xs
xsm
sm
md
lg

โควิดความจริงที่ถูกเปิดเผย (ตอนที่ 3)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา



ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


ในประเทศไทยเองนั้น ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2023 กลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ ซึ่งประกอบไปด้วยประชาชนและแพทย์ ได้ยื่นหนังสือต่อคณบดีคณะแพทยศาสตร์จุฬา และเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล ให้พิจารณาว่า การร่วมมือกับ EHA เป็นสิ่งที่สมควรกระทำหรือไม่และอาจทำให้ตกเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดข้อหาอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ

ทั้งนี้ ยังได้มีบันทึกก่อนหน้า ถึงคณบดี ในวันที่ 17 ตุลาคม 2023 เวลา 13.44 น. เลขรับที่ 14113 / 2566


และในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2023 ทางกลุ่มได้แสดงความขอบคุณ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่แสดงจุดยืนในเรื่องนี้

สภาคองเกรสสหรัฐ ผ่านการแปรญัตติ พิจารณางดการให้ทุนแก่ NIH ในการสร้างไวรัสใหม่ที่อันตราย รายละเอียดสามารถดูได้จากวิดีโอรายงานเรื่องนี้

Fauci ได้ถูกหมาย ที่ต้อง ให้การต่อคองเกรส สหรัฐ ในวันที่ 7 และ 8 มกราคม 2024 วันละ 7 ชั่วโมง เกี่ยวกับการระบาดโควิด และตามด้วยประชาพิจารณ์ โดยมีข้อสำคัญ เรื่องการวางแผนโกหกปกปิดที่มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2020 รวมทั้งโดนเปิดโปงความเชื่อมโยงการให้ทุนกับอู่ฮั่น และการถูกห้ามไม่ให้ทำการสร้างไวรัสใหม่แต่ยังคงทำต่อตั้งแต่ 2018 จนถึงปัจจุบัน

Dr.Anthony Fauci อดีตหัวหน้าคณะรับผิดชอบการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

การประชุมขององค์การอนามัยโลกเจนีวา ที่นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้รับเชิญเข้าประชุมในคณะทำงาน STAG (strategic and technology advisory group) วันที่ 23 ถึง 24 พฤศจิกายน 2023 เรื่อง การวางแผนรับมือโรคอุบัติใหม่ แต่ทั้งนี้ยัง รวมถึงกระบวนการเซ็นเซอร์ทั้งโลก ทั้งนี้ไม่สามารถให้รายละเอียดได้เนื่องจากสัญญาของการไม่เผยแพร่


ข้อมูลและหลักฐานการเก็บไวรัสใหม่จากค้างคาวและสัตว์ป่า ของศูนย์วิทยาศาสตร์ รวมทั้งการที่ไม่ได้ประโยชน์จากการหาไวรัสใหม่และความเสี่ยงอย่างสูงที่จะมีการติดเชื้อในการปฏิบัติการ ได้มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ในวันที่ 10 เมษายน 2023 และแสดงเหตุผลของการยุติความร่วมมือกับสถาบันองค์กร ของสหรัฐ ทั้งหมดและ EHA และหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ใช้เวลา 6 เดือนในการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานก่อนตีพิมพ์


ก่อนหน้าที่จะทำการตีพิมพ์ David Willman นักข่าวที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ที่สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมทั้งข้อมูลเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบจากคณะบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ แล้ว ได้สอบถามรองคณบดีฝ่ายวิจัยของคณะแพทย์ศาสตร์จุฬา ถึงความเห็นในการสืบเสาะหาไวรัสในค้างคาวโดยที่การศึกษาดังกล่าวถือว่าเป็นการวิจัยที่มีความเสี่ยงสูง


บทความในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ สามารถอ่านบทความได้ “Pandemic risk” research with exotic viruses risks a deadly outbreak, scientists warn โดยที่บทความนี้ ตั้งใจให้ข้อมูลโดยแสดงให้เห็นถึงอันตรายร้ายแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้ายังคงปฏิบัติการศึกษาวิจัยแบบนี้อีก


