xs
xsm
sm
md
lg

“สุริยะใส” ข้องใจศาลไม่ส่งฟ้องหวยบนดิน ส่งผลคดีล่าช้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สุริยะใส กตะศิลา
“สุริยะใส” ข้องใจกระบวนการยุติธรรมจัดการอำนาจเก่าไม่ได้ ไม่สั่งฟ้องคดีหวยบนดิน กลับส่งศาล รธน.ตีความแทน ส่งผลให้เกิดความล่าช้าของคดี ขณะเดียวกัน หวั่นฝ่ายเมืองพยายามใช้อำนาจการแทรกแซง

วันนี้ (18 พ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการ ครป.กล่าวถึงความคืบหน้าของการดำเนินคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ของ คตส.ว่า ครป.กระบวนการยุติธรรมเป็นทางสุดท้ายที่จะคลี่คลายสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ได้ แต่จากการพิจารณาการบทบาทของกระบวนการยุติธรรมที่ผ่านมา ได้ส่งสัญญาณไม่มั่นใจให้กับสังคมว่าทำหน้าที่ได้อย่างเที่ยงธรรมหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมแทรกแซงกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) อัยการสูงสุด ตำรวจ เพราะองค์กรเหล่านี้ได้ถูกอำนาจทางการเมืองพยายามแทรกแซงตลอดเวลา

จึงส่งผลให้การรวบรวบพยานหลักฐาน หรือการจัดทำสำนวนเอาผิดคนในเครือข่ายระบอบทักษิณ มีปัญหา กระทั่งล่าช้ามากกว่าปกติโดยเฉพาะข้อพิพาทระหว่าง คตส.กับอัยการสูงสุดนั้น เป็นข้อพิพาทที่มีนัยสำคัญ จนอาจส่งผลให้คดีความที่อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานของ คตส.ไม่สามารถสั่งฟ้องได้ หรือคดีความที่มีการสั่งฟ้องไปแล้วอาจเกิดความพลิกผันในชั้นการพิจารณาของศาลได้ หากอัยการสูงสุด หรือแม้แต่ดีเอสไอ ไม่ได้ทุ่มเทการต่อสู้ในชั้นศาล"จะเห็นได้ว่ากรณีที่ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยังไม่สั่งคดีหวยบนดิน

แต่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความสถานะของ คตส.ว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น มองผิวเผินอาจเป็นเรื่องปกติ หรืออาจเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำให้เกิดหลักปฏิบัติแบบใหม่ ซึ่งน่าจะมีปัญหาความชอบในรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ที่ระบุไว้ชัดว่าให้ศาลสั่งคดีก่อนเพื่อป้องกันความล่าช้าในการพิจารณาคดี ซึ่งมติของศาลฎีการแผนกคดีอาญาครั้งนี้สร้างปัญหาตามมาโดยเฉพาะความล่าช้าของคดี

ทั้งนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ควรจะสั่งคดีหรือพิจารณาคดีไปก่อน เพราะหากรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้วค่อยมาตัดสินใจว่าจะสั่งคดีหรือไม่อาจทำให้กระบวนการพิจารณาคดีความล่าช้าไปไม่น้อยกว่า 3 เดือน” นายสุริยะใส กล่าว

นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า ครป.เห็นว่า โดยหลักยุติธรรมแล้ว นอกเหนือจากความน่าเชื่อถือและความเที่ยงธรรมของคำพิพากษาแล้ว ยังมีหลักเรื่องเวลา เพราะความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรมเคยเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐธรรมนูญ 2540 และรัฐธรรมนญ 2550 พยายามกำหนดมาตรการแก้ไขและสร้างความต่อเนื่องของกระบวนการพิจารณาคดี เพราะมีกรณีตัวอย่างมากมาย ที่กว่าจะมีคำพิพากษาได้ข้อยุติโจทก์หรือผู้เสียหายเสียชีวิตไปก่อนและหรือจำเลยในระหว่างรอพิสูจน์ความผิดถูกจับกุมคุมขังฟรีๆ แม้จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้ในภายหลังก็ตาม ฉะนั้นโดยหลักยุติธรรมแล้ว จึงถือว่าความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรมอย่างหนึ่ง
กำลังโหลดความคิดเห็น