“วิเชียรโชติ” ลืมตัวเป็นโฆษกรัฐบาล โดดป้อง 3 รมต.อ้างอดีตนั่งกรรมการ ป.ป.ช.เคยมีมติไม่พักงาน รมต.แม้ศาลรับฟ้อง เผลอใจแนะนัก กม.อ่านทุกมาตราก่อนวิพากษ์ เสนอหน้าตำหนิ คตส.ใจร้อนลัดขั้นตอน
วันนี้ (12 มี.ค.) พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล แถลงถึงประเด็น 3 รัฐมนตรีจะต้องหยุดทำงานหรือไม่ว่า ในช่วงระยะเวลา 2 วันมีคนให้ความเห็นเยอะแยะตนจึงเชิญสื่อมวลชนมาเพื่อจะปิดประเด็นนี้ เพราะประชาชนสับสนมาก
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวอีกว่า ตนเคยเป็นกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ได้ไปนั่งคิด ซึ่งขณะนั้นได้อ่านมติ ป.ป.ช.จำนวนมากเป็นหมื่นมติ และพบว่าเคยมีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ครั้งที่ 24/2545 เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2545 พิจารณากรณีที่มี ส.ส.ท่านหนึ่ง ที่ก่อนหน้านั้นเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และถูกกล่าวหา เรื่องจึงมาถึง ป.ป.ช.ซึ่งมีการรับเรื่องไว้พิจารณา และต่อมาท่านได้ลาออกจากการเป็นผู้ว่าการทางพิเศษฯ แล้วมาลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และนอกจากนี้ ก็มีอีกกรณีซึ่งขณะที่ท่านถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการทางพิเศษฯ หลังจากนั้น ท่านก็มาเป็นผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวยกตัวกล่าวอีกว่า ป.ป.ช.ชุดนั้นมี นายโอภาส อรุณินท์ เป็นประธาน มีมติเรื่องดังกล่าวออกมาว่า การกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามทุจริตแห่งชาติ 2542 ที่ระบุว่า จะต้องกล่าวหาในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เกิน 2 ปี และการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องไม่ขาดตอนและต่อเนื่องกัน หากขาดตอนแล้วจะถือเอาความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในครั้งหลังมาเป็นองค์ประกอบความผิดในขณะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในครั้งก่อนไม่ได้ หมายความว่ากรณีของรัฐมนตรีทั้ง 3 ท่านตำแหน่งรัฐมนตรีขณะนั้นหมดไปแล้ว แต่ปัจจุบันมาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ ฉะนั้น การกล่าวหาของท่านในคดีเก่าจะไม่ทำให้ท่านต้องหยุดทำงานในตำแหน่งใหม่
“เพราะฉะนั้นผมฟันธงเลยว่า รัฐมนตรีทั้ง 3 ท่านต้องทำงานต่อไป โดยไม่ต้องหยุด และสมมติว่าเมื่อส่งฟ้องศาลแล้วศาลเกิดประทับรับฟ้อง คือ ไม่รับฟ้องก็จบ ถึงประทับรับฟ้องก็ยังไม่ต้องหยุดทำงาน จนกว่าศาลจะตัดสินว่าผิดหรือถูก รวมถึงการหยุดทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พวกปลัดกระทรวง ใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ก็ไม่ต้องหยุดทำงานเหมือนกัน เพราะว่ากฎหมาย ป.ป.ช.จะหยุดทำงานก็เพราะนักการเมืองเท่านั้น ฉะนั้นคดีนื้ผมก็สรุปว่าทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่รับราชการอยู่ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นนักการเมือง ทุกท่านเลยก็ไม่ต้องหยุดทำงานจนกว่าศาลจะตัดสินว่าผิดหรือถูกตอนนั้นก็ว่ากันไป” พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวฟันธงเสียงหนักแน่น
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวอีกว่า มีนักกฎหมายหยิบมาเฉพาะบางมาตรามาพูดทำให้คนสับสน เอามาตรานี้มาพูดก็วิเคราะห์มาตรานี้แล้วก็ฟันธง ซึ่งไม่ใช่ เพราะมันจะเกี่ยวโยงกันไปหมด จึงอยากให้นักกฎหมายไปอ่านกฎหมายให้ครบทุกมาตรา ซึ่งเรื่องนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. 2542 ซึ่งต้องดูมาตรา 43(2), 55, 66 และ 84 และให้ดูประกาศคณะปฏิรูปฯ (คปค.) ฉบับที่ 30 ข้อ 5 อนุ 2 ดังนั้น ต้องอ่านให้ครบทุกมาตรา
โฆษกรัฐบาล กล่าวอีกว่า ตนเห็นมีการสัมภาษณ์กรรมการ ป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน ก็อยากเรียนย้ำว่า มติ ป.ป.ช.มีเป็นหมื่นมติ ซึ่งมติที่ตนบอกไปออกมาเมื่อปี 2545 และไม่ได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ รวมทั้งไม่ได้ลงในอินเทอร์เน็ตด้วย ฉะนั้น ป.ป.ช.ชุดใหม่บางท่านก็จะไม่รู้มตินี้ อีกทั้งกรรมการ ป.ป.ช.บางท่านก็ไม่ได้เป็นกรรมการเก่า แต่ถ้าใครสนใจว่ารายละเอียดเป็นอย่างไรก็ต้องไปถาม นายศราวุธ เมนะเศวต เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพราะว่าท่านเป็นรองเลขาธิการสมัยที่นายโอภาสเป็นประธาน ป.ป.ช.ชุดนั้น
“แต่ถ้าถามว่ามติ ป.ป.ช.24/2545 มีความหมายอย่างไร เมื่อ ป.ป.ช.มีมติไปแล้วก็เหมือนกับคำพิพากษาของศาลฎีกาของศาลฎีกา ก็จะยึดถือยี่ต๊อก เพราะฉะนั้นที่เราเรียนหนังสือทางกฎหมายมา ถ้าศาลฎีกาพิพากษาอย่างไรแล้วผู้พิพากษาท่านใหม่ท่านก็จะพิพากษาตามนั้น เป็นยี่ต๊อก อันนี้ก็เหมือนกันถ้ามีมติไปแล้วมตินี้ก็ยังคงอยู่ถึงปัจจุบันนี้จนกว่าจะมีมติใหม่เพื่อจะลบล้างมติเก่าอันนี้คือประเด็นที่ 1” พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าว
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2 คือ เรื่องของการที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) จะไปฟ้องเอง ซึ่งในประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 5 อนุ 2 ให้อำนาจ คตส.ไว้เฉพาะ พ.ร.บ.ป.ป.ช.2542 โดยให้ คตส.ใช้อำนาจของกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจสอบ แต่เมื่อถึงตอนที่จะฟ้องจะอยู่ในข้อ 9 ที่ระบุว่า ในกรณีที่ คตส.มีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือบุคคลใดกระทำความผิดในตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือร่ำรวยผิดปกติให้ส่งรายงานเอกสารหลักฐานพร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไป
ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช.2542 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2542 โดยให้ถือว่ามติของคตส.เป็นมติของป.ป.ช. และในกรณีที่อัยการสูงสุดมีความเห็นที่แตกต่างให้ คตส.มีความเห็นยืนยันความเห็นเดิม ให้คตส.มีอำนาจดำเนินการให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีแล้วแต่กรณี
