xs
xsm
sm
md
lg

Save หมอธีระวัฒน์ ผู้เปิดโปงธุรกิจไวรัสตัดต่อพันธุกรรม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“สนธิ” เรียกร้องช่วยกันปกป้อง “หมอธีระวัฒน์” ที่กำลังถูกกดดันอย่างหนักให้ออกจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หลังจากแสดงจุดยืนอย่างแข็งขันมาตลอดต่อต้านการครอบงำของบริษัทยาข้ามชาติ สนับสนุนการใช้สมุนไพรไทยรักษาโรค และล่าสุดคือการขัดขวางธุรกิตตัดต่อพันธุกรรมไวรัส ด้วยการยกเลิกการวิจัยไวรัสที่ได้ทุนจากกระทรวงกลาโหม อเมริกา ซึ่งมีความเสี่ยงที่เขื้อจะหลุดรอดออกสู่ภายนอก แต่การยกเลิกทำให้มีผู้เสียประโยชน์ จน “หมอธีระวัฒน์” ถูกตั้งกรรมการสอบสวน



ในรายการ  “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” หรือ “สนธิทอล์ก”เมื่อวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือผู้จัดการได้กล่าวถึงกรณี ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังโดนรังแกอย่างหนักจากทางผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทั้งๆ ที่สิ่งที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ทำนั้น ทำเพื่อประชาชนคนไทยที่แท้จริง

“ผมจะเล่าเบื้องหน้าเบื้องหลังให้ฟัง และผมอยากให้คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ รวมทั้งนายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธุ์ (คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ฯ) คู่แฝดของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รับฟังสิ่งที่ผมพูดด้วย เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหะมจุฑา นั้น เป็นสิ่งที่อัปยศอดสูมาก คนที่เป็นแพทย์ด้วยกันไม่ได้สนใจความเป็นตายร้ายดีของประชาชนเลยแม้แต่นิดเดียว แต่กลับสนใจเงินที่ต่างประเทศให้มา แล้วท่านผู้ชมรู้ไหมว่าเงินที่ต่างประเทศให้มา ให้มาจากใคร ? กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เป็นคนให้เงินการวิจัยมา”

นายสนธิ กล่าวต่อว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาคือการลงนามความร่วมมือกันในด้านวิชาการ และวิจัยด้านสุขภาพ ของ 2 บุคคลสำคัญจาก 2 องค์กร

คนหนึ่งคือสุดยอดในวงการแพทย์แผนปัจจุบันเรื่องเกี่ยกับโรคระบาด ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ส่วนอีกคนหนึ่งคือสุดยอดในการแพทย์แผนตะวันออก คือ อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต


โดย สิ่งที่ 2 คนนี้ได้มาเปิดเผยความจริงเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่แล้ว คือผลกระทบร้ายแรงจากโรคระบาดที่ผ่านมา และสิ่งที่ฉีดเข้าไปในร่างกายที่มีผลข้างเคียงในหลายมิติ ถึงขนาดทำให้สมองเสื่อม หัวใจอักเสบ หลอดเลือดอักเสบ ระบบประสาทแปรปรวน ระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง แม้กระทั่งอาจทำให้เป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น ฯลฯ

สองสัปดาห์ที่แล้วมีการเปิดวีดิโอคนไข้จริงในประเทศไทย ที่คนไทยทั่วไปไม่เคยเห็นมาก่อน

การที่ “อาจารย์ปานเทพ” ไปจับมือกับ “คุณหมอธีระวัฒน์” นอกจากมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาในด้านวิชาการและการวิจัยแล้ว ทั้ง 2 คนมีอุดมการณ์ตรงกัน คือ

1.การเปิดเผยความจริงให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อให้สิ่งที่เป็นอันตรายต่อประชาชนลดน้อยลง

2.เน้นการให้ประชาชนพึ่งพาตัวเองให้ได้มากขึ้น เพราะทำให้ประเทศไทยรอดจากการถูกล่าอาณานิคมทางด้านเศรษฐกิจสุขภาพจากต่างชาติ เพราะหากหยุดกระบวนการนี้ไม่ได้ ประเทศไทยก็จะมีหนี้สินอันมหาศาล สิ้นเนื้อประดาตัวยิ่งกว่านี้อีก

แต่อุดมการณ์ของ 2 คนนี้ ทำให้มีคนเสียผลประโยชน์เยอะมาก โดยเฉพาะบริษัทยาข้ามชาติ รวมทั้งแพทย์หรือนักวิชาการในประเทศที่ขายตัวให้กับต่างชาติมาทำร้ายสุขภาพและชีวิตคนไทย


ดังนั้นการจับมือกันของทั้ง 2 คนนี้ ผมหวังว่าจะนำไปสู่การให้ประชาชนมาช่วยกันสนับสนุน Save หมอธีระวัฒน์ เพื่อ Save ประชาชน

ที่ต้อง Save หมอธีระวัฒน์ เพราะในด้านอาจารย์ปานเทพผมไม่ห่วงเขาเลย เพราะเขาอยู่ภายใต้รั้วมหาวิทยาลัยรังสิต ที่มีอุดมการณ์สังคมธรรมาธิปไตยที่สนับสนุนเรื่องที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอยู่แล้ว จึงเอาตัวรอดได้

แต่คุณหมอธีระวัฒน์ อยู่ท่ามกลางนักวิชาการที่มีผลประโยชน์กับธุรกิจยาและธุรกิจเกี่ยวกับการฉีดบางสิ่งเข้าไปสู่ร่างกาย และตอนนี้กำลังมีความเสี่ยงที่จะถูกกำจัดออกจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ของจุฬาฯ ด้วย


เพราะถ้ากำจัด “หมอธีระวัฒน์” ได้ ก็จะทำให้แผนการในการสร้างความร่ำรวยของคนบางกลุ่มยังคงอยู่ต่อไป โดยไม่มีอุปสรรค ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ

ต้องทบทวนย้อนหลังกลับไปว่า ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เขาเคลื่อนไหวพูดความจริง อะไรบ้าง


เรื่องที่หนึ่ง เมื่อปี 2561-2562 หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการถึงอันตรายของ 3 สารพิษจากทั่วโลก คือ พาราควอต ไกลโฟเซต และ คลอไพริฟอส ซึ่งทำให้เกษตรกรได้รับสารพิษจนเจ็บป่วยมากถึง 5,000 คนต่อปี และเสียชีวิตมากถึง 600 คนต่อปี ผู้บริโภคได้รับสารพิษ ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากและยังทำลายต่อสิ่งแวดล้อมด้วย


ซึ่งแม้แต่ผมเองในเวลานั้น ก็ออกมาต่อต้าน 3 สารพิษนี้เหมือนกัน โดยผ่านรายการคุยทุกเรื่องกับสนธิ ตอน เปิดเบื้องหลังยื้ดแบน “พาราควอต” ออกอากาศวันที่ 4 ตุลาคม 2562 ตอน เปิดโปง มอนซานโต้ กับแผนการแยบยลเรื่อง “สารพิษ” ออกอากาศเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 และ ตอน แฉขบวนการค้าสารพิษ จับให้ได้ไล่ให้ทัน ออกอากาศเมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565


และต้องไม่ลืมว่า คุณหมอธีระวัฒน์ มีตำแหน่งทางวิชาการเป็น “ศาสตราจารย์นายแพทย์” จึงนับว่าเป็นการขับเคลื่อนของผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้

ปรากฏว่ากลุ่มที่อ้างว่าเป็นเกษตรกรกลุ่มหนึ่งที่เป็นตัวแทนขายได้รับผลประโยชน์จาก“3 สารพิษ” ได้ออกมาทำหนังสือถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ตั้งกรรมการสอบสวนเอาผิดกับ หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อ้างว่าทำให้ตัวแทนขาย“3 สารพิษ” และเกษตรกรเสียหาย

แทนที่จุฬาจะทำตัวเป็นกลางหาทางออกทางวิชาการ กลับตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อที่จะเอาผิดหมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา โดยทันที

และข้อสำคัญเป็นเรื่องที่น่าอายมาก เพราะคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แทนที่จะออกมาปกป้องหมอธีระวัฒน์ ที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ กลับให้ความเห็นว่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่สามารถตอบได้ว่า “3 สารพิษ” นี้มีโทษหรือไม่มีโทษหรือไม่ อย่างไร ทั้งๆ ที่มันมีรายงานผลร้ายของ 3 สารพิษทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจำนวนมาก


