แถลงการณ์
เรื่อง
ขอให้ทุกฝ่ายแก้ความขัดแย้งทางการเมืองด้วยวิถีทางประชาธิปไตยและให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง
ตามที่มีความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการขยายความรุนแรงอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และมีการใช้กำลังทหารเข้าควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) และสถานการณ์ความรุนแรงมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจนยากที่จะแก้ไขเยียวยานั้น
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.) ขอแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและขอเรียกร้องต่อทุกฝ่ายดังนี้
1. ขอให้รัฐบาลใช้มาตรการตามขั้นตอนของกฎหมายและตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัดในการยับยั้งการชุมนุมที่เป็นการคุกคามสิทธิในชีวิตและร่างกายของประช่าชน และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินก็ไม่ใช่เป็นใบอนุญาตให้มีใช้อำนาจด้วยความรุนแรงได้ตามอำเภอใจ
2. ขอให้แกนนำของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) ยุติการใช้แนวทางการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงโดยไม่คำนึงชีวิตของประชาชนผู้เข้าร่วมการชุมนุมและชีวิตของประชาชนทั่วไป
3. ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทุกท่านเร่งรัดให้มีการประชุมร่วมของรัฐสภาฉุกเฉิน เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ เพราะรัฐสภาเป็นสถาบันสำคัญที่ต้องรับผิดชอบในการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยกระบวนการประชาธิปไตย
4. ขอให้องค์กรประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชน นักวิชาการ นักกฎหมาย นักสิทธิมนุษยชน นายแพทย์ นายทหาร นายตำรวจ และประชาชนทุกหมู่เหล่า ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง ยุติการสร้างความเกลียดชัง ยุติการยั่วยุให้มีการใช้ความรุนแรง และประณามทุกฝ่ายที่ส่งเสริมให้มีการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงอยู่ในขณะนี้
แถลง ณ 13 เมษายน 2552
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.)
เรื่อง
ขอให้ทุกฝ่ายแก้ความขัดแย้งทางการเมืองด้วยวิถีทางประชาธิปไตยและให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง
ตามที่มีความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการขยายความรุนแรงอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และมีการใช้กำลังทหารเข้าควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) และสถานการณ์ความรุนแรงมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจนยากที่จะแก้ไขเยียวยานั้น
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.) ขอแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและขอเรียกร้องต่อทุกฝ่ายดังนี้
1. ขอให้รัฐบาลใช้มาตรการตามขั้นตอนของกฎหมายและตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัดในการยับยั้งการชุมนุมที่เป็นการคุกคามสิทธิในชีวิตและร่างกายของประช่าชน และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินก็ไม่ใช่เป็นใบอนุญาตให้มีใช้อำนาจด้วยความรุนแรงได้ตามอำเภอใจ
2. ขอให้แกนนำของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) ยุติการใช้แนวทางการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงโดยไม่คำนึงชีวิตของประชาชนผู้เข้าร่วมการชุมนุมและชีวิตของประชาชนทั่วไป
3. ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทุกท่านเร่งรัดให้มีการประชุมร่วมของรัฐสภาฉุกเฉิน เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ เพราะรัฐสภาเป็นสถาบันสำคัญที่ต้องรับผิดชอบในการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยกระบวนการประชาธิปไตย
4. ขอให้องค์กรประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชน นักวิชาการ นักกฎหมาย นักสิทธิมนุษยชน นายแพทย์ นายทหาร นายตำรวจ และประชาชนทุกหมู่เหล่า ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง ยุติการสร้างความเกลียดชัง ยุติการยั่วยุให้มีการใช้ความรุนแรง และประณามทุกฝ่ายที่ส่งเสริมให้มีการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงอยู่ในขณะนี้
แถลง ณ 13 เมษายน 2552
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.)