ครม.เห็นชอบเสริมเขี้ยวเล็บ ทอ.1.9 หมื่นล้าน ซื้อเครื่องบินสวีเดน 6 ลำ หลัง “ชลิต” เข้าชี้แจง ครม.ด้วยตนเอง ขณะที่ อัยการสูงสุดกำชับ ทอ.รัดกุม หวั่นทำสัญญาเสียเปรียบ
วันนี้ (8 ม.ค.) นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงการพิจารณากรณีการจัดซื้อเครื่องบินของกองทัพอากาศ ว่า จากการที่ประชุม ครม.ได้มีมติอนุมัติไปเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2550 ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอจัดซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์จำนวน 6 เครื่อง วงเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท ผูกพันปีงบประมาณ 2551-2555 นั้นในการประชุม ครม.วันนี้ กระทรวงกลาโหม ได้นำเสนอการจัดซื้อเครื่องบิน Gripen 39 C/D พร้อมเสนอ ครม.พิจารณา ซึ่งได้รับการอนุมัติใน 2 ประเด็น คือ 1.กระทรวงกลาโหมพิจารณาเห็นว่ากองทัพอากาศได้ดำเนินการ และกรอบความจำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินประจำการ จึงเสนอให้กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพอากาศ ดำเนินการจัดซื้อเครื่องบิน Gripen 39 C/D 6 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์อะไหล่ การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริการ เป็นเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท โดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) ระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลสวีเดน 2.ให้ ผบ.ทอ.เป็นผู้รับมอบอำนาจลงนามในการทำข้อตกลงการซื้อขายเครื่องบินในนามรัฐบาลไทย รวมทั้งการแก้ไขข้อตกลงการซื้อขายเครื่องบินโดยวงเงินไม่เปลี่ยนแปลง
นายไชยา กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ได้มีการหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาเป็นเรื่องแรกทั้งที่อยู่ในวาระสุดท้ายของการประชุม พร้อมทั้งได้ร่วมอภิปรายเรื่องดังกล่าวอย่างกว้างขวาง โดยพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้อภิปราย และได้ข้อสรุปเพิ่มเติมถึง เงื่อนไขพิเศษที่ทางรัฐบาลสวีเดนจะจัดให้ คือ ทางรัฐบาลสวีเดน
มีการเจรจากับคณะกรรมการจะมีการจัดเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ (AEW) ติดตั้งอุปกรณ์เรดาร์แบบ Erieye จำนวน 1 เครื่อง เครื่องบินลำเลียง saab 340 จำนวน 1 เครื่อง ทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 92 ทุน และดาตาลิงก์ระบบ Data link สำหรับป้องกันทางอากาศในระบบควบคุมและแจ้งเตือนภาคใต้ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีความร่วมมิทวิภาคี ด้านอุตสาหกรรม (Industry Cooperation) ระหว่างไทยกับสวีเดน ซึ่งจะต้องจัดผู้แทนทั้งสองฝ่ายเจรจากันหลังลงนามจัดซื้อระยะที่ 1
ทั้งนี้ เครื่องบินที่มีการตกลงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เครื่องบินแบบ 1 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ เครื่องบินแบบ 2 ที่นั่ง จำนวน 4 ลำ เฉพาะค่าจัดซื้อเครื่องบิน พร้อมอุปกรณ์อะไหล่ เป็นจำนวน 18,284 ล้านบาท และค่าปรับปรุงอาคารสถานที่และการบริหารโครงการส่วนที่รับผิดชอบ ซึ่งต้องดำเนินการก่อนและหลังรับมอบเป็นเงิน 716 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสำนักงานอัยการสูงุดได้ให้ข้อสังเกตเรื่องของร่างสัญญาข้อตกลง โดยกำชับกองทัพอากาศให้ทำอย่างรัดกุม เพื่อเป็นประโยชน์แก่กองทัพอากาศ เช่น ในเรื่องของการชำระเงินส่วนล่วงหน้าและการให้ผู้ขายวางหลักประกัน เนื่องจากเป็นการซื้อขายของหน่วยงานราชการสวีเดน กับหน่วยงานราชการของไทยจึงน่าจะมีการเจรจายกเลิกการชำระล่วงหน้าและการวางหลักประกัน ขณะที่ทางกองทัพอากาศได้ชี้แจงว่าไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นข้อตกลงหลักสากล นอกจากนี้ ในเรื่องค่างวดทางสำนักอัยการสูงสุดได้กำชับให้มีการระบุในสัญญา คือ ให้ทางสวีเดนต้องแจ้งค่างวดอย่างน้อย 3 เดือน และถ้างานในงวดนั้นๆ ไม่แล้วเสร็จ ควรมีการเลื่อนชำระการจ่ายออกไป ทาง ทอ.ก็ได้ชี้แจงว่าไม่สามารถทำได้ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดความล่าช้า เพราะตามร่างหนังสือคู่สัญญาได้มีการกำหนดระยะเวลาประกันความชำรุดบกพร่อง โดยให้เริ่มนับจากวันส่งมอบ ซึ่งแม้จะมีการส่งมอบแล้วแต่ฝ่ายไทยอาจจะยังไม่ได้รับมอบ ดังนั้น การรับประกันความชำรุดบกพร่องควรเริ่มจากวันส่งมอบโดยที่ได้รับการส่งมอบแล้ว จะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายไทยมากกว่า