นอกจากนั้นหมอธีระวัฒน์ ยังได้ถูกข่มขู่เอาชีวิตว่า “รู้หรือไม่ว่าลูกปืนในเมืองไทยราคากี่บาท จนกระทั่งถึงขู่ว่าครอบครัวลูกอยู่บ้านไหน เพื่อไม่ให้เปิดเผยข้อมูลความจริงนี้ทั้งหมด จึงเหมือนถูกโดดเดี่ยว”

นอกจากหมอธีระวัฒน์แล้ว อาจารย์และระดับศาตราจารย์ของมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งต่างถูกกระทำด้วยอิทธิพลของผลประโยชน์และมาเฟียกันถ้วนหน้า จนต้องหยุดบทบาทไปจนถึงวันนี้

แต่ในที่สุดแล้ว เป็นภาคประชาชนหลายกลุ่มที่มาให้กำลังใจหมอธีระวัฒน์ คือ อ.ปานเทพ โพสต์ระดมประชาชนออกมาสนับสนุน,หลายคนก็ได้ออกมาช่วยกันรวมถึง คุณรสนา โตสิตระกูล, หมอเดชา ศิริภัทร, คุณแอ๊ด คาราบาว, หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี, และคุณวิทูร เลี่ยนจำรูญ จากไบโอไทย และมีประชาชนอีกจำนวนมาก ได้ไปสนับสนุนให้กำลังใจหมอธีระวัฒน์ ในวันสอบสวนด้วย


ส่งผลทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลื่อนการสอบสวนออกไป และสุดท้ายก็ไม่มีข้อสรุปใดๆจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบันกว่า 5 ปีแล้ว

ผลการต่อสู้ในครั้งนั้นทั้งภาคประชาชนและภาควิชาการ ได้มีส่วนเป็นผลทำให้ คณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้ลงมติเสียงข้างมากยอมแบน 3 สารพิษเป็นผลสำเร็จ มีผลบังคับตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน

เรื่องที่สอง มีคนถามว่าทำไมพวกแพทย์ไม่มาสนับสนุนหมอธีระวัฒน์เรื่อง “3 สารพิษ” เมื่อสืบค้นความจริงก็พบว่า ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ ได้ออกมาเปิดเผยผลการวิจัยจำนวนมากว่ากัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมหาศาล ต้องให้เสรีภาพของแพทย์ทุกสาขาสามารถจ่ายให้คนไข้ได้


การเปิดเผยประโยชน์ของกัญชาในเวลานั้น เป็นการสวนกระแสในแพทยสภา ที่พยายามอบรมให้แพทย์ผู้จ่ายกัญชามีแต่ความกลัวและเกลียดการจ่ายกัญชา (แต่พร้อมจะจ่ายยากัญชาที่มีสิทธิบัตรต่างชาติที่มีผลประโยชน์และค่าคอมมิชชั่น และจำกัดผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มทุนทางการแพทย์เท่านั้น)

ในอีกด้านหนึ่งการมีกัญชาทำให้ผู้ป่วยไปหาหมอน้อยลง บริษัทยา ขายยาหลายชนิดได้น้อยลง ทั้งยานอนหลับ ยาแก้วิตกกังวล ยาแก้ลมชัก ยาแก้ปวด ยาคลายเครียด ยามอร์ฟีนในผู้ป่วยมะเร็ง ฯลฯ

หมอธีระวัฒน์ มีสมญานามว่า “หมอดื้อ” เมื่อเห็นประโยชน์กัญชาว่ามีประโยชน์ต่อประชาชน ก็พยายามผลักดันให้ความรู้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง แม้รู้ว่าจะถูกต้านจากวงการหมอจำนวนมากก็ตาม

เรื่องที่สาม ในขณะที่ช่วงการเกิดโรคระบาด ปรากฏว่าหมอธีระวัฒน์กลับออกมาสนับสนุนแนวทางการใช้ฟ้าทะลายโจร เพราะมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย ไม่ต้องซื้อหาจากต่างประเทศ มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคระบาดด้วย

