xs
xsm
sm
md
lg

ปลานิลจิตรลดา 3 ไม่เกี่ยวกับปลาหมอคางดำ หลังแก๊ง ม.112 โยงมั่วเป็นปลาลูกผสม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ชาวเน็ตแชร์โพสต์จากนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ย้ำปลานิลจิตรลดา 3 พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จเมื่อปี 2550 ไม่เกี่ยวข้องกับปลาหมอคางดำที่บริษัทเอกชนนำเข้าเมื่อปี 2553 หลัง "จอม ไฟเย็น" ผู้ต้องหาคดี 112 โยงมั่วเป็นปลาลูกผสม

วันนี้ (21 ก.ค.) บนโซเชียลฯ แชร์โพสต์จาก ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Shin Nopparat นิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความตอบโต้ นายนิธิวัต วรรณศิริ หรือจอม สมาชิกวงไฟเย็น ผู้ต้องหาคดี 112 โพสต์ข้อความพาดพิงถึงปลานิลจิตรลดา โยงไปถึงปลาหมอคางดำ เอเลียนสปีชีส์ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ระบุว่า "สืบเนื่องจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก จอมไฟเย็น ได้กล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา 3 เป็นปลาลูกผสมระหว่าง ปลานิล กับ คางดำ นำเข้าโดย ... (บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง) ซึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง

ข้อเท็จจริง ปลานิลจิตรลดา 3 เป็นปลานิลที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จาก ปลานิล สายพันธุ์ GIFT (Genetic Improvement of Farmed Tilapia) รุ่นที่ 5 ของหน่วยงาน ICLARM ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งปลานิลสายพันธุ์ GIFT รุ่นที่ 5 เป็นปลานิลจากธรรมชาติ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ อียิปต์, กานา, เคนยา, เซเนกัล และเป็นปลานิลจากการเพาะเลี้ยง 4 สายพันธุ์ ได้แก่ อิสราเอล, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ไทย มาผสมรวมกันทั้ง 8 สายพันธุ์ แบบ 8x8 diallele cross ได้ทั้งหมด 64 คู่ผสม ซึ่งปลา 8 สายพันธุ์ดังกล่าวล้วนเป็นสปีชีส์ Oreochromis niloticus ทั้งหมด ไม่มีสปีชีส์ Sarotherodon melanoteron (ปลาหมอคางดำ) เข้ามาเกี่ยวข้องเลยแม้แต่นิดเดียว

ปลานิลจิตรลดา 3 ได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จเมื่อปี 2550 ส่วนปลาหมอคางดำ ซึ่งบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งได้นำเข้ามาเมื่อปี 2553 ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด"

อนึ่ง นายนิธิวัต วรรณศิริ หรือเต้ย เคยเป็นอดีตนิสิตภาควิชาเพาะเลี้ยง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่หลบหนีคดีมาตรา 112 ไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการคุ้มครองสถานะผู้ลี้ภัยในฝรั่งเศส




กำลังโหลดความคิดเห็น