xs
xsm
sm
md
lg

ฮือฮา! พบ "วาฬหลังค่อม" เป็นครั้งที่ 2 โผล่กลางทะเลภูเก็ตในรอบ 14 ปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พบ "วาฬหลังค่อม" สัตว์ทะเลหายากในทะเลอันดามัน โชว์ตัวกลางทะเลภูเก็ต ระบุเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 14 ปี วอนอย่าเข้าใกล้รบกวน รวมทั้งไม่ให้อาหารวาฬ

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต ได้รับแจ้งพบวาฬขนาดใหญ่ จากคุณเจริญ ชนะพล ซึ่งเดินทางโดยเรือท่องเที่ยวออกจากจังหวัดภูเก็ต มุ่งหน้าสู่เกาะพีพี จังหวัดพังงา ซึ่งได้รับการยืนยันจากสัตวแพทย์หญิง ราชาวดี จันทรา นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ว่าเป็นชนิดวาฬหลังค่อม (Humpback whale; Megaptera novaeangliae)

วาฬหลังค่อม (Humpback whale; Megaptera novaeangliae)
เป็นวาฬซี่กรองขนาดกลาง ลำตัวสีดำ ปลายครีบข้างและท้องมีสีขาว โตเต็มที่มีความยาว 11-17 เมตร น้ำหนักประมาณ 40 ตัน ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 4 เมตร หนัก 680 กิโลกรัม ร่องใต้คางจำนวน 12-36 ร่อง ซี่กรองมีสีดำหรือสีเขียวมะกอก จำนวน 270-400 ซี่ ลักษณะเด่นประจำสายพันธุ์ มีปุ่มกลมที่ส่วนหัว มีครีบข้างยาวถึง 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว มีสันหยักเป็นลอนคล้ายฟันเลื่อย จากครีบหลังไปถึงโคนหาง ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางหาง ฐานครีบข้างกว้างเป็นโหนก ครีบหลังสั้นหนาแต่ละตัวมีลักษณะแตกต่างกัน อาหารของวาฬหลังค่อมคือฝูงปลาขนาดเล็ก เคย ปู หมึก และโคพิพอด

วาฬหลังค่อมถูกพบเห็นในน่านน้ำไทยครั้งแรกเมื่อปี 2552 ที่อ่าวปอ จังหวัดภูเก็ต โดยมีภาพถ่ายยืนยันจากนักท่องเที่ยวเพียงภาพเดียวเท่านั้น และการพบเห็นครั้งนี้เป็นรายงานการพบเห็นครั้งที่สอง

หากท่านใดพบเห็น ขอความอนุเคราะห์เดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลดความเร็วเรือให้ต่ำกว่า 7 นอต ในรัศมี 400 เมตร จากตัววาฬ และใช้ความเร็วเรือไม่เกิน 4 นอต ในรัศมี 100-300 เมตรจากวาฬ ไม่ควรเข้าใกล้เกิน 100 เมตร หากวาฬว่ายเข้าใกล้เรือ ให้หยุดเรือ ไม่เปลี่ยนทิศทาง และความเร็วเรืออย่างกะทันหัน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อวาฬ ไม่แนะนำให้ว่ายน้ำหรือลงเล่นน้ำกับวาฬ ซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บหรือถึงขั้นเสียชีวิต รวมทั้งอาจจะติดเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน และคนสู่สัตว์ และไม่ควรให้อาหารแก่วาฬในธรรมชาติ

แจ้งการพบเห็นได้ที่ สายด่วนกรมทะเลและชายฝั่ง 1362 หรือทางเพจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

การพบวาฬหลังค่อมครั้งที่ 2 ในน่านน้ำไทย

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต ได้รับแจ้งพบวาฬขนาดใหญ่ จากคุณเจริญ ชนะพล ซึ่งเดินทางโดยเรือท่องเที่ยวออกจากจังหวัดภูเก็ต มุ่งหน้าสู่เกาะพีพี จังหวัดพังงา ซึ่งได้รับการยืนยันจากสัตวแพทย์หญิง ราชาวดี จันทรา นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ว่าเป็นชนิดวาฬหลังค่อม (Humpback whale; Megaptera novaeangliae)

วาฬหลังค่อม (Humpback whale; Megaptera novaeangliae)
เป็นวาฬซี่กรองขนาดกลาง ลำตัวสีดำ ปลายครีบข้างและท้องมีสีขาว โตเต็มที่มีความยาว 11-17 เมตร น้ำหนักประมาณ 40 ตัน ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 4 เมตร หนัก 680 กิโลกรัม ร่องใต้คางจำนวน 12-36 ร่อง ซี่กรองมีสีดำหรือสีเขียวมะกอก จำนวน 270-400 ซี่ ลักษณะเด่นประจำสายพันธุ์ มีปุ่มกลมที่ส่วนหัว มีครีบข้างยาวถึง 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว มีสันหยักเป็นลอนคล้ายฟันเลื่อย จากครีบหลังไปถึงโคนหาง ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางหาง ฐานครีบข้างกว้างเป็นโหนก ครีบหลังสั้นหนาแต่ละตัวมีลักษณะแตกต่างกัน อาหารของวาฬหลังค่อมคือฝูงปลาขนาดเล็ก เคย ปู หมึก และโคพิพอด
วาฬหลังค่อมถูกพบเห็นในน่านน้ำไทยครั้งแรกเมื่อปี 2552 ที่อ่าวปอ จังหวัดภูเก็ต โดยมีภาพถ่ายยืนยันจากนักท่องเที่ยวเพียงภาพเดียวเท่านั้น และการพบเห็นครั้งนี้เป็นรายงานการพบเห็นครั้งที่สอง

หากท่านใดพบเห็น ขอความอนุเคราะห์เดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลดความเร็วเรือให้ต่ำกว่า 7 นอต ในรัศมี 400 เมตรจากตัววาฬ และใช้ความเร็วเรือไม่เกิน 4 นอต ในรัศมี 100-300 เมตรจากวาฬ ไม่ควรเข้าใกล้เกิน 100 เมตร หากวาฬว่ายเข้าใกล้เรือ ให้หยุดเรือ ไม่เปลี่ยนทิศทาง และความเร็วเรืออย่างกะทันหัน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อวาฬ ไม่แนะนำให้ว่ายน้ำหรือลงเล่นน้ำกับวาฬ ซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บหรือถึงขั้นเสียชีวิต รวมทั้งอาจจะติดเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน และคนสู่สัตว์ และไม่ควรให้อาหารแก่วาฬในธรรมชาติ

แจ้งการพบเห็นได้ที่ สายด่วนกรมทะเลและชายฝั่ง 1362 หรือทางเพจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งค่ะ โพสต์โดย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2023



กำลังโหลดความคิดเห็น