แม้แต่มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินก็แจกฟ้าทะลายโจรในปี 2564 มากถึง 60 ล้านแคปซูล ในปีนั้นมีคนรอดตายได้ด้วยสมุนไพรชนิดนี้


เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจต่อพ่อค้าผลิตยาฉีดป้องกันโรค และพ่อค้าขายยานำเข้าจากต่างชาติ โดยเฉพาะแพทย์ ข้าราชการ และนักการเมือง ผู้ได้รับผลประโยชน์กินหัวคิวจากธุรกิจเหล่านี้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ยิ่งไม่พอใจ เช่น กลุ่มผู้อยู่เบื้องหกลังการสั่งนำเข้ายาฟลาวิพิราเวียร์ ทั้งที่รักษาไม่ได้

เพราะหากคนใช้ฟ้าทะลายโจรกันในวงกว้างแล้วหายป่วยได้ง่าย สถานการณ์ก็จะไม่ฉุกเฉินอีกต่อไป คนก็จะฉีดยาฉุกเฉินน้อยลง กินยาต่างชาติน้อยลง การทำมาหากินกับความเจ็บป่วยของประชาชนก็จะยากขึ้น

โดยเฉพาะต้องไม่ลืมว่าหมอธีระวัฒน์ อยู่ในฐานะเป็น หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การมาพูดและโพสต์สนับสนุนฟ้าทะลายโจรย่อมต้องมีน้ำหนักยืนยันในสรรพคุณและความปลอดภัยของสมุนไพรชนิดนี้ และกระทบต่อธุรกิจที่หากินกับโรคระบาดด้วย

เรื่องที่สี่ ซึ่งเป็นจุดแตกหัก คือไป “การขัดขวางธุรกิจไวรัสตัดต่อพันธุกรรมข้ามชาติ” ของจุฬาฯ และเปิดเผยความจริงเรื่องผลกระทบของการฉีดยาฉุกเฉิน ซึ่งเรื่องนี้สำคัญที่สุด


ย้อนไปเมื่อ พ.ศ.2554 หรือ ประมาณ 13 ปีที่แล้ว ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีคุณหมอธีระวัฒน์เป็นหัวหน้าศูนย์ ได้รับทุนจากกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ให้เก็บตัวอย่างจากเชื้อไวรัสของค้างคาวและสัตว์ป่าหลายชนิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์กับโรคระบาดที่จะเข้าไปสู่ในมนุษย์ได้ และต้องเป็นโรคที่ไม่ใช่ชื่อเดิมด้วย คือเป็นโรคใหม่ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

พอทำไปประมาณ 7 ปี ในปี 2561(ก่อนโควิดระบาด)คุณหมอธีระวัฒน์ก็เริ่มถามตัวเองว่า เราจะหาเชื้อแบบนี้ไปทำไม ?

เพราะองค์กรของจุฬาฯ แห่งนี้มีจุดประสงค์เพียงเพื่อรับมือกับโรคที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่มีหน้าที่คาดคะเนหาเชื้อไปเรื่อย ๆ ว่าจะมีโรคอุบัติอะไรได้บ้าง ซึ่งมันผิดปกติ และยังมีความสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือเชื้อรั่วไหลได้ด้วยในระหว่างการปฏิบัติงาน และอาจทำให้เกิดอันตราย เกิดความผิดพลาดไปครอบครัว ชุมชน และเกิดการแพร่ระบาดได้

ในปีนั้นทำให้หมอธีระวัฒน์ต้องการจะยุติความร่วมมือ


ปี 2562 ก่อนโควิดระบาด ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้รับการทาบทามอีกจากหลายองค์กร ให้วิจัยในโครงการต่างๆ อีกหลายโครงการโดยมีงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา

ในที่สุดศูนย์ของคุณหมอธีระวัฒน์ ได้ถูกทาบาทมให้เป็นตัวแทนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในโครงการศูนย์วิจัยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ หรือที่เรียกว่า CREID หรือ Centers for Research in Emerging Infectious Diseases (CREID) โดยให้หมอธีระวัฒน์เป็นผู้ประสานงานเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลทั้งภูมิภาค


ซึ่งถ้าหมอธีระวัฒน์ โลภสักหน่อย นอกจากจะได้งบประมาณอันมหาศาล และผู้บริหารและนักวิจัยจุฬาฯ ก็คงจะได้งบประมาณนั้นด้วย ก็จะรวยกันถ้วนหน้า

