ส.ว.ติง “มาร์ค” ไม่แจงสารประโยชน์-ผลกระทบกรอบอาเซียน ชี้ รวบรัดให้ผ่านสภา ทั้งเมินเนื้อหารัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เตือนระวังปัญหาเอกสารไกล่เกลี่ยอนุญาโตที่อาจขัดระเบียบศาลไทยที่กำหนดให้เป็นภาษาไทย
วันนี้ (26 ม.ค.) ในการประชุมร่วมสองสภาเพื่อพิจารณากรอบข้อตกลงอาเซียน ซึ่งในการอภิปรายช่วงบ่าย นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว.กล่าวว่า นายกฯอภิปรายไม่ได้ให้ข้อมูล สาระอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เพียงแต่เป็นการพูดตามวาระ ขณะที่การชี้แจงก็ไม่เคยบอกว่า การไปลงนามต่างๆ จะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง ทั้งที่รัฐธรรมนูญบอกว่า มีมาตราเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้วย แต่วันนี้เป็นเพียงให้รัฐสภาเร่งรีบให้ความเห็นชอบให้เร็วที่สุด ซึ่งหากยังไม่เปลี่ยนความคิดต่อมาตรา 190 ในยุคฝ่ายค้าน ท่านคิดอย่างหนึ่ง เป็นรัฐบาลคิดอย่างหนึ่ง ทุกฝ่ายจะมองว่า มาตรา 190 เป็นอุปสรรค
นอกจากนี้ นายสุรชัย กล่าวอีกว่า ตนตั้งข้อสังเกตว่า ก่อนรัฐบาลไปทำการตกลงกับกลุ่มประเทศอาเซียนในทุกฉบับ มีการกำหนดถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้ให้ตั้งอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศขึ้น โดยให้จัดทำเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ แต่ตอนนี้อาจขัดต่อระบบศาลของไทยที่ให้การจัดทำเอกสารทุกอย่างเป็นภาษาไทยเท่านั้น ตรงนี้รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมให้แก่นักกฎหมายไทยในเรื่องภาษาอังกฤษ ที่จะออกไปทำตลาดต่างประเทศแบบนี้แค่ไหน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอภิปรายในครั้งนี้ ฝ่ายค้านได้เสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา อ้างว่า เพื่อความรอบคอบ เพราะมีหลายอย่างยังต้องพิจารณาในรายละเอียดกับประเทศชาติ โดยยืนยันว่า จะไม่ทำให้ล่าช้า เพราะฝ่ายค้านจะพยายามเร่งรัดพิจารณาให้เร็วที่สุด แต่หากรัฐบาลยังดึงดันไม่ตั้งคณะกรรมาธิการ ฝ่ายค้านก็จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ซึ่งจะทำให้เกิดความล่าช้ามากยิ่งขึ้น
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม.แสดงความเป็นห่วงว่า หากกรอบข้อตกลงทั้งหมดไม่ได้ผ่านการสอบถามความเห็นจากประชาชน อาจจะเกิดปัญหาขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสามหรือไม่ ขณะที่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ต่างอภิปรายสนับสนุนให้ผ่านกรอบดังกล่าว เพราะจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าได้
วันนี้ (26 ม.ค.) ในการประชุมร่วมสองสภาเพื่อพิจารณากรอบข้อตกลงอาเซียน ซึ่งในการอภิปรายช่วงบ่าย นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว.กล่าวว่า นายกฯอภิปรายไม่ได้ให้ข้อมูล สาระอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เพียงแต่เป็นการพูดตามวาระ ขณะที่การชี้แจงก็ไม่เคยบอกว่า การไปลงนามต่างๆ จะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง ทั้งที่รัฐธรรมนูญบอกว่า มีมาตราเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้วย แต่วันนี้เป็นเพียงให้รัฐสภาเร่งรีบให้ความเห็นชอบให้เร็วที่สุด ซึ่งหากยังไม่เปลี่ยนความคิดต่อมาตรา 190 ในยุคฝ่ายค้าน ท่านคิดอย่างหนึ่ง เป็นรัฐบาลคิดอย่างหนึ่ง ทุกฝ่ายจะมองว่า มาตรา 190 เป็นอุปสรรค
นอกจากนี้ นายสุรชัย กล่าวอีกว่า ตนตั้งข้อสังเกตว่า ก่อนรัฐบาลไปทำการตกลงกับกลุ่มประเทศอาเซียนในทุกฉบับ มีการกำหนดถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้ให้ตั้งอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศขึ้น โดยให้จัดทำเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ แต่ตอนนี้อาจขัดต่อระบบศาลของไทยที่ให้การจัดทำเอกสารทุกอย่างเป็นภาษาไทยเท่านั้น ตรงนี้รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมให้แก่นักกฎหมายไทยในเรื่องภาษาอังกฤษ ที่จะออกไปทำตลาดต่างประเทศแบบนี้แค่ไหน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอภิปรายในครั้งนี้ ฝ่ายค้านได้เสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา อ้างว่า เพื่อความรอบคอบ เพราะมีหลายอย่างยังต้องพิจารณาในรายละเอียดกับประเทศชาติ โดยยืนยันว่า จะไม่ทำให้ล่าช้า เพราะฝ่ายค้านจะพยายามเร่งรัดพิจารณาให้เร็วที่สุด แต่หากรัฐบาลยังดึงดันไม่ตั้งคณะกรรมาธิการ ฝ่ายค้านก็จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ซึ่งจะทำให้เกิดความล่าช้ามากยิ่งขึ้น
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม.แสดงความเป็นห่วงว่า หากกรอบข้อตกลงทั้งหมดไม่ได้ผ่านการสอบถามความเห็นจากประชาชน อาจจะเกิดปัญหาขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสามหรือไม่ ขณะที่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ต่างอภิปรายสนับสนุนให้ผ่านกรอบดังกล่าว เพราะจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าได้