“ผมอยากให้ผู้ที่มีความรู้ต้องอ่านข้อ 9 เพราะว่าคดีทั้งหลายส่งไปให้อัยการ แล้วอัยการก็ส่งกลับมาให้สอบเพิ่มเติม อัยการยังไม่ได้มีความเห็นอย่างไร ว่าสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง เพียงแต่ให้สอบเพิ่มเติมเท่านั้น ก็ยังไม่สอบเพิ่มเติม แต่ก็จะข้ามขั้นตอนไปฟ้องเอง” พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวและว่า ฉะนั้น จึงคิดว่าเรื่องปัญหาข้อกฎหมายอยากให้นักกฎหมายช่วยกรุณาอ่านกฎหมายให้ครบ และถ้ามีมติไปแล้วต้องถือมตินั้นเป็นหลักในการดำเนินการ
โฆษกรัฐบาล กล่าวถึงหัวใจของกฎหมายว่า บัญญัติเพื่อให้คนปฏิบัติและมีผลต่อคนส่วนมากของประเทศ ฉะนั้นตนอยากจะเรียนประชาชนว่าปล่อยให้ขบวนการตามกฎหมายที่ถูกต้องดำเนินไปดีกว่า ผลเป็นอย่างไรก็คงต้องเป็นอย่างนั้น
เมื่อถามถึงกรณีที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีบอกว่า มีบิ๊ก 3 ท่านเป็นกรณีเดียวกัน พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวว่า ก็เข้ากรณีอย่างนี้เช่นเดียวกัน คือไปถูกฟ้องในตำแหน่งเก่า แต่ก็ไม่ต้องหยุดทำงานในตำแหน่งใหม่ เมื่อถามว่ามีใครบ้างที่นายกพูดถึง พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวว่า พอทราบแต่ไม่ขอระบุ เพราะเซนซิทีฟ เมื่อถามว่าแต่สามารถเทียบเคียงกับ 3 รัฐมนตรีนี้ได้ พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวว่า แน่นอน
“อันนี้เป็นกฎหมาย ไม่ใช่เป็นความคิด เป็นความเห็น หรือว่าความรู้สึก อันนี้เป็นกฎหมาย ฉะนั้นผมอยากจะปิดประเด็นนี้ไปเลย ทั้ง 3 ท่านก็จะได้ทำงานตามปกติและข้าราชการประจำก็ทำงานตามปกติ ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องกระบวนการทางศาลที่พิจารณา และยังมีปัญหาอยู่ว่าศาลจะรับหรือไม่รับเพราะว่าอัยการยังไม่ได้เป็นผู้มีความเห็นในการสั่งคดี เป็นการข้ามขั้นก็อยากจะฝากนักกฎหมายให้พิจารณาด้วย อย่าไปใจร้อนเรื่องกฎหมาย” พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าว
วันนี้ (12 มี.ค.) พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล แถลงถึงประเด็น 3 รัฐมนตรีจะต้องหยุดทำงานหรือไม่ว่า ในช่วงระยะเวลา 2 วันมีคนให้ความเห็นเยอะแยะตนจึงเชิญสื่อมวลชนมาเพื่อจะปิดประเด็นนี้ เพราะประชาชนสับสนมาก
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวอีกว่า ตนเคยเป็นกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ได้ไปนั่งคิด ซึ่งขณะนั้นได้อ่านมติ ป.ป.ช.จำนวนมากเป็นหมื่นมติ และพบว่าเคยมีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ครั้งที่ 24/2545 เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2545 พิจารณากรณีที่มี ส.ส.ท่านหนึ่ง ที่ก่อนหน้านั้นเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และถูกกล่าวหา เรื่องจึงมาถึง ป.ป.ช.ซึ่งมีการรับเรื่องไว้พิจารณา และต่อมาท่านได้ลาออกจากการเป็นผู้ว่าการทางพิเศษฯ แล้วมาลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และนอกจากนี้ ก็มีอีกกรณีซึ่งขณะที่ท่านถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการทางพิเศษฯ หลังจากนั้น ท่านก็มาเป็นผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวยกตัวกล่าวอีกว่า ป.ป.ช.