แต่ปรากฏว่า ในโครงการนี้ระบุอย่างชัดเจนว่า ให้มีการนำส่งตัวอย่างค้างคาวออกไปยังเครือข่ายที่สิงคโปร์ กับสถาบันวิจัยไวรัสอู่ฮั่น ที่ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างไวรัสใหม่ ให้รุนแรงกว่าเก่าในการเข้าสู่มนุษย์และก่อให้เกิดโรค โดยกลุ่มไวรัสที่ต้องการคือ “ไวรัสโคโรนา”

ด้วยเหตุผลนี้หมอธีระวัฒน์ จึงตัดสินใจจะยุติโครงการ

และ ปลายปี 2562 ก็เกิดโรคระบาดชนิดเดียวกันนี้ที่อู่ฮั่น และก็ลุกลามไปทั่วโลก พร้อมกับการผลิตของที่ฉีดเข้าสู่ร่างกาย ที่มีการจดสิทธิบัตรอย่างรวดเร็วปล้นเงินและชีวิตประชากรทั่วโลก

แต่โครงการนี้ยังยุติทันที่ไม่ได้ เนื่องจากมีพันธะผูกพันตามสัญญา กว่าจะยุติโครงการตามสัญญาก็คือ วันที่ 14 มิถุนายน 2563

น่าสนใจคือในโครงการนี้นอกจากไวรัสโคโรนาแล้ว ยังมีเชื้ออีโบลา และ นิปาห์ ซึ่งตัวหลังนี้ทำให้ปอดบวม สมองอักเสบ ซึ่งในเวลาต่อมาก็มีการระบาดในสิงคโปร์ มาเลเซีย บังคลาเทศ อินเดีย

แต่พอโรคระบาดในปี 2562 ระบาดมาหลายปี ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ก็ยังไม่ได้มีเวลาไปทำลายเชื้อไวรัสค้างคาวทั้งหมด เพราะมัวแต่มาตรวจเชื้อการแพร่ระบาดในประเทศไทยมาหลายปี

จนกระทั่ง ปี 2566 หมอธีระวัฒน์และคณะจึงตัดสินใจทำลายเชื้อไวรัสและตัวอย่างค้างคาวทั้งหมด เพื่อไม่ให้ชาติไหนเอาไปทำชั่วกับมนุษยชาติอีก

นายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธุ์
นี่คือจุดเริ่มต้นการที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย นายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งกรรมการสอบสวนหมอธีระวัฒน์ และนักวิจัยอีก 3 คน ในข้อหาทำลายเชื้อไวรัสโดยไม่ชอบ

แต่เบื้องหลังมีคำถามว่า มีคนในจุฬาฯ เสียผลประโยชน์จากการรับเงินจากต่างชาติมาหรือไม่?

หมอธีระวัฒน์ รู้ว่าเรื่องนี้ว่ามีผลประโยชน์ขนาดใหญ่ จึงอ่านตามข้อความทุกตัวอักษรในการถูกสอบสวน เพื่อไม่ให้บิดเบือน แต่ในทางตรงกันข้ามนักวิจัยที่ให้ปากคำกลับถูกสรุปบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรมาไม่ครบ ทำให้ดูเหมือนอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับหมอธีระวัฒน์

แต่ด้วยความรอบคอบนักวิจัยของคุณหมอ ธีระวัฒน์มีการอัดเทปเอาไว้ จึงถอดเทปส่งกลับไปให้ใหม่ ไม่ให้ใครบิดเบือนได้


พอประชาชนออกมาหนุนหมอธีระวัฒน์อีกครั้่ง ผลการสอบก็หายเงียบจนถึงปัจจุบัน

น่าสงสัยคือการตั้งกรรมการสอบครั้งนี้ต้องการที่จะกำจัดหมอธีระวัฒน์ออกจาหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ของจุฬาฯ ใช่หรือไม่?

