xs
xsm
sm
md
lg

เปิดโผ 77 เส้นทางรถเมล์ใหม่ ไทยสมายล์บัสคว้าไป 71 จับตา ขสมก.ปล่อยสายไหนหลุดมือ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เปิดโพย 77 เส้นทางกรมการขนส่งฯ ให้ผู้ประกอบการเดินรถคว้าสัมปทาน พบไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง จับตา 6 เส้นทางที่เหลือใครจะได้ไป พบบางสาย ขสมก.เดินรถเดิมเกือบ 20 เส้นทาง บางสายทำเงินให้องค์กร คอยดูว่าสายไหนจะปล่อยให้หลุดมือ

วันนี้ (2 เม.ย.) จากกรณีที่นายสัมฤทธิ์ อุ่นจิตต์ธรรม เลขานุการบริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ทำหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้รับอนุมัติให้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง รวมจำนวน 71 เส้นทาง จากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ลงวันที่ 24 มี.ค. 2565 โดยไทยสมายล์บัสต้องนำรถเข้าดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถพร้อมทั้งจัดเดินรถตามเงื่อนไขภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หากมีความคืบหน้าที่เป็นสาระสำคัญบริษัทจะเปิดเผยโดยทันที ตามที่นำเสนอไปแล้วนั้น

อ่านประกอบ : ไทยสมายล์บัสคว้า 71 เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ


รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ก่อนหน้านี้กรมการขนส่งทางบกได้ประกาศให้ผู้ประกอบการเดินรถที่ประสงค์จะขอใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง เส้นทางหมวด 1 ตามแนวทางการปฏิรูปรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 77 เส้นทาง เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2564 โดยพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการ ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน 

สำหรับ 77 เส้นทางที่กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ ประกอบด้วย (วงเล็บ หมายถึง เส้นทางก่อนปฏิรูป)