ชุดนั้นมี นายโอภาส อรุณินท์ เป็นประธาน มีมติเรื่องดังกล่าวออกมาว่า การกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามทุจริตแห่งชาติ 2542 ที่ระบุว่า จะต้องกล่าวหาในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เกิน 2 ปี และการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องไม่ขาดตอนและต่อเนื่องกัน หากขาดตอนแล้วจะถือเอาความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในครั้งหลังมาเป็นองค์ประกอบความผิดในขณะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในครั้งก่อนไม่ได้ หมายความว่ากรณีของรัฐมนตรีทั้ง 3 ท่านตำแหน่งรัฐมนตรีขณะนั้นหมดไปแล้ว แต่ปัจจุบันมาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ ฉะนั้น การกล่าวหาของท่านในคดีเก่าจะไม่ทำให้ท่านต้องหยุดทำงานในตำแหน่งใหม่
“เพราะฉะนั้นผมฟันธงเลยว่า รัฐมนตรีทั้ง 3 ท่านต้องทำงานต่อไป โดยไม่ต้องหยุด และสมมติว่าเมื่อส่งฟ้องศาลแล้วศาลเกิดประทับรับฟ้อง คือ ไม่รับฟ้องก็จบ ถึงประทับรับฟ้องก็ยังไม่ต้องหยุดทำงาน จนกว่าศาลจะตัดสินว่าผิดหรือถูก รวมถึงการหยุดทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พวกปลัดกระทรวง ใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ก็ไม่ต้องหยุดทำงานเหมือนกัน เพราะว่ากฎหมาย ป.ป.ช.จะหยุดทำงานก็เพราะนักการเมืองเท่านั้น ฉะนั้นคดีนื้ผมก็สรุปว่าทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่รับราชการอยู่ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นนักการเมือง ทุกท่านเลยก็ไม่ต้องหยุดทำงานจนกว่าศาลจะตัดสินว่าผิดหรือถูกตอนนั้นก็ว่ากันไป” พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวฟันธงเสียงหนักแน่น
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวอีกว่า มีนักกฎหมายหยิบมาเฉพาะบางมาตรามาพูดทำให้คนสับสน เอามาตรานี้มาพูดก็วิเคราะห์มาตรานี้แล้วก็ฟันธง ซึ่งไม่ใช่ เพราะมันจะเกี่ยวโยงกันไปหมด จึงอยากให้นักกฎหมายไปอ่านกฎหมายให้ครบทุกมาตรา ซึ่งเรื่องนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. 2542 ซึ่งต้องดูมาตรา 43(2), 55, 66 และ 84 และให้ดูประกาศคณะปฏิรูปฯ (คปค.) ฉบับที่ 30 ข้อ 5 อนุ 2 ดังนั้น ต้องอ่านให้ครบทุกมาตรา
โฆษกรัฐบาล กล่าวอีกว่า ตนเห็นมีการสัมภาษณ์กรรมการ ป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน ก็อยากเรียนย้ำว่า มติ ป.ป.ช.มีเป็นหมื่นมติ ซึ่งมติที่ตนบอกไปออกมาเมื่อปี 2545 และไม่ได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ รวมทั้งไม่ได้ลงในอินเทอร์เน็ตด้วย ฉะนั้น ป.ป.ช.ชุดใหม่บางท่านก็จะไม่รู้มตินี้ อีกทั้งกรรมการ ป.ป.ช.บางท่านก็ไม่ได้เป็นกรรมการเก่า แต่ถ้าใครสนใจว่ารายละเอียดเป็นอย่างไรก็ต้องไปถาม นายศราวุธ เมนะเศวต เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพราะว่าท่านเป็นรองเลขาธิการสมัยที่นายโอภาสเป็นประธาน ป.ป.ช.ชุดนั้น
“แต่ถ้าถามว่ามติ ป.ป.ช.24/2545 มีความหมายอย่างไร เมื่อ ป.ป.ช.มีมติไปแล้วก็เหมือนกับคำพิพากษาของศาลฎีกาของศาลฎีกา ก็จะยึดถือยี่ต๊อก เพราะฉะนั้นที่เราเรียนหนังสือทางกฎหมายมา ถ้าศาลฎีกาพิพากษาอย่างไรแล้วผู้พิพากษาท่านใหม่ท่านก็จะพิพากษาตามนั้น เป็นยี่ต๊อก อันนี้ก็เหมือนกันถ้ามีมติไปแล้วมตินี้ก็ยังคงอยู่ถึงปัจจุบันนี้จนกว่าจะมีมติใหม่เพื่อจะลบล้างมติเก่าอันนี้คือประเด็นที่ 1” พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าว
