xs
xsm
sm
md
lg

“สดร.” เผย “ดาวหางฮัลเลย์” ต้องรออีก 38 ปี แนะรอชม “ฝนดาวตกเจมินิดส์” เช้ามืด 15 ธ.ค.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติเผยสาเหตุไม่เห็นฝนดาวตกโอไรออนิดส์มาจากสภาพอากาศ แนะใครพลาดชม "โอไรออนิดส์" รอชมฝนดาวตกเจมินิดส์คืน 14-รุ่งเช้า 15 ธันวาคม

จากกรณี “สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.” แจ้งว่า คืนวันที่ 21 ตุลาคม ถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ตุลาคม 2566 จะมีปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของดาวหางฮัลเลย์เมื่อครั้งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ โดยจะเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22.30 น. ของวันที่ 21 ตุลาคมเป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ตุลาคม บริเวณกลุ่มดาวนายพราน (Orion) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวง/ชั่วโมง หากฟ้าใสไร้ฝน ลุ้นชมความสวยงามได้ทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 21 ต.ค. เวลาประมาณ 23.10 น. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT ได้โพสต์ข้อความลงใน X โดยได้ระบุข้อความว่า

“ฝนดาวตก” คือคืนที่มีดาวตกมากกว่าปกติ เกิดจากโลกโคจรตัดผ่านสายธารของฝุ่นดาวหาง/ดาวเคราะห์น้อย ส่วน “ดาวหาง” จะปรากฏอยู่บนท้องฟ้าหลายวัน เนื่องจากจะค่อยๆ เปลี่ยนตำแหน่ง เพราะฉะนั้นเราจะไม่เห็น “ดาวหางฮัลเลย์” ในวันนี้ แต่จะเป็น “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” ที่เกิดจากดาวหางฮัลเลย์

ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ (Orionids) มีอัตราการตกเพียง 20 ดวง/ชั่วโมง ประกอบกับมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ อาจทำให้คืนนี้ไม่สามารถสังเกตได้ แต่หากใครอยากลุ้น ให้มองหา “กลุ่มดาวนายพราน” (Orion) ทางทิศตะวันออก สังเกตได้ง่ายจากดาวเรียงเด่นสามดวงที่คนไทยเรียกว่า ดาวไถ

สำหรับใครที่พลาดชม #ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ คืนนี้ ขอแนะนำรอชม #ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืน 14-รุ่งเช้า 15 ธันวาคม 2566 ด้วยอัตราการตกสูงสุดมากถึง 120-150 ดวง/ชั่วโมง และเป็นช่วงฤดูหนาวที่ฟ้าใสไม่ต้องลุ้นฝน อีกทั้งปีนี้ไร้แสงจันทร์รบกวนด้วยครับ (ขอแท็ก #ดาวหางฮัลเลย์)”
กำลังโหลดความคิดเห็น