บทความฉบับนี้ยังแสดงหลักฐานการตัดต่อพันธุกรรม สร้างไวรัสใหม่ที่ร้ายแรงเป็นความร่วมมือของ Daszak Baric และ Shi ตั้งแต่ปี 2003 และยังมีโครงการที่เรียกว่า EID search หรือ south east Asian research hub อยู่ภายใต้โครงการที่ครอบคลุมทั้งโลกจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐผ่าน NIH USAID 2018 และทุนเริ่มต้นในปี 2020 และบันทึกโครงการนี้ มีการพิสูจน์แล้วว่า สามารถทำให้ไวรัสที่มีอยู่ เข้ามายังมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้นและก่อโรคได้มากขึ้น ทั้งนี้จากตัวอย่างไวรัสจากค้างคาวที่เก็บไว้และที่เก็บไว้ใหม่ทั้งจากไทย เวียดนาม บอร์เนียว ซาราวัค และแสดงเอกสารที่ยืนยันว่าสามารถสร้างไวรัสใหม่ที่ควบรวม ไวรัสโคโรนา สองชนิดและก่อโรคในหนู โดยที่ไม่มียารักษา


ทุนต่างๆ ที่ สหรัฐให้นี้ ผ่านมายังทุกทวีป รวมกระทั่งถึง ทวีปเอเชียและมีไทยร่วมด้วย


ประเทศในเอเชีย ที่ได้รับทุน และมีการปฏิบัติการหาไวรัสใหม่จากค้างคาวและสัตว์ป่า มีทั้งไทย เมียนมาร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย บังคลาเทศและอีกหลายประเทศ




อันตรายที่จะมีการติดเชื้อ มีทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การลงพื้นที่ ในบริเวณวัด ในถ้ำ ในป่า ในขณะเก็บตัวอย่าง


รวมกระทั่งถึง การขนย้ายตัวอย่าง และในการปฏิบัติในห้องแล็บ รวมกระทั่งถึงถ้ามีการหลุดรั่วของตัวอย่างไวรัสจากตู้เย็น


ทั้งนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ได้ศึกษาไวรัสในค้างคาวไทย ตั้งแต่ปี 2000 จนถึงปี 2011 ว่ามีไวรัสพิษสุนัขบ้าและมีไวรัสนิป้าห์ หรือไม่ ในค้างคาวไทย โดยได้ทุนภายในประเทศจาก สกว. และ สวทช. โดยได้รับคำแนะนำในการเก็บตัวอย่างและการการศึกษาจาก US CDC และทางศูนย์ทำงานร่วมกับ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย และกรมป่าไม้ สัตว์ป่า


ผลการศึกษาพบว่าค้างคาวไทยเป็นค้างคาวโลกเก่า มีไวรัส “คล้าย” ไวรัสพิษสุนัขบ้าและอันตราย และ ไม่มีวัคซีนตัวใดในโลกป้องกันได้


ไวรัสนิปาห์ ก่อให้เกิดโรคระบาดในมาเลเซียในปี 1998 ถึง 1999 จากค้างคาวมายังหมู มีผู้ติดเชื้อ 265 รายและเสียชีวิต 110 ราย และมีการทำลายหมู 1.2 ล้านตัว และมีความเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 220 ล้านเหรียญ นอกจากนั้น ยังมีการระบาดที่สิงคโปร์และจนกระทั่งถึง อินเดียและบังคลาเทศมาจนถึงปัจจุบัน โดยที่การประชุมที่อินเดียในปลายปี 2023 นี้ ได้เน้นถึงการป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาดโดยให้แหล่งของค้างคาวนั้นเป็นแหล่งห้ามรุกราน ecological protection zone


การระบาดที่มาเลเซียนั้น ทำให้เกิดมีสมองอักเสบ ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบที่หายแล้วปะทุขึ้นมาใหม่ หรือเป็นแบบที่เมื่อได้รับเชื้อแล้วไม่แสดงอาการ แต่มีสมองอักเสบภายหลังเกือบเป็นเวลาสองปี

การระบาดในบังคลาเทศนั้น ต่างจากในมาเลเซียโดยที่มีการติดต่อจากคนสู่คนและมีปอดบวมและมีการแพร่กระจายได้หลายทอด

ในประเทศไทยนั้น ค้างคาวไทยสามารถแพร่ไวรัสได้โดยเป็นสายพันธุ์ทั้งมาเลเซียและบังกลาเทศ

ในประเทศฟิลิปปินส์ คน ฆ่าและชำแหละเนื้อม้า มีการติดโรคเช่นกันในลักษณะคล้ายไข้หวัดใหญ่และเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากค้างคาว

ไวรัสนิปาห์นี้ เป็นไวรัสที่อยู่ในรายการด้วย ที่ EHA ต้องการ และเพื่อไปสร้างไวรัสใหม่ให้รุนแรงขึ้นอีก

ตั้งแต่ปี 2011 จนกระทั่งถึงปี 2020 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพและศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกได้รับทุนจากสหรัฐโดยผ่านกระทรวงกลาโหมและองค์กรต่างๆโดยมีจุดประสงค์แตกต่างออกไปจากที่เคยทำเดิม ทั้งนี้ก็คือ การหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าที่เป็นตัวไม่มีชื่อ หรือ novel virus และทำการถอดรหัส เพื่อที่จะได้คาดคะเนว่าตัวใดจะก่อให้เกิดโรคระบาด

