xs
xsm
sm
md
lg

กมธ.ศึกษา รธน.รุกไล่ ป.ป.ช. จี้เผยทรัพย์สินต่อสาธารณะ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กมธ.ศึกษา รธน.ซีกลูกกรอก รุมถล่มองค์กรอิสระจ้องฟัด ป.ป.ช. หาเรื่องให้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะ ด้าน “เจิมศักดิ์” ติง กมธ.อย่าใช้จินตนาการร่าง รธน. ฝ่ายค้านพบพิรุธร่างแก้ไข “หมอเหวง” แอบสอดไส้เข้ามาในสภาฯ แล้ว

วันนี้ (29 ก.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ เพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มีนายกระมล ทองธรรมชาติ เป็นประธาน ทั้งนี้ที่ประชุมให้คณะอนุกรรมาธิการฯ ทั้ง 5 คณะได้รายงานผลการประชุม

นายนิกร จำนง กรรมาธิการฯจากพรรคชาติไทย ในฐานะที่ปรึกษาคณะอนุ กมธ.ศึกษาปัญหาเกี่ยงกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รายงานผลศึกษาเบื้องต้นของ คณะอนุ กมธ. ซึ่งตั้งข้อสังเกตุเรื่องคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ จำนวน 7 คน ซึ่งมีที่มาจากองค์กรตุลาการมาเกินไป ซึ่งอาจจะมีการเสนอให้เพิ่มกรรมการสรรหาเป็น 9 คน โดยเพิ่มตัวแทนจากภาคประชาชนและ ครม.อย่างละ 1 คน นอกจากนี้ในส่วนของกรรมการองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีหน้าที่ตรวจสอบบุคคลอื่น แต่ทรัพย์สินของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นเพียงรายงานต่อประธานวุฒิสภาเท่านั้น ไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปตรวจสอบอย่างจริงจัง ดังนั้น คณะอนุ กมธ.จึงมีความเห็นว่า ป.ป.ช.ควรที่จะเปิดเผยทรัพย์สินของตัวเองต่อสาธารณชนด้วย

ด้าน นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคพลังประชาชน ในฐานะเลขานุการ กมธ.กล่าวเสริมว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญได้มีการแยกออกไปเป็นองค์กรอิสระ ซึ่งผลจากการตั้งชื่อองค์กรทำให้มีการเพิ่มอำนาจให้องค์กรเหล่านี้มากกว่าเดิม ดังนั้นจึงไม่แน่ใจว่าเป็นองค์กรอิสระ หรือเป็นองค์กรการเมืองที่เทียบเท่าสภาผู้แทนราษฎร หรือ ครม.หรือไม่ ซึ่งหากไม่ทำความเข้าใจว่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญมีสถานะจริงๆ คืออะไร เพราะวันนี้เห็นได้ว่าองค์กรเหล่านี้ๆได้เพิ่มอำนาจล้ำเข้ามาตรวจสอบฝ่ายอื่นหมด ขณะที่ตัวเองกลับไม่ถูกตรวจสอบ ดังนั้นจะต้องทำเรื่องนี้ให้มีความชัดเจนขึ้น

นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบ โครงสร้าง การจัดหมวดหมู่ การใช้ภาษาของรัฐธรรมนูญ การใช้ภาษาของรัฐธรรมนูญ และบทเฉพาะกาลได้นำเสนอผลการศึกษาต่อกรรมาธิการชุดใหญ่ อาทิ ในเรื่องการใช้ภาษาไม่ค่อยพิถีพิถันเรื่องถ้อยคำ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นนามธรรม คลุมเครือ เข้าใจยากอันอาจนำไปสู่ปัญหาการตีความรัฐธรรมนญและเปิดช่องให้บุคคลบางฝ่ายหยิบฉวยไปใช้อ้างอิงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวเองหรือใช้ปรักปรำผู้อื่นได้ง่าย

นายวินัย กล่าวว่า ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างและการจัดหมวดหมู่ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความละเอียดมากเกินความจำเป็น แล้วยังทำให้โครงสร้างทางอาจภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผิดเพี้ยนไปจากหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยของชาติเป็น 3 ฝ่าย ซึ่งต้องเป็นอิสระต่อกันและถ่วงดุลดำนาจซึ่งกันและกัน เพราะนอกจากจะทำให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญกลายเป็น “อำนาจที่สี่” มีอำนาจมาก แต่ไม่ได้ยึดโยงหรือรับผิดชอบต่อรัฐสภา หรือต่อประชาชนนอกจากนี้ยังทำให้ “ศาล” มีอำนาจเพิ่มขึ้น และสามารถใช้อำนาจเกือบทุกส่วนขององค์กรตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะเรื่องที่มา และองค์ประกอบตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเสียงข้างมากเด็ดขาดมาจากศาล

