ปชป.แฉรัฐบาล ตั้ง ส.ส.ร.3 หวังลดแรงกดดันของสังคม ยกข้ออ้างปฏิรูปการเมืองแค่ซื้อเวลา จับตาการสรรหาตัวบุคคลเป็น ส.ส.ร.น่าเชื่อถือแค่ไหน ใช้เสียงข้างมากลากไปหรือไม่ แนะ ปชช.ติดตามใกล้ชิด พร้อมจี้ “สมชาย” เป็นตัวของตัวเอง กล้าตัดสินใจแก้ปัญหาความขัดแย้ง
นพ.บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุม ส.ส.กรรมการบริหาร และผู้บริหารพรรค วันที่ 30 ก.ย. ว่า ที่ประชุมได้มีการวิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ของบ้านเมือง โดยมีการหยิบยกกรณีที่รัฐบาลจะให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชุดที่ 3 (ส.ส.ร.3) โดยผ่านการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ซึ่งพรรคเห็นว่าแนวทางดังกล่าว เกิดจากแรงกดดันจากสังคม ทำให้รัฐบาลตั้งนำแนวทางปฏิรูปการเมืองขึ้นมาใช้ เพื่อเป็นการซื้อเวลาเท่านั้น เพราะยังไม่แน่ใจว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการสรรหาบุคคลที่จะมาเป็น ส.ส.ร.3 มีความน่าเชื่อถือ และสังคมยอมรับได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงที่อัยการสูงสุด (อสส.) ส่งสำนวนยุบพรรคการเมือง 3 พรรค เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐธรรมนูญแล้ว ดังนั้น ประเด็นดังกล่าว จึงทำให้ประชาชนกังวลว่าการตั้ง ส.ส.ร.3 โดยใช้เสียงข้างมากจะปฏิรูปการเมืองได้จริงหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะที่ผ่านมารัฐบาลพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นรัฐบาลต้องทำให้ประชาชนมีความรู้สึกร่วมในการปฏิรูปการเมือง
นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้ประเมินสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ว่า ความขัดแย้งของ ส.ส.ในพรรคพลังประชาชนจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ที่ขณะนี้ยังมีการต่อรองอำนาจของกลุ่มการเมืองภายในพรรค และท่าทีของนายกรัฐมนตรียังสะท้อนให้เห็นว่าไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ และไม่เป็นตัวของตัวเอง เห็นได้จากการใช้สื่อของรัฐมาทำลายฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น นายกฯ ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่ามีความตั้งใจที่จะเข้ามาสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะความพยายามที่จะไปเจรจากับพันธมิตรฯ รวมถึงกรณีที่นายกฯ พยายามเข้าหารือกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ซึ่งหวังว่านายกฯ จะมีแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับสังคมได้ ด้วยการตัดสินใจที่เป็นอิสระด้วยตัวของตัวเอง
นพ.บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุม ส.ส.กรรมการบริหาร และผู้บริหารพรรค วันที่ 30 ก.ย. ว่า ที่ประชุมได้มีการวิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ของบ้านเมือง โดยมีการหยิบยกกรณีที่รัฐบาลจะให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชุดที่ 3 (ส.ส.ร.3) โดยผ่านการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ซึ่งพรรคเห็นว่าแนวทางดังกล่าว เกิดจากแรงกดดันจากสังคม ทำให้รัฐบาลตั้งนำแนวทางปฏิรูปการเมืองขึ้นมาใช้ เพื่อเป็นการซื้อเวลาเท่านั้น เพราะยังไม่แน่ใจว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการสรรหาบุคคลที่จะมาเป็น ส.ส.ร.3 มีความน่าเชื่อถือ และสังคมยอมรับได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงที่อัยการสูงสุด (อสส.) ส่งสำนวนยุบพรรคการเมือง 3 พรรค เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐธรรมนูญแล้ว ดังนั้น ประเด็นดังกล่าว จึงทำให้ประชาชนกังวลว่าการตั้ง ส.ส.ร.3 โดยใช้เสียงข้างมากจะปฏิรูปการเมืองได้จริงหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะที่ผ่านมารัฐบาลพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นรัฐบาลต้องทำให้ประชาชนมีความรู้สึกร่วมในการปฏิรูปการเมือง
นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้ประเมินสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ว่า ความขัดแย้งของ ส.ส.ในพรรคพลังประชาชนจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ที่ขณะนี้ยังมีการต่อรองอำนาจของกลุ่มการเมืองภายในพรรค และท่าทีของนายกรัฐมนตรียังสะท้อนให้เห็นว่าไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ และไม่เป็นตัวของตัวเอง เห็นได้จากการใช้สื่อของรัฐมาทำลายฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น นายกฯ ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่ามีความตั้งใจที่จะเข้ามาสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะความพยายามที่จะไปเจรจากับพันธมิตรฯ รวมถึงกรณีที่นายกฯ พยายามเข้าหารือกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ซึ่งหวังว่านายกฯ จะมีแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับสังคมได้ ด้วยการตัดสินใจที่เป็นอิสระด้วยตัวของตัวเอง