วันนี้ (8 ม.ค.) นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงการพิจารณากรณีการจัดซื้อเครื่องบินของกองทัพอากาศ ว่า จากการที่ประชุม ครม.ได้มีมติอนุมัติไปเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2550 ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอจัดซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์จำนวน 6 เครื่อง วงเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท ผูกพันปีงบประมาณ 2551-2555 นั้นในการประชุม ครม.วันนี้ กระทรวงกลาโหม ได้นำเสนอการจัดซื้อเครื่องบิน Gripen 39 C/D พร้อมเสนอ ครม.พิจารณา ซึ่งได้รับการอนุมัติใน 2 ประเด็น คือ 1.กระทรวงกลาโหมพิจารณาเห็นว่ากองทัพอากาศได้ดำเนินการ และกรอบความจำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินประจำการ จึงเสนอให้กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพอากาศ ดำเนินการจัดซื้อเครื่องบิน Gripen 39 C/D 6 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์อะไหล่ การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริการ เป็นเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท โดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) ระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลสวีเดน 2.ให้ ผบ.ทอ.เป็นผู้รับมอบอำนาจลงนามในการทำข้อตกลงการซื้อขายเครื่องบินในนามรัฐบาลไทย รวมทั้งการแก้ไขข้อตกลงการซื้อขายเครื่องบินโดยวงเงินไม่เปลี่ยนแปลง
นายไชยา กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ได้มีการหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาเป็นเรื่องแรกทั้งที่อยู่ในวาระสุดท้ายของการประชุม พร้อมทั้งได้ร่วมอภิปรายเรื่องดังกล่าวอย่างกว้างขวาง โดยพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้อภิปราย และได้ข้อสรุปเพิ่มเติมถึง เงื่อนไขพิเศษที่ทางรัฐบาลสวีเดนจะจัดให้ คือ ทางรัฐบาลสวีเดน
มีการเจรจากับคณะกรรมการจะมีการจัดเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ (AEW) ติดตั้งอุปกรณ์เรดาร์แบบ Erieye จำนวน 1 เครื่อง เครื่องบินลำเลียง saab 340 จำนวน 1 เครื่อง ทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 92 ทุน และดาตาลิงก์ระบบ Data link สำหรับป้องกันทางอากาศในระบบควบคุมและแจ้งเตือนภาคใต้ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีความร่วมมิทวิภาคี ด้านอุตสาหกรรม (Industry Cooperation) ระหว่างไทยกับสวีเดน ซึ่งจะต้องจัดผู้แทนทั้งสองฝ่ายเจรจากันหลังลงนามจัดซื้อระยะที่ 1
ทั้งนี้ เครื่องบินที่มีการตกลงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เครื่องบินแบบ 1 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ เครื่องบินแบบ 2 ที่นั่ง จำนวน 4 ลำ เฉพาะค่าจัดซื้อเครื่องบิน พร้อมอุปกรณ์อะไหล่ เป็นจำนวน 18,284 ล้านบาท และค่าปรับปรุงอาคารสถานที่และการบริหารโครงการส่วนที่รับผิดชอบ ซึ่งต้องดำเนินการก่อนและหลังรับมอบเป็นเงิน 716 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสำนักงานอัยการสูงุดได้ให้ข้อสังเกตเรื่องของร่างสัญญาข้อตกลง โดยกำชับกองทัพอากาศให้ทำอย่างรัดกุม เพื่อเป็นประโยชน์แก่กองทัพอากาศ เช่น ในเรื่องของการชำระเงินส่วนล่วงหน้าและการให้ผู้ขายวางหลักประกัน เนื่องจากเป็นการซื้อขายของหน่วยงานราชการสวีเดน กับหน่วยงานราชการของไทยจึงน่าจะมีการเจรจายกเลิกการชำระล่วงหน้าและการวางหลักประกัน ขณะที่ทางกองทัพอากาศได้ชี้แจงว่าไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นข้อตกลงหลักสากล นอกจากนี้ ในเรื่องค่างวดทางสำนักอัยการสูงสุดได้กำชับให้มีการระบุในสัญญา คือ ให้ทางสวีเดนต้องแจ้งค่างวดอย่างน้อย 3 เดือน และถ้างานในงวดนั้นๆ ไม่แล้วเสร็จ ควรมีการเลื่อนชำระการจ่ายออกไป ทาง ทอ.ก็ได้ชี้แจงว่าไม่สามารถทำได้ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดความล่าช้า เพราะตามร่างหนังสือคู่สัญญาได้มีการกำหนดระยะเวลาประกันความชำรุดบกพร่อง โดยให้เริ่มนับจากวันส่งมอบ ซึ่งแม้จะมีการส่งมอบแล้วแต่ฝ่ายไทยอาจจะยังไม่ได้รับมอบ ดังนั้น การรับประกันความชำรุดบกพร่องควรเริ่มจากวันส่งมอบโดยที่ได้รับการส่งมอบแล้ว จะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายไทยมากกว่า