นายวินัย กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งตาม มาตรา 291 เปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอชื่อจำนวน 50,000 รายชื่อ แต่หากสภาไม่เห็นชอบในวาระ 3 ก็ถือว่าจะร่างของประชาชนจะตกไปทันที ดังนั้น คณะอนุฯ จึงมีความเห็นว่าหากเกิดกรณีที่สภาไม่ให้ความเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญนี้ไปจัดการออกเสียงประชามติเป็นการตัดสินชี้ขาด

ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่าประเด็นที่ กมธ.ชุดใหญ่มีการหยิบยกขึ้นมาหารือกันมากที่สุด คือ กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยสังเกตว่าเหตุใดถึงให้สิทธิร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเสนอ มากกว่าร่างที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือ ครม.เสนอ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กรรมาธิการฯจากพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตว่า หากร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยประชาชนผ่านหลักการในวาระแรก และตั้งกรรมาธิการวิสามัญโดยเปิดให้ตัวแทนจากประชาชนที่เสนอเรื่องเข้ามาเป็นตัวแทนได้ แต่หากร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ผ่านการเห็นชอบของรัฐสภาในวาระที่ 3 ให้นำร่างนั้นไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติเป็นการตัดสินชี้ขาด แล้วทำไมการเสนอกฎหมายมี 3 ช่องทาง คือ ครม. ส.ส. และ ส.ส. ร่วมกับ ส.ว. เมื่อร่างกฎหมายดังกล่าวตกในวาระที่ 3 กลับไม่สามารถนำไปทำประชามติเหมือนกับร่างฯที่เสนอโดยประชาชน

ด้าน นายคนิณ บุญสุวรรณ ประธานคณะอนุ กมธ.ศึกษาปัญหาโครงสร้างฯ ชี้แจงว่า หลักการดังกล่าวเป็นหลักสากล ที่เปิดให้รับฟังเสียงประชามติอีกครั้งในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ที่ไม่ใช้หลักการเดียวกันนี้กับการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล และ รัฐสภา เนื่องจาก ส.ส.จะเป็นตัวแทนของประชาชน ได้ใช้อำนาจตรงนี้ไปแล้ว

ขณะที่ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ส.ร.50 กรรมาธิการฯ ตั้งข้อสังเกตถึงกรณีที่จะนำร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ที่ไม่ผ่านสภาให้นำไปจัดการออกเสียงประชามตินั้น คำว่าผ่านหมายถึงอะไร หมายถึงการไม่แก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่2 หรือไม่ เพราะไม่สามารถรับประกันได้ว่าเมื่อผ่านในวาระ 2 จะไม่เกิดความลักลั่นได้เหมือนอย่างที่เคยเป็นมา ที่เคยเกิดกับ พ.ร.บ.ป่าชุมชน ที่ร่างของประชาชนเสนอมาเป็นเรื่องหนึ่ง แต่พอผ่านสภาฯกลับกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ดังนั้น กมธ.ต้องศึกษาผลการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ โดยแยกให้ออกว่ามีปัญหาอะไรบ้างหลังจากที่บังคับใช้ไปแล้ว ไม่ใช่จินตนาการของกรรมาธิการบางคนซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อไป

ภายหลังการประชุมกว่า 3 ชั่วโมง นายกระมล ประธานในที่ประชุมได้ให้อนุกรรมาธิการฯ ทั้ง 5 ชุดไปสรุปรายงานครั้งสุดท้ายเพื่อนำมาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในวันที่ 5 ส.ค.นี้

นายจุรินทร์ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ขณะนี้ตั้งข้อสังเกตว่ามีร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) ที่มี นพ.เหวง โตจิราการ เป็นแกนนำ ได้เสนอเข้ามายังสภาผู้แทนราษฎรแล้วซึ่งตนตั้งข้อสังเหตุว่าแนวคิดของคณะอนุกรรมาธิการศึกษาปัญหาโครงสร้างฯ ตรงนี้เหมือนกับการคิดที่จะแก้ในมาตรานี้ เพื่อเข้ามารองรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของ นพ.เหวง หรือไม่หากสภาฯ ไม่ผ่านร่างวาระ 3 ให้
กำลังโหลดความคิดเห็น