่ให้ดีที่สุด รัฐบาลควรใช้เป็นบทเรียนในการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี 30.01% ฝ่ายค้านควรตระหนักในผลกระทบต่างๆเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเองให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน 20.85% ประชาชนควรจะใช้เป็นบทเรียนในการเลือกตั้ง เพราะรู้จักนักการเมืองดีขึ้น และได้เรียนรู้ระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น 12.24%