xs
xsm
sm
md
lg

ตีแผ่! ผลงานวิจัยจากหลายประเทศ แสดงค่าความไวโดยการตรวจ ATK จากน้ำลายต่ำ หวั่นผลผิดพลาด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เผยรายงานการศึกษาประสิทธิภาพชุดตรวจ COVID-19 ด้วยตัวอย่างจากน้ำลาย มีโอกาสเกิดผลลบปลอมสูง ผลการศึกษาในประเทศไทย (1) โดยสถาบันควบคุมและป้องกันโรคในเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศึกษาประสิทธิภาพชุดตรวจ COVID-19 ด้วยตัวอย่างจากน้ำลายจำนวน 233 ตัวอย่าง เทียบกับตัวอย่างจากหลังโพรงจมูกโดยใช้วิธี Real-time PCR เป็นวิธีมาตรฐาน ตัวอย่างจากน้ำลายให้ผลบวก 12 ราย (12/32) ให้ความไว 37.5% (พบผลลบลวง จำนวน 20 ราย) สำหรับผลการศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์ (2) โดย Julius Center for Health Sciences and Primary Care, University Medical Center Utrecht, Utrecht University ศึกษาประสิทธิภาพชุดตรวจ ATK ด้วยตัวอย่างจากน้ำลาย (Saliva) และตัวอย่างจากจมูก (Nasal) จำนวน 143 ตัวอย่าง เทียบผลกับวิธี Real-time PCR เป็นวิธีมาตรฐาน พบว่า ตัวอย่างจากน้ำลายให้ความไว 54.9% และตัวอย่างจากจมูกให้ความไว 83.9% นอกจากนี้ ผลการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น (3) โดย Department of Laboratory Medicine, Keio University School of Medicine, Tokyo, Japan ศึกษาประสิทธิภาพชุดตรวจ COVID-19 ด้วยตัวอย่างจากน้ำลายจำนวน 73 ตัวอย่าง เทียบกับตัวอย่างจากหลังโพรงจมูกโดยใช้วิธี Real-time PCR เป็นวิธีมาตรฐาน ตัวอย่างจากน้ำลายให้ผลสอดคล้องกับ ค่าอ้างอิงคิดเป็น 75.9 % หลายๆ งานวิจัยรายงานเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าตัวอย่างจากน้ำลาย (Saliva) ให้ความไวต่ำพบอัตราการเกิดผลลบปลอมสูง จึงไม่เหมาะกับการนำมาใช้ตรวจคัดกรองการติดเชื้อโควิด-19

การเก็บตัวอย่างน้ำลายมาตรวจหาเชื้อโควิด-19 นั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังไม่แนะนำให้เป็นตัวอย่างมาตรฐานที่ใช้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 อีกทั้งน้ำลายมีส่วนประกอบที่ทำลาย RNA ของไวรัส ซึ่งก่อนตรวจครึ่งชั่วโมงจะต้องไม่รับประทานอาหารหรือบ้วนน้ำยาบ้วนปาก การเก็บน้ำลายต้องบ้วนลึกและต้องได้ปริมาตรตามที่กำหนด อีกทั้งระยะเวลาของการเก็บตัวอย่างตรวจหลังได้รับเชื้อมีผลต่อความถูกต้องของการทดสอบสูงมาก หากมีการตรวจที่ผิดวิธีก็จะทำให้การอ่านค่าคลาดเคลื่อนไป และอาจมีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้ ขณะนี้ในหลายประเทศทั่วโลกยังไม่มีการใช้การตรวจแบบน้ำลายมาเป็นชุดตรวจหลัก ยังคงใช้วิธีการ Swab ทางจมูก ทั้งนี้ พี่น้องประชาชนจึงควรเลือกชุดตรวจที่ได้มาตรฐาน และต้องระมัดระวังการใช้ชุดตรวจนั้นให้ถูกวิธี โดยอ่านคู่มือการใช้อย่างละเอียดและปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด

เพื่อให้ผลทดสอบเกิดความแม่นยำ หากตรวจจากน้ำลาย แล้วไม่มั่นใจในผลทดสอบ ก็ให้ตรวจซ้ำ ด้วยวิธี swab ด้วยชุดทดสอบ ATK ที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีผลวิจัยทางคลินิกรองรับการตรวจ เชื้อกลายพันธุ์ โอมิครอน และ สายพันธุ์อื่นๆ

ที่มาข้อมูล:
1. Somrak S., Manash S., Pilailuk A., et.al. (2021) Diagnostic Accuracy of Saliva for SARS-CoV-2 Detection in State-sponsored Quarantine in Thailand, OSIR, March 2021, Volume 14, Issue 1
2. Ewoud S., Roderick P., Irene K., et.al. Accuracy and usability of saliva and nasal rapid antigen self-testing for detection of SARS-CoV-2 infection in the general population: a head-to-head comparison, December 2021, medRxiv preprint.
3. Yoshifumi U. , Mika N. , Wataru A. , Terumichi N. , et.al.(2021), Accuracy of rapid antigen detection test for nasopharyngeal swab specimens and saliva samples in comparison with RT-PCR and viral culture for SARS-CoV-2 detection, JULY 01, 2021VOLUME 27, ISSUE 7.


กำลังโหลดความคิดเห็น