พญ.นิษฐา แพทย์อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ ระบุถึงวาระสุดท้ายในผู้ป่วยโควิด-19 คือ การจากไปแบบโดดเดี่ยว และจำเป็นต้องเผาอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความสลดหดหู่ใจต่อญาติพี่น้องแล้ว พร้อมทั้งยังแชร์การใช้ถุงมือใส่น้ำ แทนการจับมือของญาติเพื่อความอุ่นใจของคนไข้ในวาระสุดท้าย
วันนี้ (19 เม.ย.) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Nittha Oer-areemitr” หรือ “หมอแนน” พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร แพทย์อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลเอกชัย โพสต์ถึงวาระสุดท้ายของผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งต้องโดดเดี่ยว ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวเน็ตมากมาย โดยระบุข้อความว่า “เสียงคือสัมผัสสุดท้าย ที่คนจะสูญเสียเมื่อก่อนจะตาย เวลานี้ มีผู้ป่วยโควิดมากมายที่ต้องเสียชีวิตแบบโดดเดี่ยว เพราะญาติเฝ้าไม่ได้ คนไข้ต้องตายแบบคนเดียว ศพถูกเก็บแบบไม่มีใครได้เห็นอีก แล้วเผาอย่างรวดเร็ว หลายคนจึงมีภาพจำ เพียงภาพของผู้ป่วยทีีเดินขึ้นรถพยาบาลไป พร้อมกับกระเป๋า 1 ใบ แล้วบอกว่าเดี๋ยวเจอกัน แต่โรคมันโหดร้าย ไม่ให้โอกาสได้เจอกันอีก เมื่อวานได้คุยกับผู้ป่วยโควิดคนหนึ่ง ที่กำลังนั่งร้องไห้อยู่
ปกติ จะไม่พ้น เป็นต้นเหตุให้คนที่รักติดเชื้อ กลัวโรคลุกลาม มีคนใกล้ชิดเป็นรุนแรง หรือ เสียชีวิตแล้ว
เวลาเจอผู้ป่วยแบบนี้ มักจะสอบถามเขา ไม่อยากให้เขาต้องเก็บความรู้สึก เพราะการอยู่คนเดียวให้ห้องผู้ป่วย อาจจะทำให้เขายิ่งจมดิ่งได้ การให้เขาได้เล่า อาจทำให้เขารู้ว่ามีเราที่รับรู้ความรู้สึกเขาอยู่ สิ่งที่คนไข้เล่า ก็คือ แม่ของเขาเพิ่งเสียชีวิต ได้ไม่กี่ชั่วโมงนี่เอง ทางโรงพยาบาลโทร.มาบอก แน่นอน ว่า เขาไม่ได้เห็นแม่มาหลายวัน จึงถามว่า ได้คุยกับแม่ครั้งสุดท้าย ตอนไหน คนไข้ตอบว่า ตอนแม่ไปโรงพยาบาลในใจตกใจมากพอควร เพราะไม่คิดว่าระหว่างอยู่โรงพยาบาลจะไม่ได้คุยกันเลย คนไข้บอกว่า ไปถึงโรงพยาบาลแม่ก็เป็นเยอะแล้ว ความเจ็บปวดหนึ่ง ที่คนไข้โควิดที่ใกล้เสียชีวิต และญาติคนไข้ต้องเจอ คือ ความโดดเดี่ยว ในช่วงที่กำลังจะจากไป จริงๆ เราทำอะไร ได้บางอย่าง เนื่องจากเสียงคือ สัมผัสสุดท้าย ที่คนไข้จะเสียไป รองมา คือสัมผัส
ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ คือ ให้ใช้โทรศัพท์ของคนไข้เอง ให้ญาติโทร.เข้าไป เอาไปวางข้างหู ให้ครอบครัวได้ร่ำลาคนไข้ แม้ใจความเนื้อหา ผู้ทีีใกล้จะหมดลม คงแปลความไม่ได้ แต่น้ำเสียงที่คุ้นเคย เสียงที่อบอุ่น น่าจะทำให้คนไข้ไม่โดดเดี่ยว ในมุมญาติ สิ่งที่ควรพูดคือ ขอบคุณ ขอโทษ บอกรัก เป็นต้น อีกอย่างที่ทำได้ เห็น idea จาก ต่างประเทศ คือ ทำถุงมือใส่น้ำ เหมือนในภาพ ให้เหมือนมีใครจับมือเค้าอยู่ ก็น่าจะทำให้รู้สึกอุ่นใจขึ้นบ้างใครมี idea ช่วยกันเสนอดูค่ะ พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร”