xs
xsm
sm
md
lg

สุดเศร้า! เผยภาพ รพ.บุษราคัมเตียงกระดาษชำรุดทรุดโทรม ผู้ป่วยดับคาเตียงหลังลูกชายโทร.แจ้ง จนท.100 สายไม่มีใครรับ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ชาวเน็ตเผยภาพผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุษราคัม เห็นสภาพเตียงกระดาษชำรุดทรุดโทรม ด้านชาวเน็ตแห่วิจารณ์ ชี้เป็นความล้มเหลวของระบบสาธารณสุข

เมื่อวันที่ 21 ส.ค. สมาชิกทวิตเตอร์ “@shutup2557” ได้โพสต์ภาพผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสนามบุษราคัม เสียชีวิตบนเตียงกระดาษของโรงพยาบาลขณะรอเจ้าหน้าที่มาดูแล พร้อมกับระบุข้อความว่า

“ดูสภาพ โรงพยาบาลบุษราคัม ความล้มเหลวระบบสาธารณสุข ดูจากข่าวบรรจง ช่อง 23 เห็นลูกชายบอกแจ้ง จนท.ตั้งแต่เช้า แต่ไม่มีใครเหลียวแล โทร.ไปแจ้งเป็นร้อยสาย จนแม่เสียชีวิตคาเตียงกระดาษ เหมือนส่งคนไปรอความตาย”

ทั้งนี้ พบว่ามีชาวเน็ตจำนวนมากเข้ามาร่วมแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงบางส่วนของผู้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลบุษราคัม อีกมากมาย บางรายโพสต์คลิปวิดีโอเผยให้เห็นสภาพของห้องน้ำที่ไร้การดูแลทำความสะอาด สภาพสกปรก และการทำงานของเจ้าหน้าที่ว่ามีการดูแลที่ไม่ทั่วถึง

ก่อนหน้านี้ นายแพทย์ กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขและผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุษราคัม​ เปิดเผยข้อมูล ณ วันที่ 17 ส.ค. (24.00 น.) โรงพยาบาลบุษราคัมมีผู้ป่วยนอนรักษาตัว 3,526 ราย จากจำนวนเตียงที่มีทั้งหมด 3,700 เตียง ถือว่าเต็มศักยภาพของโรงพยาบาล

แบ่งเป็น​
- ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองอ่อน 3,196 ราย
- ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง 221 ราย
- ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง 109 ราย (ในจำนวนนี้ใช้เครื่องช่วยหายใจ ชนิดออกซิเจนไฮโฟลว์ จำนวน 103 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ จำนวน 6 ราย)​

ผู้ป่วยสีแดงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจไฮโฟลว์ (กึ่งวิกฤต) มีโอกาสรอดชีวิตถึง 63% ขณะที่ผู้ป่วยที่ใช้ท่อช่วยหายใจ (วิกฤต) รอดชีวิต 26% ดังนั้น หากผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจไฮโฟลว์ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจะช่วยลดการเข้าสู่ภาวะวิกฤต ลดการใส่ท่อช่วยใจ เพิ่มโอกาสรอดชีวิต

โรงพยาบาลบุษราคัมจึงเตรียมขยายเปิดหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤต (ทับทิม) เพิ่มอีก 32 เตียง ดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจไฮโฟลว์ หลังจากที่ได้ตั้งหอผู้ป่วยวิกฤต (โกเมน) ระบบความดันลบ 17 เตียง เพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤตต้องใช้ท่อช่วยหายใจ เพื่อลดการเคลื่อนย้าย ส่งต่อไปยังโรงพยาบาล










กำลังโหลดความคิดเห็น