ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ก.ต่างประเทศ ทำหนังสือประท้วง “ดิ อีโคโนมิสต์” หลังเผยแพร่เนื้อหาพาดพิงสถาบันกษัตริย์ไทยบิดเบือนความจริง อธิบดีกรมสารนิเทศระบุคนไทยทั้งโกรธเคืองและผิดหวัง เพราะเป็นการคาดเดาโดยไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ทั้งไม่คำนึงภูมิหลังของประเทศไทย ย้ำพระองค์ทรงเป็นกลางและแทรกแซงการเมืองน้อยมาก
จากกรณีที่เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ (The Economist) ฉบับระหว่างวันที่ 6-12 ธ.ค. ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ บทความเรื่อง “The king and them” และ “A right royal mess” ซึ่งมีการให้บิดเบือนข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย ทั้งมีการกล่าวพาดพิงและให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย วานนี้ (12 ธ.ค.) นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ มีหนังสือถึงบรรณาธิการนิตรสาร ดิ อีโคโนมิสต์ ว่ารู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่งต่อมุมมองและทัศนคติของนิตยสารฉบับดังกล่าวซึ่งลงบทความเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย และตีความเหตุการณ์ต่างๆ ไปตามการคาดเดา โดยไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง รวมถึงไม่คำนึงว่าประเทศไทยมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ และยังมีความผูกพันระหว่างประชาชน กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่หยั่งรากลึกมายาวนาน และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
นายธฤต กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางพระองค์ตามบทบาทที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ทรงวางพระองค์เป็นกลางทางการเมือง ทรงเข้าแทรกแซงทางการเมืองน้อยมาก และถ้ามีการแทรกแซงก็เป็นไปเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์นองเลือดในหมู่คนไทย เช่น ในปี พ.ศ.2535 โดยไม่ได้ทรงเข้าข้างกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กลุ่มการเมืองต่างๆ และนักวิเคราะห์มักดึงพระองค์เข้าไปเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ก่อนการแทรกแซงโดยทหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ระบบการเมืองไทยวุ่นวายจนเกือบหยุดชะงัก มีเสียงเรียกร้องให้มีรัฐบาลพระราชทาน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิเสธ พร้อมกับมีพระราชกระแสว่าปัญหาต่างๆ ต้องแก้ไขด้วยกระบวนการประชาธิปไตย
“คนไทยมีความรักและเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยสมัครใจ จากการได้เห็นพระองค์ท่านทรงเสียสละ และทรงงานหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ เพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย รวมถึงความยึดมั่นต่อประชาธิปไตยด้วย” รายละเอียดของหนังสือจาก ก.ต่างประเทศถึงนิตยสารฉบับดังกล่าวระบุ
กระนั้นก็ดี มีบุคคลบางกลุ่มพยายามกล่าวอ้างว่าได้รับการสนับสนุนจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือตีความเข้าข้างตัวเอง ซึ่งอันที่จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเมื่อปี 2548 ว่า พระองค์ไม่ได้อยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ แต่ฐานะของพระองค์ที่อยู่เหนือกฎหมายทำให้พระองค์ไม่สามารถตอบโต้ข้อกล่าวอ้างทางการเมืองหรือข้อกล่าวหาใดๆ แต่ประเทศไทยมีกฎหมายปกป้องพระมหากษัตริย์
นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง นั่นคือ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกับประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ที่มีการบังคับใช้กฎหมายโดยสมาชิกรัฐสภา ซึ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เลือกพวกเขาเข้ามาเป็นตัวแทน ในการละเลยข้อเท็จจริงและตรรกะง่ายๆ เช่นนี้ บทความในนิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ ถือเป็นการกล่าวหาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างผิดๆ และสร้างความโกรธเคืองในหมู่ชาวไทย ดังนั้นจึงต้องมีการประท้วงอย่างจริงจังที่สุด
ทั้งนี้ รายละเอียดของจดหมายประท้วงจากกระทรวงต่างประเทศ ถึงบรรณาธิการนิตรสาร ดิ อีโคโนมิสต์มีดังนี้
Sir:
I am deeply dismayed by The Economist’s narrow views and condescending attitude. In trying to justify pre-supposed contentions, your double pieces (“The king and them” and “A right royal mess”, 4 December 2008) choose to give credence to writing by one American journalist about the King of Thailand and interpret events to suit his unfounded conspiracy-prone speculations, while discarding important facts that prove otherwise. More fundamentally, the articles ignores the very fact that each country evolves from background specific to itself, and that the bonds between Thai people and their kings are deeply rooted in the kingdom’s centuries-long history.
Throughout his reign, the King has clearly demonstrated that he is above and not involved in politics, strictly adhering to the roles prescribed by law. His steadfast political neutrality adds to the weight of his words – his moral authority, not political power. His intervention has been few and, when made, was meant to prevent further bloodsheds among Thais as in 1992, not to side with any groups. Nevertheless, political groups and analysts alike seem to have taken pains to get him involved. Prior to the military intervention on 19 September 2006, when Thailand’s political system seemed to have grinded to a halt, a call was made for a royally conferred government. The King, in his address to the judges in April that year, refused and said clearly that the problems must be resolved democratically and through constitutional means. Had he no faith in democracy, he could have done otherwise and Thais would have obliged. There is no need, as there never has been, for any behind-the-scene intrigue, as alleged. The affection and reverence that Thais feel towards him is genuine and shown voluntarily, stemming as much from their appreciation for his lifelong devotion and hard work for the well-being of all Thais as for his commitment to democracy. Yet, due to this, some groups have sought to make claims of royal support or interpret his action or silence for their own political ends. Indeed, the King said in 2005 that he is not beyond criticism. But his position as being above politics does not allow him to respond to any political claims or allegations against him (unfortunately, including those made by the Economist) – thus the raison d etre for Thais to call for the so-called lese-majeste law to protect their King. Here is another omitted fact: in Thailand as in other democracies, laws are enacted by parliamentarians who respond to the will of the people they represent. By neglecting facts and simple logics like these, your articles blatantly make wrongful accusations regarding the Thai King and inexcusably offend Thais. They deserve our protest in strongest terms.
Tharit Charungvat
Director-General, Department of Information and
Spokesman of the Ministry of Foreign Affairs of Thailand