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2 คือ เรื่องของการที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) จะไปฟ้องเอง ซึ่งในประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 5 อนุ 2 ให้อำนาจ คตส.ไว้เฉพาะ พ.ร.บ.ป.ป.ช.2542 โดยให้ คตส.ใช้อำนาจของกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจสอบ แต่เมื่อถึงตอนที่จะฟ้องจะอยู่ในข้อ 9 ที่ระบุว่า ในกรณีที่ คตส.มีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือบุคคลใดกระทำความผิดในตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือร่ำรวยผิดปกติให้ส่งรายงานเอกสารหลักฐานพร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไป
ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช.2542 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2542 โดยให้ถือว่ามติของคตส.เป็นมติของป.ป.ช. และในกรณีที่อัยการสูงสุดมีความเห็นที่แตกต่างให้ คตส.มีความเห็นยืนยันความเห็นเดิม ให้คตส.มีอำนาจดำเนินการให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีแล้วแต่กรณี
“ผมอยากให้ผู้ที่มีความรู้ต้องอ่านข้อ 9 เพราะว่าคดีทั้งหลายส่งไปให้อัยการ แล้วอัยการก็ส่งกลับมาให้สอบเพิ่มเติม อัยการยังไม่ได้มีความเห็นอย่างไร ว่าสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง เพียงแต่ให้สอบเพิ่มเติมเท่านั้น ก็ยังไม่สอบเพิ่มเติม แต่ก็จะข้ามขั้นตอนไปฟ้องเอง” พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวและว่า ฉะนั้น จึงคิดว่าเรื่องปัญหาข้อกฎหมายอยากให้นักกฎหมายช่วยกรุณาอ่านกฎหมายให้ครบ และถ้ามีมติไปแล้วต้องถือมตินั้นเป็นหลักในการดำเนินการ
โฆษกรัฐบาล กล่าวถึงหัวใจของกฎหมายว่า บัญญัติเพื่อให้คนปฏิบัติและมีผลต่อคนส่วนมากของประเทศ ฉะนั้นตนอยากจะเรียนประชาชนว่าปล่อยให้ขบวนการตามกฎหมายที่ถูกต้องดำเนินไปดีกว่า ผลเป็นอย่างไรก็คงต้องเป็นอย่างนั้น
เมื่อถามถึงกรณีที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีบอกว่า มีบิ๊ก 3 ท่านเป็นกรณีเดียวกัน พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวว่า ก็เข้ากรณีอย่างนี้เช่นเดียวกัน คือไปถูกฟ้องในตำแหน่งเก่า แต่ก็ไม่ต้องหยุดทำงานในตำแหน่งใหม่ เมื่อถามว่ามีใครบ้างที่นายกพูดถึง พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวว่า พอทราบแต่ไม่ขอระบุ เพราะเซนซิทีฟ เมื่อถามว่าแต่สามารถเทียบเคียงกับ 3 รัฐมนตรีนี้ได้ พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าวว่า แน่นอน
“อันนี้เป็นกฎหมาย ไม่ใช่เป็นความคิด เป็นความเห็น หรือว่าความรู้สึก อันนี้เป็นกฎหมาย ฉะนั้นผมอยากจะปิดประเด็นนี้ไปเลย ทั้ง 3 ท่านก็จะได้ทำงานตามปกติและข้าราชการประจำก็ทำงานตามปกติ ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องกระบวนการทางศาลที่พิจารณา และยังมีปัญหาอยู่ว่าศาลจะรับหรือไม่รับเพราะว่าอัยการยังไม่ได้เป็นผู้มีความเห็นในการสั่งคดี เป็นการข้ามขั้นก็อยากจะฝากนักกฎหมายให้พิจารณาด้วย อย่าไปใจร้อนเรื่องกฎหมาย” พล.ต.ท.วิเชียรโชติ กล่าว