ก่อนที่จะเกิดระบาดโควิดในช่วง 2012 ถึง 2018 นั้น ศูนย์ได้ทำการวิเคราะห์และพิจารณาว่า การหาไวรัสใหม่ดังกล่าว น่าจะไม่ได้ช่วยในการคาดคะเนว่าตัวใดจะเกิดโรคระบาด แม้ว่าทุนที่ได้รับนั้นจะมีขนาดใหญ่ แต่ไม่มีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีชัดเจน และยังมีการให้ทดสอบว่าเครื่องมือในการวินิจฉัยไวรัส ในเวลา 1 ถึง 2 ชั่วโมง สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ (point of need diagnostic) โดยมีการลงในพื้นที่ต่างๆ แต่ในที่สุดหลังจากที่ เราแสดงให้เห็นว่าใช้ได้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐ มีการขายสิทธิบัตรไปให้บริษัท เมอริเออร์ และปัจจุบัน มีการขายเครื่องใช้งานในโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทย

จากเหตุผลดังกล่าว ศูนย์ยุติความร่วมมือทั้งหมด เนื่องจากไม่ได้ประโยชน์และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และนอกจากนั้น ที่สำคัญที่สุดคือ ในปี 2019 ก่อนการระบาดโควิด ศูนย์ได้รับการทาบทามจาก EcoHealth alliance ให้รับผิดชอบ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ให้มีการส่งไวรัส ทั้งที่เก็บไว้ และที่จะเก็บใหม่ ไปยังต่างประเทศ ที่อู่ฮั่น สิงคโปร์และสหรัฐ ทั้งนี้ เพื่อมีการสร้างไวรัสใหม่ที่รุนแรงขึ้น ทั้งนี้เจาะจงไวรัสในตระกูล โคโรนา นิปาห์ และ ไวรัสในตระกูลอีโบลา

ทั้งนี้ ในเวลาที่ที่ผ่านมานั้นศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มีการถอดรหัสพันธุกรรมในห้องแล็บ แต่ไม่มีการเพิ่มจำนวนไวรัสอย่างเด็ดขาดและไม่มีการส่งออกนอกประเทศ

ทุนที่ได้รับจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐในช่วงปี 2011 ถึง 2012 นั้นชื่อโครงการ Prophecy หลังจากนั้นได้ผ่านมาทาง USAID ผ่าน EHA ในโครงการชื่อ PREDICT I และ II ระหว่างปี 2012 ถึง 2016 และ 2016 ถึง 2020 ในโครงการแรกนั้น เฉพาะเจาะจงที่ค้างคาว โครงการที่สองนั้น มีการควบรวมในการหาเชื้อจากคนป่วยที่โรงพยาบาลจังหวัดเลยเป็นจำนวน 100 ราย ด้วยวิธีที่ได้จาก USAID ในการหาไวรัสทั้งครอบครัวแต่ไม่ประสบผลสำเร็จว่าดีกว่าวิธีการธรรมดา

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ยังได้ให้ทุน โดยการผ่านสำนักย่อยต่างๆ จนกระทั่งถึงปี 2020 และมีการเก็บตัวอย่าง จากคนป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวน 200 ราย โดยการใช้ พีซีอาร์ต่อเชื้อ 37 ชนิด ที่ชลบุรีและราชบุรีที่ มีแหล่งค้างคาวอยู่ แต่ไม่เจอสาเหตุ นอกเหนือจากที่เป็นไวรัสที่ทราบอยู่แล้ว

โครงการที่ได้รับทุนหลังจาก Prophecy มีจำนวน 7 โครงการแต่โครงการในการหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่า จบสิ้นในกลางปี 2020 คือวันที่ 14 มิถุนายน 2020 และรายงานการวิจัยในวันที่ 8 กันยายน 2020 และทางศูนย์ไม่ได้รับผิดชอบงานต่างๆ ทั้งสิ้น หลังจากกลางปี 2020 ไปแล้ว

โครงการยังมีการทำต่อในประเทศไทย ที่ไม่ใช่จากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ แต่เป็นภายใต้หน่วยงาน CREID (Center for research emerging infectious diseases)ของ EcoHealth alliance ที่เคยทาบทามศูนย์ของเราให้ส่งไวรัสจากค้างคาวไปยังต่างประเทศเพื่อไปสร้างไวรัสใหม่ที่รุนแรงขึ้น




กำลังโหลดความคิดเห็น