ที่ต้องตั้งคำถามว่ามีนักวิจัยคนหนึ่งทุจริตเบิกเงินโครงการจากต่างชาติแต่กลับทำเรื่องเบิกซ้ำซ้อน แต่พอหมอธีระวัฒน์จับได้ กลับได้รับการปกป้องจาก นายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธุ์ จริงหรือไม่ โดยอ้างว่านักวิจัยได้โอนเงินคืนไปแล้ว

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อหมอธีระวัฒน์ ไม่รับทำโครงการศูนย์วิจัยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ CREID ของภูมิภาคจากกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา

แต่ทางคณะแพทยศาสตร์ โดย นพ.ฉันชาย อยากได้งบประมาณจากศูนย์เดียวกันนี้ใช่หรือไม่ และอยากมอบให้กับนักวิจัยที่ทุจริตแล้วไม่ผิดใช่หรือไม่?


นอกจากนี้ เรื่องเชื้อไวรัสนี้ ยังอาจจะเกี่ยวกับผลประโยชน์ใน “ธุรกิจยาฉีด” ที่อ้างว่าจะบรรเทาโรคระบาด ที่คนไทยได้ฉีดไปมากแล้ว

คุณหมอธีระวัฒน์ก็ออกมาทยอยเปิดเผยความจริงในผลกระทบที่อันตรายอย่างยิ่ง และอาจจะทำให้เราต้องเจ็บป่วยและเสียงบประมาณรักษาเยียวยาอีกมาก ผมไม่เคยเห็นว่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะออกมาชี้แจง รับผิดชอบอย่างใดเลย ทั้ง ๆ ที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบที่คุณหมอธีระวัฒน์มาเปิดเผยก็อยู่ที่จุฬาฯนั่นแหละ !

ผมถามว่า ทุกวันนี้แม่บ้านคนถูพื้นในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยายัง ถูกบังคับให้ฉีดเข็มกระตุ้น ไม่เช่นนั้นไม่ให้ต่อสัญญาจริงหรือไม่ ?

และจริงหรือไม่ที่ว่าในขณะนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ที่มีเงินฝากอยู่ที่สภากาชาดไทย แต่กลับไม่สามารถเบิกจ่ายออกมาเพื่อวิจัยและพัฒนาได้ ?

โดยมีคำสั่งไม่ให้ใช้ และหากจะใช้เงินต้องเป็นไปเพื่อบริการหรือหารายได้ให้เสร็จภายใน 1 ปี ทั้ง ๆ ที่โรคผลกระทบจากสิ่งที่ฉีด หรือโรคเรื้อรังหลังติดเชื้อโรคระบาดต้องใช้เวลานานกว่านั้น และบางอย่างเป็นความรู้ ไม่ใช่การหารายได้ การบังคับอย่างนี้จึงเท่ากับมัดแขนขาไม่ให้ศูนย์แห่งนี้ทำอะไรได้ใช่หรือไม่?


ผมถึงได้ข่าวมาว่าพอ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ของจุฬา ลงนามการ่วมมือวิจัยกับวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จึงเกิดความไม่พอใจ

มีผู้บริหารบางคนถึงกับมาสอบถามทีมงานหมอธีระวัฒน์ว่า จะร่วมมือกับ ม.รังสิต ได้ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมุนษย์ของจุฬาฯ แล้วหรือยัง ?

ทั้ง ๆ ที่เขาแค่เซ็นเอ็มโอยู ยังไม่ทันจะเริ่มวิจัยเลย


“ผมได้ข่าวว่ามีขบวนการที่จะกำจัด เตะตัดขาหมอธีระวัฒน์ออกจากศูนย์แห่งนี้ทุกวิถีทาง ไม่ถูกให้ออก ก็ไม่ต่อสัญญาให้เป็นหัวหน้าศูนย์แห่งนี้ เพียงเพื่อจะรับงาน รับเงิน รับใช้ เป็นทาสของเงินจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาใช่หรือไม่ นพ.ฉันชาย ต้องตอบ

“ผมจึงขอเป็นส่วนหนึ่งที่เชิญชวนพี่น้องประชาชนมาช่วยกัน
Save หมอธีระวัฒน์ อย่าให้ใครมารังแก เพื่อ Save ประชาชน ชาวไทยให้มีความปลอดภัย ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของธุรกิจของกลุ่มทุนทางการแพทย์และบริษัทยาข้ามชาติอีกต่อไป” นายสนธิกล่าวย้ำ


กำลังโหลดความคิดเห็น