1. สาย 1-2E (สาย 34 เดิม) รังสิต-หัวลำโพง (ทางด่วน)
2. สาย 1-3 (สาย 34 เดิม) บางเขน-ถนนพหลโยธิน-หัวลำโพง
3. สาย 1-4 (สาย 39 เดิม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางเขน
4. สาย 1-9E (ใหม่) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (ทางด่วน)
5. สาย 1-31 (ใหม่) ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ-คลองหลวง
6. สาย 1-32E (ใหม่) บางเขน-สถานีรถไฟฟ้าตลาดพลู (ทางด่วน)
7. สาย 1-33 (ใหม่) บางเขน-สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ
8. สาย 1-37 (สาย 27 เดิม) มีนบุรี-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
9. สาย 1-39 (สาย 71 เดิม) สวนสยาม-คลองเตย
10. สาย 1-41 (สาย 143 เดิม) เคหะร่มเกล้า-แฮปปี้แลนด์
11. สาย 1-47 (ว่าง) นิคมอุตสาหกรรมนำไกร-มีนบุรี
12. สาย 1-49 (ว่าง) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง-แฮปปี้แลนด์
13. สาย 1-52 (ว่าง) วงกลมมีนบุรี-ถนนคู้บอน-ถนนหทัยราษฎร์
14. สาย 1-56 (ว่าง) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
15. สาย 1-58 (ว่าง) สวนสยาม-ลำลูกกาคลอง 12
16. สาย 1-59 (ว่าง) สวนสยาม-หมู่บ้านเอื้ออาทรสังฆสันติสุข
17. สาย 1-61 (ใหม่) หมู่บ้านเอื้ออาทรสังฆสันติสุข-มีนบุรี
18. สาย 1-62 (ใหม่) มีนบุรี-กระทรวงพาณิชย์
19. สาย 1-63 (ใหม่) ปัฐวิกรณ์-สวนหลวงพระราม 8
20. สาย 1-64 (ใหม่) วงกลมซาฟารีเวิลด์-นวลจันทร์
21. สาย 1-71 (ใหม่) วงกลมมีนบุรี-นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
22. สาย 1-73 (ใหม่) วงกลมหมู่บ้านเอื้ออาทรลาดกระบัง 2-ร่มเกล้า
23. สาย 1-76 (ใหม่) วงกลมหมู่บ้านบัวขาว-มีนบุรี
24. สาย 1-77 (ใหม่) มีนบุรี-คลองเตย
25. สาย 2-3 (สาย 18 เดิม) ตลาดท่าอิฐ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
26. สาย 2-11 (สาย 64 เดิม) กระทรวงสาธารณสุข-สนามหลวง
27. สาย 2-15 (สาย 97 เดิม) กระทรวงสาธารณสุข-โรงพยาบาลสงฆ์
28. สาย 2-17 (ใหม่) วงกลมสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
29. สาย 2-18E (ใหม่) ท่าอิฐ-มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ทางด่วน)
30. สาย 2-22 (ว่าง) ท่าเรือนนทบุรี-ถนนตก
31. สาย 2-27 (ว่าง) เมืองทองธานี-สถานีรถไฟฟ้าบางหว้า
32. สาย 2-34 (ใหม่) วงกลมสถานีรถไฟสามเสน-ดินแดง
33. สาย 2-38 (สาย 8 เดิม) แฮปปี้แลนด์-ท่าเรือสะพานพุทธ
34. สาย 2-42 (สาย 44 เดิม) เคหะคลองจั่น-ท่าเตียน
35. สาย 3-1 (สาย 2 เดิม) ปากน้ำ-ท่าเรือสะพานพุทธ
36. สาย 3-2E (สาย 2 เดิม) ปู่เจ้าสมิงพราย-ท่าเรือสะพานพุทธ (ทางด่วน)
37. สาย 3-3 (สาย 11 เดิม) สวนหลวง ร.9-สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ
38. สาย 3-14 (สาย 132 เดิม) เคหะบางพลี-สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข
39. สาย 3-23E (ว่าง) สำโรง-ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ (ทางด่วน)
40. สาย 3-25E (สาย 552 เดิม) ปากน้ำ-นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง (ทางด่วน)
41. สาย 3-27 (ใหม่) ปู่เจ้าสมิงพราย-สวนสยาม
42. สาย 3-32 (ใหม่) สำโรง-สวนสยาม
43. สาย 3-34 (ใหม่) บางนา-นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
44. สาย 3-35 (สาย 1 เดิม) พระราม 3-ท่าเตียน
45. สาย 3-36 (สาย 4 เดิม) ท่าเรือคลองเตย-ท่าเรือภาษีเจริญ
46. สาย 3-37 (สาย 12 เดิม) ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย
47. สาย 3-39 (สาย 14 เดิม) ถนนตก-ศรีย่าน
48. สาย 3-44 (ใหม่) ท่าเรือคลองเตย-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
49. สาย 3-45 (สาย 77 เดิม) พระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร)
50. สาย 3-52 (ใหม่) วงกลมพระราม 3-หัวลำโพง
51. สาย 3-53 (ใหม่) สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก-เสาชิงช้า
52. สาย 3-54 (ใหม่) ท่าน้ำภาษีเจริญ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
53. สาย 3-55 (ใหม่) ท่าเรือคลองเตย-พระราม 7
54. สาย 4-3 (สาย 17 เดิม) พระประแดง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
55. สาย 4-15 (สาย 82 เดิม) ท่าน้ำพระประแดง-บางลำพู
56. สาย 4-17 (ว่าง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางขุนเทียน) ประชาอุทิศ-สถานีรถไฟฟ้าตลาดพลู
57. สาย 4-23E (สาย 140 เดิม) แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน)
58. สาย 4-27E (สาย 173) บางขุนเทียน-แฮปปี้แลนด์ (ทางด่วน)
59. สาย 4-28 (สาย 529 เดิม) แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
60. สาย 4-29E (ใหม่) แสมดำ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (ทางด่วน)
61. สาย 4-34 (ใหม่) วงกลมเคหะธนบุรี-พระประแดง
62. สาย 4-41 (สาย 57 เดิม) วงกลมตลิ่งชัน-ธนบุรี
63. สาย 4-45 (สาย 81 เดิม) พุทธมณฑลสาย 5-ท่าราชวรดิษฐ์
64. สาย 4-46 (สาย 84 เดิม) วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี
65. สาย 4-49 (สาย 170 เดิม) บรมราชชนนี-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร)
66. สาย 4-52 (สาย 146 เดิม) วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (บรมราชชนนี)-ถนนเพชรเกษม
67. สาย 4-53 (สาย 149 เดิม) บรมราชชนนี-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย)
68. สาย 4-54E (สาย 157 เดิม) อ้อมใหญ่-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน)
69. สาย 4-55 (สาย 163 เดิม) สถานีรถไฟศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ
70. สาย 4-56 (ว่าง) บรมราชชนนี-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี
71. สาย 4-61 (สาย 515 เดิม) ศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
72. สาย 4-67 (ใหม่) สถานีรถไฟศาลายา-กระทรวงพาณิชย์
73. สาย 4-68 (ใหม่) สวนผัก-ถนนตก
74. สาย S3 (สาย 559 เดิม) รังสิต-สวนสยาม-ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ (ทางด่วน)
75. สาย S4 (สาย 549 เดิม) มีนบุรี-ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ
76. สาย S5 (สาย 550 เดิม) แฮปปี้แลนด์-ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ
77. สาย S6 (สาย 555 เดิม) สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร)-ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ (ทางด่วน)

อย่างไรก็ตาม ถึงขณะนี้ บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ยังไม่เปิดเผยว่าเส้นทางที่ได้รับการอนุมัติ 71 เส้นทางประกอบด้วยเส้นทางใดบ้าง และอีก 6 เส้นทางที่เหลือผู้ประกอบการรายใดเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนั้นไป 

เป็นที่น่าสังเกตว่าจากจำนวน 77 เส้นทาง มีเกือบ 20 เส้นทางที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป็นผู้ประกอบการเดินรถรายเดิม บางเส้นทางทำรายได้หลักให้ ขสมก. เช่น สาย 4-23E (สาย 140 เดิม) แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน), สาย 3-45 (สาย 77 เดิม) พระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร), สาย 4-61 (สาย 515 เดิม) ศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สาย 4-46 (สาย 84 เดิม) วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี ฯลฯ 

จึงต้องดูว่าเส้นทางไหนที่ ขสมก.จะยอมปล่อยให้ผู้ประกอบการรายใหม่ เช่น ไทยสมายล์บัส เป็นผู้เดินรถนั้นไป ซึ่งจะกระทบไปถึงผู้โดยสารที่ใช้บริการประจำ ถือตั๋วรายเดือนและรายสัปดาห์ของ ขสมก.


กำลังโหลดความคิดเห็น